ปลาตะเพียนใบลาน : ศิลปะและภูมิปัญญาชาวบ้านในจังหวัดพระนครศรีอยุธยากับความอยู่รอดในระบบการตลาดแบบเสรี
Files
Publisher
Issued Date
2010
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
179 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b166951
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
บุญส่ง เรศสันเทียะ (2010). ปลาตะเพียนใบลาน : ศิลปะและภูมิปัญญาชาวบ้านในจังหวัดพระนครศรีอยุธยากับความอยู่รอดในระบบการตลาดแบบเสรี. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1152.
Title
ปลาตะเพียนใบลาน : ศิลปะและภูมิปัญญาชาวบ้านในจังหวัดพระนครศรีอยุธยากับความอยู่รอดในระบบการตลาดแบบเสรี
Alternative Title(s)
Platapienbailan : arts and intellects of people in Phanakorn Si Ayutthaya Province to survive in a free market system
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์เรื่องปลาตะเพียนใบลาน : ศิลปะและภูมิปัญญาชาวบ้านในจังหวัด พระนครศรีอยุธยากับความอยู่รอดในระบบการตลาดแบบเสริมวัตถุประสงค์เพื่อ(1) เพื่อศึกษาถึงภูมิหลังและความเป็นมาของปลาตะเพียนใบลาน (2) เพื่อศึกษาถึงการดำรงอยู่ในปัจจุบันของปลา ตะเพียนใบลาน (3) เพื่อศึกษาถึงแนวโน้มในอนาคตของปลาตะเพียนใบลาน โดยผู้วิจัยกำหนดขอบเขตการวิจัยเฉพาะปลาตะเพียนใบลานหัตถกรรมพื้นบ้านของ ชาวบ้านในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและกำหนดกลุ่มตัวอย่าง เฉพาะชาวบานในชุมชนหัวแหลม ตำบลท่าวาสุกรี อําเภอพระนครศรีอยุธยาเท่านั้นใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพQualitative Research) โดยใช้เครื่องมือวิจัยดังนี้การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องDocumentary Research) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) และการสัมภาษณ์บุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญ Key Informants Interviews) จากผลการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยและผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังกล่าว พบว่า 1) ปลาตะเพียนใบลานมีที่มาจากแนวคิดและความเชื่อของคนในสมัยโบราณว่า คนในภาคใต้ใช้ใบต้นจากหรือใบมะพร้าวสดมาสานเป็นรูปปลาผูกไว้ที่ปลายเสาหน้าบ้านของตน ในทุกครั้งที่คนในครอบครัวออกไปหาปลาในทะเลเพื่อบอกกล่าวขอให้พระเจ้าคุ้มครองให้ ปลอดภัยกลับมาบ้านแนวความเชื่อในพื้นที่แถบภาคกลางที่เชื่อว่าการสานปลาที่เลียนแบบรูปร่าง ของปลาตะเพียนพบมากในลุ่มแม่น้ำภาคกลางแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์และเจริญรุ่งเรืองนอกจากนั้นยังมีแนวความเชื่ออีกว่าการสานปลาแล้วนำมาแขวนไว้ เหนือเปลนอนของเด็กๆจะทํา ให้เด็กลี้ยงง่ายโตเร็วเหมือนปลาและการแขวนปลาสานยังช่วยป้องกันภูตผีไม่ให้มารบกวนเด็กๆ อีกด้วย 2) ชาวบ้านในชุมชนหัวแหลมที่ส่วนใหญ่เป็นมุสลิมสืบทอดงานฝี มือการทำปลาตะเพียนใบลานมาจากรุ่นพ่อแม่มายาวนานมากกว่า 200 ปีมาแล้วเมื่อก่อนทำขึ้นเพื่อแขวนประดับ บ้านเรือนให้สวยงาม ต่อมามีผู้นิยมซื้อปลาตะเพียนใบลานไปแขวนในบ้านมากขึ้นจึงมีผู้ที่ทําอาชีพ สานปลาตะเพียนใบลานจำหน่ายและมีการพัฒนารูปแบบลวดลายสีสันใหสวยงามขึ้นตามลำดับ ในปัจจุบันคนรุ่นใหมไม่นิยมทําปลาตะเพียนใบลาน 3) แนวโน้มในอนาคตจากผลการวิเคราะห์ปัจจยที่เกี่ยวข้องทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกปรากฏว่ามีแนวโน้มว่าปัจจยภายในทั้งผู้ผลิต วัตถุดิบ รายได้แหล่งจำหน่ายและราคาจำหน่าย รวมถึงปัจจัยภายนอกทั้งผู้บริโภค สินคาทดแทนค่านิยมสมัยใหม่นโยบายภาครัฐ และความเชื่อเกี่ยวกับปลาตะเพียนใบลานมีแนวโนมที่จะส่ง ผลให้หัตถกรรมการสานปลาตะเพียน ใบลานศิลปะและภูมิปัญญาของชาวบ้านในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไม่สามารถดำรงอยู่ได้และ อาจสูญหายไปจากสังคมไทยได้ในที่สุด ข้อเสนอแนะจากการศึกษา 1) ด้านผู้ผลิตปลาตะเพียนใบลาน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องต้องส่งเสริมให้ ประชาชนในพื้นที่ตระหนกถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ต้องอนุรักษ์ดูแลรักษาให้คงอยู่คู่สังคม ต่อไป ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมและ เพิ่ มรายได้ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ 2) ด้านวัตถุดิบที่ใช้ในการทําปลาตะเพียนใบลาน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ป่าไม้ต้องส่งเสริมให้มีการปลูกต้นลานทดแทนต้นลานตามธรรมชาติให้มากขึ้นและ ป้องกันการตัดทำลาย ต้นลานในธรรมชาติรวมถึงสร้างจิตสํานึกให้ประชาชนคำนึงถึงคุณค่าทาง ธรรมชาติของต้นลานต่อไป 3) ด้านผลิตภัณฑ์ ปลาตะเพียนใบลาน หน่วยงานด้านการส่งเสริมสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ต้องให้ความสำคัญกับการจัดทำนโยบายเกี่ยวกับสินค้าผลิตภัณฑ์ ชุมชน ที่มีอยู่เป็น จํานวนมากในแทบทุกพื้นที่ของประเทศไทยการส่งเสริมสินค้าชุมชนนอกจากเป็นการรักษาภูมิ ปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านทั่วไปแล้วยังเป็นการส่งเสริมอาชีพให้เกิดแก่ชุมชนประชาชนเพิ่มมาก ขึ้นอีกด้วย
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010