• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปลาตะเพียนใบลาน : ศิลปะและภูมิปัญญาชาวบ้านในจังหวัดพระนครศรีอยุธยากับความอยู่รอดในระบบการตลาดแบบเสรี

by บุญส่ง เรศสันเทียะ

Title:

ปลาตะเพียนใบลาน : ศิลปะและภูมิปัญญาชาวบ้านในจังหวัดพระนครศรีอยุธยากับความอยู่รอดในระบบการตลาดแบบเสรี

Other title(s):

Platapienbailan : arts and intellects of people in Phanakorn Si Ayutthaya Province to survive in a free market system

Author(s):

บุญส่ง เรศสันเทียะ

Advisor:

จุรี วิจิตรวาทการ

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2010

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2010.4

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์เรื่องปลาตะเพียนใบลาน : ศิลปะและภูมิปัญญาชาวบ้านในจังหวัด พระนครศรีอยุธยากับความอยู่รอดในระบบการตลาดแบบเสริมวัตถุประสงค์เพื่อ(1) เพื่อศึกษาถึงภูมิหลังและความเป็นมาของปลาตะเพียนใบลาน (2) เพื่อศึกษาถึงการดำรงอยู่ในปัจจุบันของปลา ตะเพียนใบลาน (3) เพื่อศึกษาถึงแนวโน้มในอนาคตของปลาตะเพียนใบลาน โดยผู้วิจัยกำหนดขอบเขตการวิจัยเฉพาะปลาตะเพียนใบลานหัตถกรรมพื้นบ้านของ ชาวบ้านในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและกำหนดกลุ่มตัวอย่าง เฉพาะชาวบานในชุมชนหัวแหลม ตำบลท่าวาสุกรี อําเภอพระนครศรีอยุธยาเท่านั้นใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพQualitative Research) โดยใช้เครื่องมือวิจัยดังนี้การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องDocumentary Research) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) และการสัมภาษณ์บุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญ Key Informants Interviews) จากผลการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยและผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังกล่าว พบว่า 1) ปลาตะเพียนใบลานมีที่มาจากแนวคิดและความเชื่อของคนในสมัยโบราณว่า คนในภาคใต้ใช้ใบต้นจากหรือใบมะพร้าวสดมาสานเป็นรูปปลาผูกไว้ที่ปลายเสาหน้าบ้านของตน ในทุกครั้งที่คนในครอบครัวออกไปหาปลาในทะเลเพื่อบอกกล่าวขอให้พระเจ้าคุ้มครองให้ ปลอดภัยกลับมาบ้านแนวความเชื่อในพื้นที่แถบภาคกลางที่เชื่อว่าการสานปลาที่เลียนแบบรูปร่าง ของปลาตะเพียนพบมากในลุ่มแม่น้ำภาคกลางแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์และเจริญรุ่งเรืองนอกจากนั้นยังมีแนวความเชื่ออีกว่าการสานปลาแล้วนำมาแขวนไว้ เหนือเปลนอนของเด็กๆจะทํา ให้เด็กลี้ยงง่ายโตเร็วเหมือนปลาและการแขวนปลาสานยังช่วยป้องกันภูตผีไม่ให้มารบกวนเด็กๆ อีกด้วย 2) ชาวบ้านในชุมชนหัวแหลมที่ส่วนใหญ่เป็นมุสลิมสืบทอดงานฝี มือการทำปลาตะเพียนใบลานมาจากรุ่นพ่อแม่มายาวนานมากกว่า 200 ปีมาแล้วเมื่อก่อนทำขึ้นเพื่อแขวนประดับ บ้านเรือนให้สวยงาม ต่อมามีผู้นิยมซื้อปลาตะเพียนใบลานไปแขวนในบ้านมากขึ้นจึงมีผู้ที่ทําอาชีพ สานปลาตะเพียนใบลานจำหน่ายและมีการพัฒนารูปแบบลวดลายสีสันใหสวยงามขึ้นตามลำดับ ในปัจจุบันคนรุ่นใหมไม่นิยมทําปลาตะเพียนใบลาน 3) แนวโน้มในอนาคตจากผลการวิเคราะห์ปัจจยที่เกี่ยวข้องทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกปรากฏว่ามีแนวโน้มว่าปัจจยภายในทั้งผู้ผลิต วัตถุดิบ รายได้แหล่งจำหน่ายและราคาจำหน่าย รวมถึงปัจจัยภายนอกทั้งผู้บริโภค สินคาทดแทนค่านิยมสมัยใหม่นโยบายภาครัฐ และความเชื่อเกี่ยวกับปลาตะเพียนใบลานมีแนวโนมที่จะส่ง ผลให้หัตถกรรมการสานปลาตะเพียน ใบลานศิลปะและภูมิปัญญาของชาวบ้านในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไม่สามารถดำรงอยู่ได้และ อาจสูญหายไปจากสังคมไทยได้ในที่สุด ข้อเสนอแนะจากการศึกษา 1) ด้านผู้ผลิตปลาตะเพียนใบลาน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องต้องส่งเสริมให้ ประชาชนในพื้นที่ตระหนกถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ต้องอนุรักษ์ดูแลรักษาให้คงอยู่คู่สังคม ต่อไป ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมและ เพิ่ มรายได้ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ 2) ด้านวัตถุดิบที่ใช้ในการทําปลาตะเพียนใบลาน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ป่าไม้ต้องส่งเสริมให้มีการปลูกต้นลานทดแทนต้นลานตามธรรมชาติให้มากขึ้นและ ป้องกันการตัดทำลาย ต้นลานในธรรมชาติรวมถึงสร้างจิตสํานึกให้ประชาชนคำนึงถึงคุณค่าทาง ธรรมชาติของต้นลานต่อไป 3) ด้านผลิตภัณฑ์ ปลาตะเพียนใบลาน หน่วยงานด้านการส่งเสริมสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ต้องให้ความสำคัญกับการจัดทำนโยบายเกี่ยวกับสินค้าผลิตภัณฑ์ ชุมชน ที่มีอยู่เป็น จํานวนมากในแทบทุกพื้นที่ของประเทศไทยการส่งเสริมสินค้าชุมชนนอกจากเป็นการรักษาภูมิ ปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านทั่วไปแล้วยังเป็นการส่งเสริมอาชีพให้เกิดแก่ชุมชนประชาชนเพิ่มมาก ขึ้นอีกด้วย

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010

Subject(s):

ปลาตะเพียนใบลาน -- การตลาด
ธุรกิจชุมชน -- ไทย พระนครศรีอยุธยา
ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทย พระนครศรีอยุธยา
เครื่องจักสาน -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

179 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1152
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b166951.pdf ( 9,140.89 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×