• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ค่าทดแทนของลูกจ้างที่ประสพอันตรายในการทำงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีการบริหารงานของกรมแรงงานในจังหวัดพระนคร-ธนบุรี

by ประทีป คลังทอง

Title:

ค่าทดแทนของลูกจ้างที่ประสพอันตรายในการทำงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีการบริหารงานของกรมแรงงานในจังหวัดพระนคร-ธนบุรี

Author(s):

ประทีป คลังทอง

Advisor:

ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1967

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาเรื่องนี้มุ่งเน้นถึงเรื่องการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงาน จากการศึกษากฎหมายแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานปรากฏว่า กฎหมายค่าทดแทนที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถให้ความคุ้มครองและให้ประโยชน์ทดแทนแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายตามที่กำหนดไว้ได้อย่างแท้จริง ข้อบกพร่องของกฎหมายนี้ยังเป็นอุปสรรคขัดข้องต่อการบริหารงานของเจ้าหน้าที่ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพตามต้องการได้ ผู้เขียนได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และวิธีการดำเนินงานในเรื่องนี้ไว้ใหม่ คือ.-
1. กำหนดบทบัญญัติให้นายจ้างรับผิดชอบในเรื่องค่าทดแทนไว้แน่นอน ในกรณีที่มีการรับเหมางานกันทำโดยการกำหนดให้ผู้รับเหมาหลักเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องค่าทดแทน
2. ให้กำหนดความหมายของคำว่าลูกจ้างชั่วคราวโดยพิจารณาว่างานที่ลูกจ้างทำนั้นเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้าโดยตรง แม้ว่างานจะมีลักษณะเป็นงานชั่วคราว มีระยะสั้นก็จะไม่ถือว่าเป็นลูกจ้างชั่วคราว และมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในเรื่องค่าทดแทน
3. ให้กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการตกลงปรานีประนอมค่าทดแทนไว้
4. ให้กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นเงินก้อน
5. ให้กำหนดบทบัญญัติลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมายไว้
6. กำหนดให้นายจ้างประกันค่าทดแทนของลูกจ้างไว้
7. เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ควรให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างมีความเข้าใจในหลักการและวิธีการดำเนินงานค่าทดแทน ตลอดจนวัตถุประสงค์ของค่าทดแทน
8. สมควรจะได้มีการปรับปรุงแก้ไขวิธีการดำเนินงานค่าทดแทน โดยกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่แจ้งการประสบอันตราย ให้ลูกจ้างยื่นคำร้องเรียนเรียกค่าทดแทน โดยกำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทน ถ้าการจ่ายเงินไม่เป็นไปตามกฎหมาย ลูกจ้างยังคงมีสิทธิเรียกร้องเงินทดแทนได้ใหม่ เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ ๆ จะชี้แจงว่าลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับค่าทดแทนอย่างไรบ้าง ตลอดจนมีหน้าที่ดูแลให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ในกรณีที่นายจ้างไม่ยอมจ่ายค่าทดแทน นายจ้างต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนถึงเวลาเริ่มต้นจ่ายค่าทดแทนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และเมื่อมีปัญหาข้อขัดแย้งกันในเรื่องค่าทดแทน ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยข้อขัดแย้งโดยเร็วที่สุด

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2510.

Subject(s):

ค่าทดแทน -- ไทย

Keyword(s):

ลูกจ้าง
แรงงาน
กฎหมายแรงงาน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

138 หน้า.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1119
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b7387ab.pdf ( 277.48 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b7387.pdf ( 4,260.78 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×