• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ทัศนคติของโต๊ะครูต่อการปรับปรุงปอเนาะเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม

by รุ่ง แก้วแดง

Title:

ทัศนคติของโต๊ะครูต่อการปรับปรุงปอเนาะเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม

Author(s):

รุ่ง แก้วแดง

Advisor:

เชวง เรียงสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1968

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

ความมุ่งหมายในการศึกษาเรื่องนี้เพื่อทราบทัศนคติของโต๊ะครูที่มีต่อการปรับปรุงปอเนาะซึ่งเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม ว่าเป็นอุปสรรคต่อการปรับปรุงหรือไม่ โดยแบ่งพิจารณาออกเป็น 3 ด้าน คือ.-
1. ทัศนคติของโต๊ะครูต่อระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปรับปรุงส่งเสริมปอเนาะในภาคการศึกษา 2 พ.ศ. 2504 และต่อความช่วยเหลือทางการเงิน การสอน วิชาชีพ และวิชาสามัญในโรงเรียน
2. ทัศนคติของโต๊ะครูต่อครูช่วยสอน
3. ทัศนคติของโต๊ะครูต่อการประเมินผล
จากกผลการศึกษาปรากฏว่า โต๊ะครูส่วนใหญ่เห็นว่าระเบียบ หรือวิธีการที่ทางราชการประกาศใช้ดีอยู่แล้ว สำหรับครูผู้สอนก็นับว่าปฏิบัติเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามมาก เข้ากันได้ดีกับโต๊ะครูและนักเรียน แต่ต้องการครูช่วยสอนที่นับถือศาสนาอิสลาม และเพศชาย หลักเกณฑ์การประเมินผลควรจะเน้นด้านอาคารสถานที่ และความสัมฤทธิผลด้านนักเรียนให้เท่า ๆ กัน โดยสรุปแล้วทัศนคติของโต๊ะครูไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการปรับปรุงปอเนาะเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม เพื่อให้การปรับปรุงปอเนาะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้เขียนได้ให้ข้อเสนอแนะไว้หลายประการ คือ.-
1. ระเบียบและวิธีการปรับปรุงควรแก้ไขให้มีลักษณะใกล้เคียงกับ พ.ร.บ. โรงเรียนราษฎร์ ปี 2497 โดยให้โต๊ะครูร่วมในการพิจารณาแก้ไข การช่วยเหลือด้านการเงินและครูช่วยสอน ควรพิจารณาตามขนาดและความจำเป็น
2. ควรมีการแก้ปัญหาการขาดครูโดยวางแผนระยะสั้น คือให้มีการอบรมครูอย่างน้อย 3 เดือน และแผนระยะยาว โดยรับนักเรียนจากโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามเข้าเรียนในวิทยาลัยครู และปรับปรุงอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทยเสียใหม่ โดยจัดหลักสูตรแบบวิทยาลัยครูอาชีวศึกษา เพื่อผลิตครูและช่างฝีมือที่นับถือศาสนาอิสลาม
3. หลักเกณฑ์การประเมินผลควรเน้นทั้ง 2 ด้าน ด้านอาคารสถานที่ และด้านความสัมฤทธิผลของนักเรียน เงินรางวัลควรเพิ่มให้มากขึ้น
4. ควรจัดศึกษาพิเศษเป็นชุด ประกอบด้วยศึกษานิเทศก์วิชาศาสนา วิชาสามัญ วิชาชีพ ออกทำการนิเทศก์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง.
5. ควรมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยกรมพัฒนาชุมชน หน่วยรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ และภาคศึกษา 2 ที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน โดยมีกองบัญชาการร่วมกันวางแผนและปฏิบัติงานให้สอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,2511.

Subject(s):

ปอเนาะ

Keyword(s):

มุสลิม
ไทย
ภาคใต้
โรงเรียนเอกชน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

153 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1131
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b11217ab.pdf ( 113.04 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b11217.pdf ( 3,388.02 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×