dc.contributor.advisor | ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา | th |
dc.contributor.author | ประเสริฐ บุญซื่อ | th |
dc.date.accessioned | 2014-05-05T09:17:29Z | |
dc.date.available | 2014-05-05T09:17:29Z | |
dc.date.issued | 1968 | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1129 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511. | th |
dc.description.abstract | ผู้เขียนมุ่งศึกษาเรื่องของเงินอุดหนุนเทศบาลในประเทศไทยว่าเป็นเงินที่ได้มาจากไหน มีหลักการจัดสรรแบ่งปันให้แก่เทศบาลต่าง ๆ อย่างไร และเทศบาลจะนำเงินไปใช้จ่ายในทางใดบ้าง โดยจำกัดขอบเขตศึกษาเฉพาะเงินอุดหนุนที่แท้จริง 3 ประเภท คือ เงินอุดหนุนเทศบาลเพื่อการบูรณะท้องถิ่นและกิจการอื่นทั่วไป เงินอุดหนุนพิเศษเฉพาะกิจการ และเงินอุดหนุนการศึกษา. | th |
dc.description.abstract | จากผลการศึกษาวิเคราะห์ปรากฏว่าหลักการจัดสรรเงินอุดหนุนเทศบาลเพื่อการบูรณะท้องถิ่นและกิจการอื่นทั่วไปไม่ได้เป็นไปตามหลักการสากลที่นานาประเทศยึดถือปฏิบัติ และไม่มีหลักเกณฑ์ใด ๆ ทั้งสิ้นในการจัดสรร ฉะนั้นสมควรที่รัฐบาลจะได้ปรับปรุงหลักการจัดสรรเงินประเภทนี้เสียใหม่เพื่อสร้างความเสมอภาคระหว่างเทศบาลให้มากที่สุด ปัญหาเกี่ยวกับเงินอุดหนุนพิเศษเฉพาะกิจการซึ่งมีอยู่ 4 ประเภท คือ เงินอุดหนุนเกี่ยวกับอัคคีภัย เงินอุดหนุนเกี่ยวกับภัยพิบัติสาธารณะ เงินอุดหนุนเกี่ยวกับงานโยธา และเงินอุดหนุนโรงพยาบาลของเทศบาลโดยสม่ำเสมอ แต่หลักการจัดสรรยังไม่เหมาะสม ควรต้องมีการปรับปรุงแก้ไข เงินอุดหนุนเกี่ยวกับงานโยธา มีวิธีปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับต่างประเทศ แต่แตกต่างกันในจำนวนเงินที่ขอคือ ของไทยเราจะให้เต็มตามจำนวนของโครงการ ควรจะมีการปรับปรุงโดยให้เพียงครึ่งหนึ่งให้เทศบาลออกเองครึ่งหนึ่งเพื่อเป็นเครื่องล่อเทศบาลให้ดำเนินการเพื่อความเจริญก้าวหน้าของท้องถิ่น เงินอุดหนุนเกี่ยวกับอัคคีภัยประเภทเดียวเท่านั้นที่มีหลักการจัดสรรสอดคล้องกับต่างประเทศโดยเทศบาลและรัฐออกกันคนละครึ่ง ส่วนเงินอุดหนุนเกี่ยวกับภัยพิบัติสาธารณะ รัฐบาลให้เงินอุดหนุนเต็มตามโครงการที่ขอมา ควรพิจารณาปรับปรุงโดยใช้แบบที่อังกฤษถือปฏิบัติอยู่ ปัญหาเกี่ยวกับเงินอุดหนุนการศึกษานั้นจะเห็นได้ว่า หลักการจัดสรรเงินประเภทนี้เป็นหลักการที่ทำให้เทศบาลต้องร่วมรับภาระเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินการศึกษา ซึ่งเทศบาลต้องรับภาระอย่างหนักเพิ่มขึ้นทุกวัน จึงควรจะได้รับการแก้ไขโดยรีบด่วน | th |
dc.description.abstract | ในตอนท้ายของวิทยานิพนธ์ผู้เขียนได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการจัดสรรเงินอุดหนุนเทศบาลทุกประเภทดังกล่าวแล้วอย่างละเอียด | th |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2014-05-05T09:17:29Z (GMT). No. of bitstreams: 2
nida-ths-b10487.pdf: 5933612 bytes, checksum: 8c98e8e2af5e31db50a67ec29a17ac31 (MD5)
nida-ths-b10487ab.pdf: 67664 bytes, checksum: e03eff87a7813720f2828f1400589e5f (MD5)
Previous issue date: 1968 | th |
dc.format.extent | 240 หน้า. | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject.lcc | JS 7404 .A15ง65 ป17 | th |
dc.subject.other | เงินอุดหนุน -- ไทย | th |
dc.subject.other | เทศบาล | th |
dc.title | เงินอุดหนุนเทศบาล | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | th |
thesis.degree.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ | th |