dc.contributor.advisor | เชวง เรียงสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา | th |
dc.contributor.author | รุ่ง แก้วแดง | th |
dc.date.accessioned | 2014-05-05T09:17:29Z | |
dc.date.available | 2014-05-05T09:17:29Z | |
dc.date.issued | 1968 | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1131 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,2511. | th |
dc.description.abstract | ความมุ่งหมายในการศึกษาเรื่องนี้เพื่อทราบทัศนคติของโต๊ะครูที่มีต่อการปรับปรุงปอเนาะซึ่งเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม ว่าเป็นอุปสรรคต่อการปรับปรุงหรือไม่ โดยแบ่งพิจารณาออกเป็น 3 ด้าน คือ.- | th |
dc.description.abstract | 1. ทัศนคติของโต๊ะครูต่อระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปรับปรุงส่งเสริมปอเนาะในภาคการศึกษา 2 พ.ศ. 2504 และต่อความช่วยเหลือทางการเงิน การสอน วิชาชีพ และวิชาสามัญในโรงเรียน | th |
dc.description.abstract | 2. ทัศนคติของโต๊ะครูต่อครูช่วยสอน | th |
dc.description.abstract | 3. ทัศนคติของโต๊ะครูต่อการประเมินผล | th |
dc.description.abstract | จากกผลการศึกษาปรากฏว่า โต๊ะครูส่วนใหญ่เห็นว่าระเบียบ หรือวิธีการที่ทางราชการประกาศใช้ดีอยู่แล้ว สำหรับครูผู้สอนก็นับว่าปฏิบัติเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามมาก เข้ากันได้ดีกับโต๊ะครูและนักเรียน แต่ต้องการครูช่วยสอนที่นับถือศาสนาอิสลาม และเพศชาย หลักเกณฑ์การประเมินผลควรจะเน้นด้านอาคารสถานที่ และความสัมฤทธิผลด้านนักเรียนให้เท่า ๆ กัน โดยสรุปแล้วทัศนคติของโต๊ะครูไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการปรับปรุงปอเนาะเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม เพื่อให้การปรับปรุงปอเนาะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้เขียนได้ให้ข้อเสนอแนะไว้หลายประการ คือ.- | th |
dc.description.abstract | 1. ระเบียบและวิธีการปรับปรุงควรแก้ไขให้มีลักษณะใกล้เคียงกับ พ.ร.บ. โรงเรียนราษฎร์ ปี 2497 โดยให้โต๊ะครูร่วมในการพิจารณาแก้ไข การช่วยเหลือด้านการเงินและครูช่วยสอน ควรพิจารณาตามขนาดและความจำเป็น | th |
dc.description.abstract | 2. ควรมีการแก้ปัญหาการขาดครูโดยวางแผนระยะสั้น คือให้มีการอบรมครูอย่างน้อย 3 เดือน และแผนระยะยาว โดยรับนักเรียนจากโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามเข้าเรียนในวิทยาลัยครู และปรับปรุงอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทยเสียใหม่ โดยจัดหลักสูตรแบบวิทยาลัยครูอาชีวศึกษา เพื่อผลิตครูและช่างฝีมือที่นับถือศาสนาอิสลาม | th |
dc.description.abstract | 3. หลักเกณฑ์การประเมินผลควรเน้นทั้ง 2 ด้าน ด้านอาคารสถานที่ และด้านความสัมฤทธิผลของนักเรียน เงินรางวัลควรเพิ่มให้มากขึ้น | th |
dc.description.abstract | 4. ควรจัดศึกษาพิเศษเป็นชุด ประกอบด้วยศึกษานิเทศก์วิชาศาสนา วิชาสามัญ วิชาชีพ ออกทำการนิเทศก์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง. | th |
dc.description.abstract | 5. ควรมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยกรมพัฒนาชุมชน หน่วยรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ และภาคศึกษา 2 ที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน โดยมีกองบัญชาการร่วมกันวางแผนและปฏิบัติงานให้สอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน. | th |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2014-05-05T09:17:29Z (GMT). No. of bitstreams: 2
nida-ths-b11217.pdf: 3469331 bytes, checksum: d56e63b980d69d092dad259b68ca2496 (MD5)
nida-ths-b11217ab.pdf: 115753 bytes, checksum: a91fb018edd207f37c1c7528c5ddccbe (MD5)
Previous issue date: 1968 | th |
dc.format.extent | 153 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject | มุสลิม | th |
dc.subject | ไทย | th |
dc.subject | ภาคใต้ | th |
dc.subject | โรงเรียนเอกชน | th |
dc.subject.lcc | LC 54 .T3 ร42 | th |
dc.subject.other | ปอเนาะ | th |
dc.title | ทัศนคติของโต๊ะครูต่อการปรับปรุงปอเนาะเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | th |
thesis.degree.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ | th |