การสอบบัญชีภายในเพื่อการบริหารงานของกรมชลประทาน
Publisher
Issued Date
1969
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
151 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สมชาย พันธุ์มาตย์ (1969). การสอบบัญชีภายในเพื่อการบริหารงานของกรมชลประทาน. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1102.
Title
การสอบบัญชีภายในเพื่อการบริหารงานของกรมชลประทาน
Alternative Title(s)
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
เป็นการศึกษาประวัติความเป็นมา วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกรมชลประทาน อำนาจ หน้าที่และการแบ่งส่วนราชการของกรมชลประทานในปัจจุบัน ศึกษาถึงปัญหาการควบคุมดูแลหน่วยงานภายใต้สังกัดที่กระจายอยู่ในท้องที่ไกล ๆ ในส่วนภูมิภาค และศึกษาถึงหลักวิชา ข้อคิดเห็น และวิธีปฏิบัติของการสอบบัญชีภายในกับประโยชน์ของการสอบบัญชีภายใน ที่จะช่วยในการควบคุมดูแลของผู้บังคับบัญชาได้มากน้อยเพียงใด นอกจากนั้นยังได้ศึกษาถึงเครื่องมือในการควบคุมของฝ่ายบริหารอย่างอื่นที่การสอบบัญชีภายในมีส่วนสัมพันธ์อยู่ด้วยอย่างใกล้ชิด เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎข้อบังคับเกี่ยวกับการคลัง การบัญชี และวิธีการงบประมาณ เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์ว่าเครื่องมือเหล่านี้เหมาะสมเพียงใดหรือไม่
จากผลการศึกษาวิเคราะห์ ผู้เขียนเห็นว่าเพื่อให้การสอบบัญชีภายในเป็นเครื่องมือคุมการบริหารงานโดยสมบูรณ์ตามเจตนารมณ์ของทางราชการ จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งปัญหาเหล่านั้นได้แก่.-
1. ปัญหาการจัดตั้งหน่วยสอบบัญชีภายใน เพื่ออิสรภาพในการทำงานควรมีการจัดองค์การหน่วยสอบบัญชีเสียใหม่เป็นแผนกกระจายอำนาจ อย่างน้อยควรให้มีสำนักงานประจำอยู่ตามภาคต่าง ๆ ด้วย เพื่อทำการสอบบัญชีของโครงการชลประทานในภาคนั้นทั้งหมด และควรให้แผนกตรวจบัญชีขึ้นตรงต่ออธิบดีแทนที่จะสังกัดอยู่ในกองคลัง.
2. ปัญหาจำนวนและคุณภาพของเจ้าหน้าที่สอบบัญชีภายใน ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่สอบบัญชีให้เพียงพอ วุฒิอย่างน้อยต้องสำเร็จประกาศนียบัตรอาชีวชั้นสูงแผนกพาณิชย์การสาขาบัญชี ควรให้มีการฝึกอบรมก่อนการปฏิบัติการ การฝึกอบรมระหว่างประจำการ และควรจัดให้มีคู่มือการสอบบัญชีภายในเพื่อให้มาตรฐานการปฏิบัติงานเป็นแบบเดียวกัน
3. ปัญหาเกี่ยวกับระเบียบที่ทำความยุ่งยากแก่การปฏิบัติงาน เช่น การหักภาษีจากเงินเบิกตามประมวลรัษฎากรให้หักภาษี ณ ที่จ่าย เช่น เงินภาษีร้านค้า ภาษีค่าแรง เงินเดือน เป็นต้น ควรแก้ไขปรับปรุงวิธีการลงบัญชีให้ง่ายและถูกต้องตรงกับความจริง.
4. ปัญหาเกี่ยวกับบัญชีทรัพย์สิน เกี่ยวกับทรัพย์สินเช่น ที่ดิน อาคาร และสิ่งก่อสร้างควรลงบัญชีและทะเบียนคุมไว้ ไม่ใช่จ่ายเงินแล้วเข้าบัญชีรายจ่ายขาดเลย ทำให้ไม่ทราบว่ามีทรัพย์สินอะไรบ้าง.
5. ปัญหาเรื่องระเบียบคุ้มกันภายใน ได้แก่ คำสั่ง แจ้งความ คำชี้แจง และข้อบังคับเกี่ยวกับการบัญชีและการเงิน มีมากมายเริ่มแต่ตั้งกรมมาจนบัดนี้ ควรสะสางยกเลิกคำสั่งฉบับเก่าให้หมดไปโดยออกคำสั่งใหม่ให้ครอบคลุมหมดทุกข้อ แล้วรวบรวมเป็นหมวดหมู่สะดวกแก่การใช้ และควบคุมให้ปฏิบัติตามง่ายขึ้น
ผู้เขียนสรุปไว้ตอนท้ายว่า การตรวจสอบบัญชีภายในนี้หากทำการปรับปรุงแก้ไขตามที่ได้เสนอแล้วย่อมเป็นเครื่องมือการบริหารงานอันมีประสิทธิภาพดีขึ้น
จากผลการศึกษาวิเคราะห์ ผู้เขียนเห็นว่าเพื่อให้การสอบบัญชีภายในเป็นเครื่องมือคุมการบริหารงานโดยสมบูรณ์ตามเจตนารมณ์ของทางราชการ จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งปัญหาเหล่านั้นได้แก่.-
1. ปัญหาการจัดตั้งหน่วยสอบบัญชีภายใน เพื่ออิสรภาพในการทำงานควรมีการจัดองค์การหน่วยสอบบัญชีเสียใหม่เป็นแผนกกระจายอำนาจ อย่างน้อยควรให้มีสำนักงานประจำอยู่ตามภาคต่าง ๆ ด้วย เพื่อทำการสอบบัญชีของโครงการชลประทานในภาคนั้นทั้งหมด และควรให้แผนกตรวจบัญชีขึ้นตรงต่ออธิบดีแทนที่จะสังกัดอยู่ในกองคลัง.
2. ปัญหาจำนวนและคุณภาพของเจ้าหน้าที่สอบบัญชีภายใน ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่สอบบัญชีให้เพียงพอ วุฒิอย่างน้อยต้องสำเร็จประกาศนียบัตรอาชีวชั้นสูงแผนกพาณิชย์การสาขาบัญชี ควรให้มีการฝึกอบรมก่อนการปฏิบัติการ การฝึกอบรมระหว่างประจำการ และควรจัดให้มีคู่มือการสอบบัญชีภายในเพื่อให้มาตรฐานการปฏิบัติงานเป็นแบบเดียวกัน
3. ปัญหาเกี่ยวกับระเบียบที่ทำความยุ่งยากแก่การปฏิบัติงาน เช่น การหักภาษีจากเงินเบิกตามประมวลรัษฎากรให้หักภาษี ณ ที่จ่าย เช่น เงินภาษีร้านค้า ภาษีค่าแรง เงินเดือน เป็นต้น ควรแก้ไขปรับปรุงวิธีการลงบัญชีให้ง่ายและถูกต้องตรงกับความจริง.
4. ปัญหาเกี่ยวกับบัญชีทรัพย์สิน เกี่ยวกับทรัพย์สินเช่น ที่ดิน อาคาร และสิ่งก่อสร้างควรลงบัญชีและทะเบียนคุมไว้ ไม่ใช่จ่ายเงินแล้วเข้าบัญชีรายจ่ายขาดเลย ทำให้ไม่ทราบว่ามีทรัพย์สินอะไรบ้าง.
5. ปัญหาเรื่องระเบียบคุ้มกันภายใน ได้แก่ คำสั่ง แจ้งความ คำชี้แจง และข้อบังคับเกี่ยวกับการบัญชีและการเงิน มีมากมายเริ่มแต่ตั้งกรมมาจนบัดนี้ ควรสะสางยกเลิกคำสั่งฉบับเก่าให้หมดไปโดยออกคำสั่งใหม่ให้ครอบคลุมหมดทุกข้อ แล้วรวบรวมเป็นหมวดหมู่สะดวกแก่การใช้ และควบคุมให้ปฏิบัติตามง่ายขึ้น
ผู้เขียนสรุปไว้ตอนท้ายว่า การตรวจสอบบัญชีภายในนี้หากทำการปรับปรุงแก้ไขตามที่ได้เสนอแล้วย่อมเป็นเครื่องมือการบริหารงานอันมีประสิทธิภาพดีขึ้น
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2512.