• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

งานประชาสัมพันธ์ของรัฐ : บทศึกษาเฉพาะกรณีการปฏิบัติงานวิทยุกระจายเสียงของกองประชาสัมพันธ์เขตขอนแก่น

by ถวัลย์ กิตติศรีสุวรรณ

Title:

งานประชาสัมพันธ์ของรัฐ : บทศึกษาเฉพาะกรณีการปฏิบัติงานวิทยุกระจายเสียงของกองประชาสัมพันธ์เขตขอนแก่น

Author(s):

ถวัลย์ กิตติศรีสุวรรณ

Advisor:

ถนอม ศุขสาตร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1967

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

ผู้เขียนวิทยานิพนธ์เลือกศึกษาเฉพาะการปฏิบัติงานวิทยุกระจายเสียงกองประชาสัมพันธ์เขตจังหวัดขอนแก่นแต่เพียงแห่งเดียว เพราะจะสามารถทำให้ทราบบทบาทและความสำคัญในการปฏิบัติงานของสถานีอื่น ๆ ว่า จะดีกว่าสถานีวิทยุที่มีกำลังส่งต่ำอย่างไร และจะสามารถทราบถึงการปฏิบัติงานได้ว่าได้ผลเป็นประการใด แหล่งการศึกษานี้ไม่ครอบคลุมถึงการดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์ ช่อง 5 จังหวัดขอนแก่น จากผลการศึกษาปรากฏว่าโดยทั่วไปการบริหารงานของสถานีวิทยุกระจายเสียงทั้งในด้านการจัดรายการ และในด้านการส่งเสริมให้ประชาชนรับฟังข่าวสารมากขึ้นนั้น ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และหน่วยงานต่าง ๆ ได้ปฏิบัติงานใกล้เคียงกับหลักการบริหารงานโดยทั่วไป แต่อย่างไรก็ดีผู้เขียนก็เห็นว่ายังมีข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขบางประการ เช่น ในการวางแผนการปฏิบัติงาน การจัดเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสมกับตำแหน่งงาน การจัดงบประมาณ การฝึกอบรม เป็นต้น
ในด้านการวางแผนงานและการจัดรายการนั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่า เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการระยะยาวและให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ควรจะมีการจัดวางแผนการจัดรายการวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ควบคู่กันไปด้วย ส่วนด้านเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ควรมีการบรรจุผู้ปฏิบัติงานด้านจัดรายการและผู้สื่อข่าวให้เพิ่มขึ้นตามความจำเป็นของงาน ควรจัดแผนการปฏิบัติงาน คือ จัดแบ่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเป็นแผนกส่งกระจายเสียง ประกอบด้วยผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่ต่าง ๆ คือ ผู้สื่อข่าวและฝ่ายการกระจายเสียง ให้เป็นผู้ทำการสัมภาษณ์บุคคลที่จะให้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ตลอดจนรวบรวมบทความที่เป็นประโยชน์ ฯลฯ ในด้านงบประมาณรัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณเป็นกรณีพิเศษ และทวีการตอบโต้การโฆษณาชวนเชื่อให้มากกว่าที่ปฏิบัติอยู่ปัจจุบัน ควรมีการฝึกอบรมแก่ผู้จัดรายการ ผู้สื่อข่าว และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ทราบแนวปฏิบัติทางด้านสงครามจิตวิทยา เรียนรู้วิธีการหลอกลวง การจูงใจ และการบิดเบือนข้อเท็จจริงของคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้ควรมีการจัดตั้งแผนกภาษาเวียตนาม หรือจัดตั้งรายการภาษาเวียตนามส่วนหนึ่ง ซึ่งจะช่วยหันเหความสนใจของชาวเวียตนามในไทยให้รับฟังวิทยุมากขึ้น อันจะช่วยแก้ความเข้าใจผิดที่มีต่อรัฐบาลไทย และฝ่ายโลกเสรี ในเรื่องการโฆษณาสินค้าทางวิทยุกระจายเสียงนั้น ควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์ และระเบียบปฏิบัติให้แน่นอน เพื่อสามารถควบคุมการบริหารงานให้รัดกุมและได้ผลไม่มีการโฆษณามากเกินไปหรือน้อยเกินไป.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2510.

Subject(s):

การประชาสัมพันธ์

Keyword(s):

กองประชาสัมพันธ์เขตขอนแก่น

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

162, 3 หน้า.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1128
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b8432ab.pdf ( 113.91 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b8432.pdf ( 4,070.80 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [291]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×