• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

คุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางในยุคเศรษฐกิจถดถอย : ศึกษากรณีจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

by กุสุมา โกศล

Title:

คุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางในยุคเศรษฐกิจถดถอย : ศึกษากรณีจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

Other title(s):

The quality of life of the rubber agriculturists in the economic recession : a case study of Surat Thani and Nakhon Si Thammarat Provinces

Author(s):

กุสุมา โกศล

Advisor:

เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2012

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2012.25

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาวิจัยเรื่อง คุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางในยุคเศรษฐกิจถดถอย : ศึกษา กรณีจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช เป็นการศึกษาเชิงสำรวจและการสัมภาษณ์แบบมีโครงสรางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตปัจจยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตและเพื่อแสวงหา แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและ นครศรธรรมราชามีคุณภาพชีวิตระดับใดมีปัจจัยอะไรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตและเพื่อ นําผลการศึกษาวิจัยที่ได้เป็นแนวทางในการจัดทำและพัฒนาเครื่องมือชี้วัดคุณภาพชีวิตตลอดจนการ กําหนดโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสำรวจ เป็นเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่จังหวัด สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช จํานวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมานคือการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ส่วนการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญพื้นที่ทั้งสอง จังหวัดรวม 12 คนประกอบไปด้วยผู้นําท้องถนหรือชุมชนผู้ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือใน หมู่บ้านหรือผู้อาวุโสในหมู่บ้านและเกษตรกรชาวสวนยางซึ่งผู้วิจัยนาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ มาวิเคราะห์ในเชิงพรรณนาเพื่อประกอบการอธิบายผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือน เมษายนมิถุนายน 2553 สําหรับตัวแปรคุณภาพชีวิตใช้เป็นเครื่องมือในการสำรวจคุณภาพชีวิตของเกษตรกร สวนยางในครั้งนี้ได้มาจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิต ประกอบด้วยมิติต่างๆ 5 ด้าน ได้แก่ด้านชีวิตครอบครัว ชีวิตการทำงาน ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพอนามัยและ ด้านชีวิตในชุมชน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับคุณภาพชีวิตเฉลี่ยสูงสุดในระดับมากในด้านชีวิต การทำงาน มีค่าเฉลี่ย 4.04 รองลงมาคือด้านชีวิตครอบครัว มีค่าเฉลี่ย 3.96 ด้านชีวิตในชุมชน ค่าเฉลี่ย 3.74 กลุ่มตัวอย่างมีระดับคุณภาพชีวิตเฉลี่ยในระดับปานกลาง ในด้านความมั่นคงทาง เศรษฐกิจ มีค่าเฉลี่ย 3.47 รองลงมาคือด้านสุขภาพอนามัย มีค่าเฉลี่ย 3.37 ส่วนปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับคณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัด นครศรธรรมราชได้แก่เพศอายุระบการศึกษาลักษณะครอบครัวลักษณะที่อยู่อาศัย สภาพแวดลอมในการทำงาน การมีอาชพเสริมรายได้ฐานะทางเศรษฐกิจและความถี่ในการรบริการ ข่าวสารส่วนความพึงพอใจในราคาผลผลิตและความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านไม่สามารถอธิบายได้ ว่าตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านต่างๆอย่างไรเนื่องจากตัวแปรไม่มีความ แตกต่างในตัวเอง สําหรับข้อเสนอแนะของเกษตรกรชาวสวนยางที่คิดว่าจะนำมาซึ่งการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนั้น เกษตรกรชาวสวนยางได้เสนอในเรื่องราคาผลผลิตมากที่สุดโดยต้องการให้มีราคาส่งสม่ำเสมอไม่ ควรให้ราคาลดตาลงมากเพราะผลผลิตที่ขายได้หมายถึงรายได้ที่จะนำมาเลี้ยงครอบครัวรวมทั้ง เกษตรกรชาวสวนยางมีภาระเรื่องราคาปัจจัยที่ส่งอยู่แล้วด้านชีวิตการทำงานต้องการให้หน่วยงาน ภาครัฐเขามาดูแลเรื่องกองทุนการทำสวนยางรวมถึงให้คําแนะนําความรู้ทางวิชาการแก่เกษตรกร สม่ำเสมอโดยสรุปแล้วเกษตรกรจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมส่วนบุคคลของแต่ละคนมากกว่าเนื่องจากแต่ละคนมีพื้นฐานและความพึงพอใจในชีวิตที่แตกตางกัน สิ่งที่สําคัญคือการมีรายได้ที่เพียงพอไม่เป็นหนี้และการรู้จักพอประมาณตามอัตภาพของตนเอง คือสิ่งสำคัญที่จะทำให้การดำรงชีวิตมความสุขที่สุด

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.(รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012

Subject(s):

คุณภาพชีวิต -- ไทย -- สุราษฎ์ธานี
คุณภาพชีวิต -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
เกษตรกร -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
เกษตรกร -- ไทย -- สุราษฎร์ธานี

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

207 แผ่น ; 30 ซม.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1123
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b176600.pdf ( 2.68 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [291]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×