• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ทัศนคติของนักศึกษาแพทย์ต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุขในชนบท

by จำรูญ มีขนอน

Title:

ทัศนคติของนักศึกษาแพทย์ต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุขในชนบท

Author(s):

จำรูญ มีขนอน

Advisor:

ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1967

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาเรื่องนี้เป็นการวิจัยสนาม โดยมุ่งศึกษาถึงทัศนคติของนักศึกษาแพทย์ทุกคนในโรงเรียนแพทย์ทั้ง 3 แห่ง คือ คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ จากผลการศึกษาปรากฏว่าการสาธารณสุขของไทยเราได้เจริญก้าวหน้าตามแบบอารยประเทศ แต่ในการให้บริการแก่ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ที่อยู่ในชนบทยังไม่ทั่วถึง เพราะขาดแคลนแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้พยายามหาทางแก้ไขตลอดมา แต่ไม่บังเกิดผลดีเท่าที่ควร.
ผลการวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าการเพิ่มปริมาณนักศึกษาแพทย์ขึ้นในโรงเรียนแพทย์แต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในการปฏิบัติงานสาธารณสุขชนบทได้ เพราะแพทย์ที่สำเร็จใหม่แทบไม่มีใครอยากออกไปปฏิบัติงานในชนบท กระทรวงสาธารณสุขและโรงเรียนแพทย์จะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่องานสาธารณสุขชนบทให้เกิดแก่นักศึกษาอันจะเป็นการจูงใจให้ออกไปปฏิบัติงานมากขึ้น ทางโรงเรียนแพทย์ควรคัดเลือกนักศึกษาแพทย์จากผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในชนบทเข้าเรียนให้มากขึ้นกว่าเดิม และควรจัดหลักสูตรวิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมให้สอดคล้องกับงานสาธารณสุขในชนบท การสร้างประสบการณ์ในการปฏิบัติตนในชนบทให้แก่นักศึกษาเท่าที่โอกาสและเวลาจะอำนวยให้ ตลอดถึงการสร้างโรงเรียนแพทย์ใหม่เพิ่มขึ้นในต่างจังหวัดให้นักศึกษาได้ใกล้ชิดกับปัญหาดังกล่าวยิ่งขึ้น ทางด้านกระทรวงสาธารณสุขก็ควรจะได้จัดระบบการบริหารงานสาธารณสุขในส่วนภูมิภาคเสียใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่ให้สภาพการทำงานมีการเหลื่อมล้ำกับหน่วยราชการอื่น ๆ มากเกินไป ถ้าทำเช่นนี้ปัญหาเรื่องแพทย์สำเร็จใหม่เดินทางไปต่างประเทศกันมากก็ไม่ต้องแก้ไขอะไรเลย เพราะแพทย์เหล่านั้นจะกลับประเทศไทยในระยะเวลาไม่นานนัก และยังนำเอาวิชาความรู้มาทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้ผลดียิ่งขึ้น.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2510.

Subject(s):

นักศึกษาแพทย์ -- ทัศนคติ
แพทย์ -- วิจัย
สาธารณสุข

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

144 หน้า.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1134
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b10395ab.pdf ( 200.57 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b10395.pdf ( 3,509.52 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×