• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การสำรวจทัศนคติผู้บริหารงานเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระดับอำเภอเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการเลือกตั้ง

by คมชาญ เล่าสกุล

Title:

การสำรวจทัศนคติผู้บริหารงานเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระดับอำเภอเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการเลือกตั้ง

Author(s):

คมชาญ เล่าสกุล

Advisor:

ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1993

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

เนื่องจากกิจกรรมการเลือกตั้งมีปัจจัยเกี่ยวพันกันอย่างสลับซับซ้อน โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่มีการแข่งขันทางการเมืองสูงจะมีการใช้เทคนิคหรือกุศโลบายในกิจกรรมการเลือกตั้งสูง ตามไปด้วย เป็นต้นว่ามีคนเข้ามาเกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมมากขึ้น มีการใช้เงินในการเลือกตั้งมากขึ้น ปัจจุบันการเลือกตั้งได้ถูกกำหนดให้เป็นหน้าที่พลเมือง จึงทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งถูกระดมหรือชักจูงจากบุคคลหรือองค์การให้ลงคะแนนเสียงแทนที่จะไปลงคะแนนเสียงด้วยสำนึกของตนเอง.
ดังนั้นกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการบริหารงานเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย บริสุทธิ์ยุติธรรม จึงได้จัดให้มีการสัมมนาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 11-12 มกราคม 2534 เรื่องมาตรการป้องกันการซื้อเสียงในการเลือกตั้ง ซึ่งผลจากการสัมมนาได้เสนอแนะแนวทางป้องกันการซื้อเสียงเลือกตั้ง โดยมุ่งที่การแก้ไขกฎหมายเป็นสำคัญ เช่น แก้ไขกฎหมายเลือกตั้งเกี่ยวกับการควบคุมการใช้จ่ายเงินในการเสียงเลือกตั้งยาวการแก้ไขพระราชบัญญัติพรรคการเมืองเป็นต้น ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหาระยะทางได้แก่ การปลูกสร้างทัศนคติค่านิยมในการเลือกตั้งใหม่ให้แก่ประชาชน
มาตรการที่ได้จากการสัมมนาดังกล่าวจะสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้หรือไม่ บุคคลที่ตอบคำถามได้ดีคือ นายอำเภอและผู้อำนวยการเขต ทั้งนี้เพราะอำเภอหรือเขตเป็นส่วนราชการที่สำคัญในการบริหารงานตามแนวใหญ่คือเป็นจุดเชื่อม (Point of contact) ระหว่างรัฐกับประชาชน โดยนายอำเภอและผู้อำนวยการเขตเป็นตัวแทนของรัฐ (Agents or Field offices) ดังนั้นนายอำเภอและผู้อำนวยการเขตจึงเป็นเสมือนอุปกรณ์ของรัฐที่จะทำให้นโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่เนื่องจากลักษณะขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของประชาชนที่อยู่ในภาคต่าง ๆ ของประเทศแตกต่างกัน ตลอดจนภูมิหลังของผู้บริหารงานเลือกตั้งระดับอำเภอ (นายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขต) แตกต่างกัน จึงทำให้ผู้วิจัยเห็นว่าอาจทำให้มาตรการที่ได้จากการสัมมนาอาจนำไปใช้ในทางปฏิบัติได้ไม่เหมือนกัน
ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ตั้งสมมติฐานในการวิจัยไว้ 4 ข้อ ดังนี้
1. ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งผู้บริหารงานเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระดับอำเภอมีความสัมพันธ์กับมาตรการป้องกันการซื้อเสียงเลือกตั้ง.
2. ประสบการณ์การบริหารงานเลือกตั้งของผู้บริหารงานเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระดับอำเภอมีความสัมพันธ์กับมาตรการป้องกันการซื้อเสียงเลือกตั้ง.
3. ภาคการปกครองที่ผู้บริหารงาน
4. วุฒิการศึกษาของผู้บริหารงานเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระดับอำเภอมีความสัมพันธ์กับมาตรการป้องกันการซื้อเสียงเลือกตั้ง.
ผู้วิจัยได้ศึกษาสภาพการซื้อเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและมาตรการแก้ไขที่ทางราชการได้ดำเนินการไม่ว่าจะเป็นทางด้านการปรับปรุงกฎหมาย (มาตรการป้องปราบ) การหากิจกรรมสนับสนุน มาตรการป้องกันการซื้อเสียง นายอำเภอกับการบริหารงานเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ได้นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ด้วย.
จากการศึกษาตามสมมติฐานข้อที่ 1 พบว่ามาตรการเกี่ยวกับการกำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเลือกตั้ง 6 เดือนขึ้นไป มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 กับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งผู้บริหารงานเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระดับอำเภอ โดยระยะเวลาการดำรงตำแหน่งยิ่งนานยิ่งมีทัศนคติไม่เห็นด้วย.
สมมติฐานที่ 2 พบว่า มาตรการเกี่ยวกับการกำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระดับอำเภอมีความสัมพันธ์กับมาตรการป้องกันการซื้อเสียงเลือกตั้งต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเลือกตั้ง 6 เดือนขึ้นไป มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 กับประสบการณ์การบริหารงานเลือกตั้งของผู้บริหารงานเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระดับอำเภอโดยผู้บริหารงานเลือกตั้งที่มีประสบการณ์การบริหารงานเลือกตั้งมากจะมีทัศนคติเห็นด้วยกับมาตรการเพิ่มมากขึ้น
สมมติฐานที่ 3 พบว่า มาตรการเกี่ยวกับการกำหนดให้มีการลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง โดยไม่มีการรอลงอาญา มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 กับภาคการปกครองที่ผู้บริหารงานเลือกตั้งดำรงตำแหน่งอยู่โดยผู้บริหารงานเลือกตั้งที่อยู่ในภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทัศนคติเห็นด้วยกับมาตรการนี้ลดหลั้นเรียงลำดับลงมา.
สมมติฐานที่ 4 พบว่า มาตรการเกี่ยวกับการเพิ่มหน่วยเลือกตั้ง โดยกำหนดให้หนึ่งหน่วยเลือกตั้งไม่ควรมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกิน 600 คน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 กับคุณวุฒิทางการศึกษาของผู้บริหารงานเลือกตั้งสมาชิกสภาผูแทนราษฎรระดับอำเภอ โดยผู้บริหารงานเลือกตั้งระดับอำเภอที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีลงมามีทัศนคติเห็นด้วยกับมาตรการเพิ่มหน่วยเลือกตั้งสามารถป้องกันการซื้อเสียงเลือกตั้งได้
เพื่อให้การวิจัยครั้งนี้เป็นไปโดยสมบูรณ์ย่งขึ้น ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางปรับปรุงพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนในระยะยาวโดยจำแนกกลุ่มเป้าหมายเป็น 3 ประเภท คือประชาชนทั่วไป ข้าราชการและกรรมการบริหารพรรคการเมือง ซึ่งมีวิธีการพัฒนาแตกต่างกันไป 3 ระดับ ดังนี้
1. การพัฒนาด้านประชาชน ได้แก่ การอบรมให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตยในหมู่บ้าน และการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยผ่านพรรคการเมือง.
2. การพัฒนาองค์กร ได้แก่ องค์กรประชาชน องค์กรภาคราชการและพรรคการเมืองโดยการอบรมให้ความรู้เรื่องการรวมตัวของภาคเอกชน กรเจรจาต่อรอง การสัมมนาปรับเปลี่ยนทัศนคติในบทบาทของข้าราชการและการขยายฐานพรรคการเมืองเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอย่างทั่วถึง.
ซึ่งผู้วิจัยคาดว่าหากได้มีพัฒนาการทางการเมืองทั้งระบบแล้วถึงแม้จะต้องใช้เวลาบ้าง แต่ก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะการปรับเปลี่ยนจากส่วนที่เป็นปัญหาไปสู่ส่วนที่สมดุลตามเหตุผล ณ เวลาในอนาคต ซึ่งทำให้วัฒนธรรมทางการเมืองของไทยเปลี่ยนแปลงโดยสภาพการซื้อเสียงเลือกตั้งเปลี่ยนมาเป็นการให้การสนับสนุนผ่านพรรคการเมืองและการลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมืองเดียวกับตนเอง.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.

Subject(s):

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -- การเลือกตั้ง -- การทุจริต
นายอำเภอ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

5, ก-ซ, 160 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1103
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b7528ab.pdf ( 85.64 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b7528.pdf ( 2,771.55 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×