• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

คุณค่าของพุทธศาสนาในการบริหารราชการ

by ทินพันธุ์ นาคะตะ

Title:

คุณค่าของพุทธศาสนาในการบริหารราชการ

Author(s):

ทินพันธุ์ นาคะตะ

Advisor:

มาลัย หุวะนันทน์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1966

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ คือ.- 1. เป็นการศึกษาหน้าที่และความสัมพันธ์ของศาสนาที่มีต่อสังคมโดยทั่วไป เพื่อแสดงให้เห็นว่าศาสนาเป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการบริหารอย่างไร 2. เพื่อแสดงว่าพุทธศาสนามีคุณค่าต่อสังคมโดยส่วนรวม มีอิทธิพลอยู่เหนือจิตใจและการประพฤติปฏิบัติของคนไทย 3. เพื่อศึกษาหลักธรรมที่สำคัญ ๆ ที่มีคุณค่าควรแก่การยึดถือเป็นหลักจริยธรรมในการบริหารทั้งในด้านการใช้ศิลปและเทคนิคในการปฏิบัติราชการ 4. เพื่อศึกษาถึงคุณค่าและอิทธิพลของพุทธปรัชญาที่มีต่อจริยธรรม และพฤติกรรมในการปกครองและการบริหารในทางปฏิบัติที่เป็นอยู่ ทั้งนี้เพื่อนำมาสู่ข้อสรุปที่ว่าพุทธศาสนามีคุณค่าต่อการบริหารของไทยอย่างไรบ้าง.
ในวิทยานิพนธ์ ผู้เขียนได้ยกข้อเท็จจริงและเหตุผลต่าง ๆ ที่ส่งเสริมความสำคัญ 4 ประการของพุทธศาสนาดังกล่าว นอกจากนี้ผู้เขียนได้วิเคราะห์ถึงปัญหาบางประการที่มีอยู่ในสังคมไทย ซึ่งอาจเป็นประโยชน์แก่การปรับปรุงแก้ไขให้ศาสนามีคุณค่าต่อสังคมยิ่งขึ้น ปัญหาเหล่านี้ได้แก่.- 1. ในการพัฒนาประเทศ เราขาดการพัฒนาในด้านจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นควรจะได้นำพุทธปรัชญามาเป็นคุณธรรมหรือจริยธรรมในการปกครองและการบริหารราชการ 2. มีความแตกต่างระหว่างพุทธปรัชญาในขั้นอุดมการณ์กับพุทธศาสนาในสังคมที่เรายึดถือไปปฏิบัติอยู่บ้าง 3. คนไทยส่วนมากยังเป็นพุทธศาสนิกชนแต่เพียงในนาม มิได้เคร่งครัดต่อการประพฤติปฏิบัติเท่าใดนัก 4. ประชาชนขาดความเข้าใจในหลักธรรมที่แท้จริง 5. วิธีการถ่ายทอดหลักธรรมยังคงใช้แบบเดิมที่ถือปฏิบัติกันมานานควรนำเอาเทคนิคและวิธีการสอนที่ทันสมัยมาใช้ 6. เวทมนต์คาถา ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่มีจิตอ่อน
อย่างไรก็ดีผู้เขียนได้สรุปไว้ว่า คุณลักษณะพิเศษแห่งพุทธปรัชญาในด้านต่าง ๆ ตามที่ได้ศึกษามา แสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนามีคุณค่าต่อการยึดถือเป็นหลักในการทำงานและดำรงชีวิตอยู่มากที่สุด และเหมาะสมต่อการนำมาปรับปรุงคุณค่านิยม หรือพฤติกรรมในเชิงพิเศษบางอย่างได้เป็นอย่างดี.

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509.

Subject(s):

พุทธศาสนา

Resource type:

Thesis

Extent:

185 หน้า.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Access rights:

สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1121
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
nida-ths-b6613.pdf ( 6,804.59 KB )

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
nida-ths-b6613ab.pdf ( 433.60 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [261]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×