• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

ทัศนคติในทางพัฒนาของผู้นำท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา

by ทีป ทิพรังกร

ชื่อเรื่อง:

ทัศนคติในทางพัฒนาของผู้นำท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง:

ทีป ทิพรังกร

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

ทินพันธุ์ นาคะตะ, อาจารย์ที่ปรึกษา

ชื่อปริญญา:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

ปริญญาโท

สาขาวิชา:

รัฐประศาสนศาสตร์

คณะ/หน่วยงาน:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2510

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งค้นความจริงเกี่ยวกับทัศนคติในการพัฒนาของผู้นำท้องถิ่น เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นยังเป็นทัศนคติของประชาชนในสังคมแบบกึ่งพัฒนา และการศึกษาย่อมทำให้ทัศนคติของบุคคลมีลักษณะพัฒนาแล้วมากขึ้น
ผู้เขียนได้กำหนดขอบเขตของการศึกษาโดยศึกษาถึงสภาพสังคมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานภาพของผู้นำท้องถิ่นและเนื้อหาของทฤษฎีพัฒนาการของศาสตราจารย์ เฟรด ดับบลิว ริกกส์ โดยสังเขป ในขั้นต่อไปได้ศึกษาถึงทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคตินิยมทางเศรษฐกิจกับคตินิยมอื่น ๆ เกี่ยวกับเกียรติภูมิของอาชีพ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจและการกู้หนี้ยืมสิน รวมตลอดจนทัศนคติเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ในทางเศรษฐกิจ ในด้านทัศนคติทางสังคมนั้นได้ศึกษาถึงทัศนคติเกี่ยวกับคุณค่าของบุคคล อิสรภาพของบุคคล รวมทั้งทัศนคติเกี่ยวกับความเชื่ออื่น ๆ ที่สำคัญ ในด้านทัศนคติทางการเมืองได้ศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับฝ่ายที่มีอำนาจทางการเมือง ฐานะของประชาชนในทางการเมือง ทัศนคติเกี่ยวกับนโยบาย สิทธิและหน้าที่ในทางการเมือง รวมทั้งปัญหาที่เกี่ยวกับกระบวนการทางการเมืองในท้องถิ่น ในด้านทัศนคติทางบริหารนั้น ได้ศึกษาเกี่ยวกับอำนาจส่วนตัวและอำนาจตามกฎต่าง ๆ ของข้าราชการ ความเชื่อต่าง ๆ ในวงการบริหาร ความรับผิดชอบของข้าราชการต่อกฎต่าง ๆ รวมตลอดถึงทัศนคติเกี่ยวกับการบริหารในท้องถิ่น จากการศึกษาทัศนคติด้านผู้นำดังกล่าว ผู้เขียนให้ข้อเสนอเพื่อปรับปรุงและพัฒนาทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นบางประการ คือ.-
1. การศึกษาควรให้ความรู้แก่ผู้นำท้องถิ่นและประชาชนท้องถิ่นหนักไปทางที่ใช้ประยุกต์ได้ทันที เช่น การฝึกอบรมทางอาชีพ และความรู้อื่น ๆ ที่จำเป็นตามสถานภาพของผู้นำท้องถิ่น พร้อมกับให้ความรู้ในหน้าที่ ๆ ได้กระทำอยู่แล้วด้วย.
2. สื่อมวลชน ควรมีวิธีการเพื่อให้ผู้นำท้องถิ่นซื้อเครื่องรับวิทยุ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารดี ๆ ได้สะดวก ราคาถูกและควรจะได้มีการแนะวิธีใช้เครื่องรับวิทยุให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
3. ทัศนศึกษา ควรส่งเสริมให้ผู้นำท้องถิ่นเดินทางเข้าชมการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ในถิ่นที่เจริญ หรือชมการดำเนินของสถาบัน โรงงาน กิจกรรม หรือสถานที่ทดลอง สถานศึกษาต่าง ๆ.
4. การเผยแพร่ศีลธรรมและการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามหลักศีลธรรม ผู้เขียนเสนอให้ปรับปรุงการเผยแพร่ศาสนาให้ทันสมัยขึ้น ควรมีวิธีการเผยแพร่หลักศีลธรรมที่จำเป็นแก่การดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งหลักส่งเสริมความสงบเรียบร้อย.

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2510.

หัวเรื่องมาตรฐาน:

ผู้นำชุมชน -- ไทย -- นครราชสีมา

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

227 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1136
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (EXCERPT)

Thumbnail
ดู
  • nida-ths-b6517ab.pdf ( 80.39 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • nida-ths-b6517.pdf ( 5,115.83 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×