• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ความสำคัญของภาษีอากรฝ่ายสรรพากรกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย

by บุญรอด โบว์เสรีวงศ์

Title:

ความสำคัญของภาษีอากรฝ่ายสรรพากรกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย

Author(s):

บุญรอด โบว์เสรีวงศ์

Advisor:

ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1966

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

ความมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์เพื่อที่จะทราบถึงบทบาทของภาษีอากรฝ่ายสรรพากรต่อการส่งเสริมการลงทุนของเอกชนและเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญและแน่นอนเพื่อใช้จ่ายในการพัฒนาเศรษฐกิจว่ามีอยู่อย่างไรหรือไม่เพียงใด และมีข้อบกพร่องอันควรปรับปรุงแก้ไขเพียงใด ผู้เขียนได้กำหนดขอบเขตศึกษาเฉพาะภาษีสำคัญ ๆ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีการค้าของปีงบประมาณ 2508 มิได้รวมภาษีสรรพากรอื่น ในการศึกษาวิเคราะห์ ผู้เขียนได้พิจารณาทั้งในด้านตัวบทกฎหมายและผลของกฎหมายนั้น ๆ ประกอบกับการศึกษาถึงพฤติกรรมไปในคราวเดียวกัน
จากผลการศึกษาปรากฏว่า นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยอาศัยระบบภาษีอากร ฝ่ายสรรพากรและพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนของรัฐได้ผล เพราะหลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติแล้วได้มีการขอรับการส่งเสริมเพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็นผลให้คนไทยมีงานทำหลายหมื่นคน อันนับว่าเป็นการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย และจากการศึกษางบประมาณแผ่นดิน งบภาษีอากร งบพัฒนาเศรษฐกิจ งบภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ฯลฯ แสดงว่าภาษีสรรพากรเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญและแน่นอนเพื่อใช้จ่ายในการพัฒนาเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีก็ยังปรากฏว่าภาษีอากร ฝ่ายสรรพากรยังมีอุปสรรคอีกหลายประการซึ่งผู้เขียนก็ได้พิจารณาโดยละเอียดและได้เสนอแนะข้อแก้ไขไว้ดังต่อไปนี้ คือ .-
1. กฎหมายและระเบียบปฏิบัติภาษีอากร ควรจะได้ยกร่างขึ้นใหม่ให้รัดกุมขึ้น
2. ปัญหาการปฏิบัติในการจัดเก็บภาษีควรจัดเก็บให้ทั่วถึง อุดช่องโหว่ไม่ให้มีการหลีกเลี่ยงภาษี โดยให้การศึกษาประชาชนสูงขึ้น ปรับปรุงสมรรถภาพในการตรวจสอบภาษี หาวิธีควบคุมผู้เสียภาษี ฯลฯ และในด้านการบัญชีควรมีการวางระเบียบกฎหมายสำหรับ รูป แบบ และวิธีการบัญชีให้เหมาะสมแก่สภาพของกิจการแต่ละประเภท ควรส่งเสริมให้ใช้วัตถุดิบในประเทศให้มากขึ้น ใช้แรงงานคนไทยมากขึ้น
3. ปัญหาการวางระบบภาษีอากร ควรต้องมีการวิเคราะห์วิจัยสถิติข้อมูล เพื่อให้ทราบผลของภาษีอากร ตลอดจนภาระในการเสียภาษีอากร.
4. ปัญหาการบริหารงานจัดเก็บภาษีอากร ปัญหาที่เกี่ยวพันกัน ปัญหาการบริหารงานบุคคล ซึ่งควรจะได้มีการสอนหรืออบรมผู้เข้ารับราชการเกี่ยวกับหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติเสียก่อน และปัญหาเกี่ยวกับการจัดส่วนราชการ ซึ่งควรจะได้มีการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ให้มีการมอบหมายอำนาจและหน้าที่อย่างสมดุลย์และจะต้องกำหนดไว้ให้ชัดแจ้ง และให้แบ่งเบาอำนาจควบคุมบังคับบัญชาให้หน่วยงานทุกระดับในหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม
5. ปัญหาความรู้สึกรับผิดชอบในการเสียภาษีของประชาชน ควรได้ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจหน้าที่ในการเสียภาษี ให้เกลียดชังผู้หลีกเลี่ยงภาษี โฆษณาเผยแพร่ให้ประชาชนทราบถึงผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้จ่ายของรัฐ และให้มีการตรวจสอบผู้หลีกเลี่ยงให้รัดกุมและสม่ำเสมอ

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509.

Subject(s):

ภาษี -- ไทย

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

128 หน้า.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1118
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b8356ab.pdf ( 141.67 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b8356.pdf ( 4,012.07 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×