บทบาทของหัวหน้าส่วนแผนงานในการวางแผนองค์การบริหารส่วนจังหวัด
Publisher
Issued Date
1972
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
104 หน้า.
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สมชาย วัฒนา (1972). บทบาทของหัวหน้าส่วนแผนงานในการวางแผนองค์การบริหารส่วนจังหวัด. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1148.
Title
บทบาทของหัวหน้าส่วนแผนงานในการวางแผนองค์การบริหารส่วนจังหวัด
Alternative Title(s)
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของหัวหน้าส่วนแผนงานในการวางแผนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ศึกษาถึงปัญหาต่าง ๆ และการแก้ปัญหาเหล่านั้น จากการศึกษาบทบาทของหัวหน้าส่วนแผนงานในการวางแผนองค์การบริหารส่วนจังหวัดพบว่า ตามอำนาจหน้าที่แล้ว หัวหน้าส่วนแผนงานเป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญมากผู้หนึ่ง คือ ในการวางแผนเร่งรัดพัฒนาชนบท หัวหน้าส่วนแผนงานมีบทบาทในการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล จัดทำโครงการ จัดลำดับความสำคัญของโครงการ จัดทำงบประมาณเหล่านี้เป็นต้น แต่ในทางปฏิบัติปรากฏว่าหัวหน้าส่วนแผนงานยังมิได้มีบทบาทดังกล่าวเท่าใดนัก ส่วนใหญ่แล้วทำหน้าที่ด้านการติดต่อ รวบรวมโครงการและงานด้านธุรการ ทั้งนี้เพราะงานบริหารงานเร่งรัดพัฒนาชนบท มีลักษณะเป็นการบริหารงานของส่วนกลาง ลักษณะการจัดองค์การเพื่อการวางแผนพัฒนาระดับจังหวัดยังไม่เหมาะสม และคุณวุฒิ ประสบการณ์และอาวุโสในทางราชการของหัวหน้าส่วนแผนงานยังไม่พอเพียงที่จะปฏิบัติหน้าที่วางแผน
ผู้เขียนได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ 4 ประการคือ สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทควรกระจายอำนาจในการวางแผนให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพิ่มขึ้น ควรดำเนินการพัฒนาความสามารถในการวางแผนของหัวหน้าส่วนแผนงาน ควรมีการเปลี่ยนแปลงองค์การที่รับผิดชอบในการวางแผนพัฒนาระดับจังหวัด และควรมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการสำนักงานคณะกรรมการโครงการพัฒนาระดับจังหวัด
ผู้เขียนได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ 4 ประการคือ สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทควรกระจายอำนาจในการวางแผนให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพิ่มขึ้น ควรดำเนินการพัฒนาความสามารถในการวางแผนของหัวหน้าส่วนแผนงาน ควรมีการเปลี่ยนแปลงองค์การที่รับผิดชอบในการวางแผนพัฒนาระดับจังหวัด และควรมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการสำนักงานคณะกรรมการโครงการพัฒนาระดับจังหวัด
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2515.