การเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย : ศึกษาผลการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล
Publisher
Issued Date
2009
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
228 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b165410
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุภาพร ชัยฤกษ์ (2009). การเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย : ศึกษาผลการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1104.
Title
การเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย : ศึกษาผลการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล
Alternative Title(s)
Examining the performance of the "Enhancement of Democratic Values and Good Governance Project"
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาการดำเนินงานของโครงการเสริมสร้างประชาธิปไตยและ ธรรมาภิบาลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค่านิยมและวัฒนธรรมประชาธิปไตยของประชาชน และเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเสริมสร้างวัฒนธรรม ประชาธปไตยให้แก่ประชาชนและเยาวชนและ 3) เสนอแนวทางในการเสริมสร้างวัฒนธรรม ประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนและเยาวชนโดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอยาง เยาวชนที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการในจังหวัดกระบี่ และข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมลสำคัญ ซึ่งเป็นประชาชนและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการและนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์เนื้อหาและ วิเคราะห์ทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่าก่อนหน้าที่จะเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างประชาธิปไตยและ ธรรมาภิบาลประชาชนและเยาวชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตย ในเชิงเนื้อหาและหลักการที่เป็นวิธีคิดและวิถีการดำเนินชีวิตโดยมองเห็นว่าการเมืองไม่ใช่เรื่อง ของประชาชน ประชาชนมีหน้าที่เพียงการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หลังจากเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลประชาชนและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้น และเห็นว่าประชาธปไตยไม่ใช่แค่เรื่องของ การเลือกตั้ง แต่ประชาธิปไตยเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิตทสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการมีส่วนร่วมโดยการรวมกลุ่มของประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ เกิดขึ้นในชุมชนและรักษาผลประโยชน์ของประชาชน ส่วนเยาวชนก็ได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อนํา ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับหลังจากเข้าร่วมโครงการไปขยายผลต่อในรูปแบบของกิจกรรมต่างได้แก่ การจัดตั้งชุมนุมในโรงเรียน การแสดงละครการอบรมเรื่องประชาธปไตยการนำเสนอ บทความหน้าเสาธง กิจกรรมเสียงตามสายในโรงเรียนและการแข่งขันตอบปัญหาประชาธิปไตย นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้ทดลองศึกษาเชิงปริมาณจากตัวแทนเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของ โครงการเสริมสร้างประชาธปไตยและธรรมาภิบาลในจังหวัดกระบี่ พบว่าเยาวชนที่เข้าร่วม กิจกรรมมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมประชาธปไตยเพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 66.53 เพิ่มเป็นร้อยละ 80.93 แสดงให้เห็นว่าการดำเนินกิจกรรมของโครงการดังกลาว มีส่วนทำให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้น ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธปไตยและธรรมภิบาลให้แก่ ประชาชนและเยาวชน 1. ควรส่งเสริมให้มีการเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธปไตยในเชิงเนื้อหาที่เป็นหลักการ ของระบอบประชาธปไตยมากกว่าการให้ความรู้ความเข้าใจในเชิงรูปแบบกับประชาชนเพราะการ พัฒนาระบอบประชาธปไตยที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่รูปแบบหรือโครงสร้างแต่อยู่ที่การปลูกฝังให้ ประชาชนและเยาวชนมีจิตสำนึกมีวิธีคิดและวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นประชาธิปไตย 2. ควรมีการปลูกฝังค่านิยมประชาธิปไตยที่ถูกต้องและเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย เพราะจากการศึกษาพบว่าค่านิยมของไทยบางประการมีลักษณะไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ประชาธปไตยเช่นจารีตประเพณีความเชื่อเรื่องชนชั้นระบบอุปถมภ์ที่อยู่ภายใต้ร่มโพธิ์ร่มไทรของ ผู้มีอํานาจจนกลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย 3 .จากการศึกษาพบว่าวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยมีลักษณะไม่สอดคล้องกับ วัฒนธรรมประชาธิปไตยดังนั้นควรมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิชาการหลาย ฝ่ายและ ประชาชนที่สนใจเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับวัฒนธรรมประชาธปไตยที่เหมาะสม 4. จากการศึกษา พบว่า เยาวชนส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยในเรื่องของ รูปแบบโครงสร้างมากกว่าเนื้อหาประชาธิปไตย ดังนั้น ควรมการปรับปรุงระบบการเรียนการสอน เพื่อปลูกฝังอบรมหล่อหลอมกล่อมเกลาใหเยาวชนมีวิธีคิดและจิตสำนึกที่เป็นประชาธิปไตย 5. รัฐบาลควรมีการกำหนดนโยบายที่มีความชัดเจนในการเสริมสร้างประชาธิปไตยให้แก่ ประชาชนและเยาวชนโดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่างภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยผ่านครอบครัว กระบวนการศึกษาในและนอกระบบ การรณรงค์เผยแพร่ผ่านสื่อวิทยุและโทรทัศน์ นอกจากนี้รัฐบาลควรส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพราะปัญหา ด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมืองมีความสัมพันธ์กัน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009