• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

นายอำเภอในฐานะประธานกรรมการสุขาภิบาล

by ทรงวุฒิ งามมีศรี

Title:

นายอำเภอในฐานะประธานกรรมการสุขาภิบาล

Author(s):

ทรงวุฒิ งามมีศรี

Advisor:

ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1968

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

สุขาภิบาลเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นหน่วยหนึ่ง ในการศึกษาค้นคว้าผู้เขียนได้พิจารณาถึงตัวบุคคล การดำเนินการบริหาร และผลของการบริหาร เพื่อทราบว่านายอำเภอมีความเหมาะสมกับการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสุขาภิบาลเพียงใด มีอุปสรรคอะไรที่ควรนำมาวิเคราะห์เพื่อแก้ไข โดยศึกษาจากตัวบทกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง และงานทางด้านปฏิบัติ
จากผลการศึกษาปรากฏว่านายอำเภอมีบทบาทสำคัญในสุขาภิบาล เพราะมีอำนาจเต็มที่ในด้านการบริหารและด้านนิติบัญญัติ การให้อำนาจนายอำเภอเช่นนี้ ผู้เขียนเห็นว่าเป็นผลดีแก่สุขาภิบาลหลายประการ คือ.- 1. ช่วยให้การบริหารงานรวดเร็วขึ้น 2. ตัดปัญหายุ่งยากในการตกลงใจดำเนินงาน และ 3. ประหยัด
แต่สำหรับในกรณีที่นายอำเภอต้องเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลหลายแห่งนั้นจะเป็นผลเสีย เพราะประธานฯ จะขาดความใกล้ชิดกับประชาชน ผู้เขียนเห็นว่าควรให้กำนันหรือข้าราชการครูที่มีความสามารถสูงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสุขาภิบาล ยกเว้นสุขาภิบาลอันเป็นที่ตั้งของที่ทำการอำเภอ คงให้นายอำเภอเป็นประธานกรรมการต่อไป การมอบอำนาจเช่นนี้จะทำให้การบริหารงานสุขาภิบาลแต่ละแห่งดำเนินไปได้เต็มที่ หัวหน้าหน่วยงานกับประชาชนในเขตนั้น ๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดความร่วมมือด้วยดี และจะเป็นผลดีในการเร่งรัดสร้างความเจริญ
ในตอนท้ายของวิทยานิพนธ์ผู้เขียนได้เสนอแนะว่า เนื่องจากกิจการของสุขาภิบาลมีน้อยสุขาภิบาลควรได้กำหนดหน้าที่อื่น ๆ เพิ่มขึ้น หรือแก้ไขให้อยู่ในดุลพินิจของประธานกรรมการสุขาภิบาลที่จะจัดให้มีขึ้นได้ กิจการใหม่ ๆ ที่ควรเพิ่มขึ้นคือ การบำรุงการศึกษา การจัดให้มีโรงพยาบาล การเทศพาณิชย์ เป็นต้น และเนื่องจากอำนาจการบริหารงานก็ดี อำนาจทางด้านนิติบัญญัติก็ดี ตกอยู่แก่นายอำเภอแทบทั้งสิ้น จึงควรจะได้มีการควบคุม โดยเฉพาะจากประชาชน โดยการเพิ่มกรรมการสุขาภิบาลที่ได้รับเลือกจากประชาชนให้มากขึ้น ให้อนุกรรมการสุขาภิบาลมีกรรมการที่ได้รับเลือกจากประชาชนร่วมด้วย 2 คน ให้มีการแพร่หลายผลงาน พร้อมทั้งสถิติตัวเลขต่าง ๆ ให้ประชาชนทราบเสมอ ตลอดจนให้กรรมการสุขาภิบาลที่มาจากราษฎรมีส่วนในการตรวจสอบบัญชีการเงินของสุขาภิบาลด้วยทุกครั้งที่มีการตรวจสอบ นอกจากนี้ควรแยกอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารออกจากกันอย่างเด็ดขาด โดยการมอบให้กรรมการสุขาภิบาลที่ได้รับเลือกตั้งจากราษฎรเป็นผู้ดำเนินการในการประชุมคณะกรรมการสุขาภิบาล ส่วนนายอำเภอซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสุขาภิบาลให้เข้าประชุมในฐานะกรรมการสุขาภิบาลตามธรรมดา ทั้งนี้จะเป็นการฝึกสอนประชาชนให้รู้จักใช้วิธีการและแนวความคิดในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยและทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถควบคุมการบริหารงานของประธานกรรมการสุขาภิบาลได้เต็มที่.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.

Subject(s):

นายอำเภอ

Keyword(s):

สุขาภิบาล

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

126 หน้า.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1141
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b10479ab.pdf ( 80.34 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b10479.pdf ( 3,330.76 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×