ปัจจัยความสำเร็จในการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน : ศึกษากรณี ตำบลนิคมกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
Publisher
Issued Date
2010
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
122 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b166702
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ภูริปัญญา เกิดศรี (2010). ปัจจัยความสำเร็จในการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน : ศึกษากรณี ตำบลนิคมกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1153.
Title
ปัจจัยความสำเร็จในการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน : ศึกษากรณี ตำบลนิคมกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
Alternative Title(s)
Factors affecting the success in application of sufficiency economy philosophy in the agriculturl reformed area : a case study of Tambon Nikom Krasiew, Danchang District, Supanburi Province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของความสำเร็จในการประยุกต์ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดินต บลนิคมกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี2) เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดินตำบลนิคมกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 3) เพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร วิธีการศึกษาการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบตัดขวาง (Cross-Sectional Study) โดยใช้การ วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประกอบกนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์มากขึ้น และเจาะลึกในประเด็นสำคัญ ใช้การสนทนากลุ่มกับ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้นำชุมชน ผู้นำเกษตรกร และเกษตรกรที่เกี่ยวข้อง และใช้วิธีการรวบรวม ข้อมูลจากแบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษานี้ คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมในการประยุกต์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งประชากร 601 คน ได้กลุ่มตัวอยางจำนวน 250 คน การสุ่มตัวอย่างของการวิจัยนี้ใช้การสุ่มตัวอยางตามโอกาสหรือความ่าจะเป็ น (Probability Sampling) โดยใช้การสุ่มตัวอยางแบบง่าย และการสุ่มตัวอยางแบบโควต้าหรือการเก็บข้อมูลจากตัวอยางที่ตรง กับเงื่อนไขจนกระทั้งครบจำนวนที่กำหนดไว้ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ เฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้วิจัยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอยางจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้นำชุมชน ผู้นำเกษตรกรและเกษตรกร รวมทั้งสิ้น 10 คน ใช้โปรแกรม SPSS for Window สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ความแตกต่างของ ร้อยละ ไคสแควร์ (Chi-Square) Gamma (G) และ Multiple Regression ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัย ส่วนบุคคลไม่มีผลไม่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญมีความคิดเห็นว่าความสำเร็จในการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขึ้นอยู่ ภาวะผู้นำของผู้นำชุมชนและผู้นำเกษตรกร 3) ตัวแปรที่มีผลตอความสำเร็จในการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกจพอเพียง ภาวะผู้นำความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันระหว่างเกษตรกร การประสานงาน การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐเมื่อวัดด้วยสถิติที่ใช้วัดความแกร่งของความสำพันธ์ G พบว่าตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับความร่วมมือ ความร่วมมือกบความรู้ การสนับสนุนกับการ ประสานงาน การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับความรู้ การประสานงานกบความร่วมมือ ความร่วมมือ ความสำเร็จ ความรู้กับความสำเร็จ การแลกเปลี่ยนกับความสำเร็จ การสนับสนุนกับความรวมมือ การประสานงานกับความรู้ การประสานงานกับความสำเร็จ การสนับสนุนกบภาวะผู้นำ การประสานงานกับการแลกเปลี่ยน การสนับสนุนกับความสำเร็จ การประสานงานกับภาวะผู้นำ การสนับสนุนกับความรู้ การสนับสนุนกับการแลกเปลี่ยน ภาวะผู้นำกับความสำเร็จ ความร่วมมือกับภาวะ ผู้นำ ภาวะผู้นำกับความรู้ และการแลกเปลี่ยนกับภาวะผู้นำโดยมีค่าความสัมพันธ์ เท่ากับ .895 .879 .844 .843 .801 .783 .782 .780 .779 .773 .772 .770 .752 .735 .727 .719 .700 .624 .610 .530 และ.476 ตามล าดับ 4) ตัวแปรที่ใช้เป็นตัวพยากรณ์ในการอธิบายความสำเร็จในการประยุกต์ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน มี 4 ตัวแปร ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 นั่นคือเมื่อวัดจากคสัมประสิทธิถดถอยพหุ ) ซึ่งพยากรณ์ความสำเร็จในการประยุกต์ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงได้ดีที่สุดและมีผลในทางบวกต่อความสำเร็จในการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ได้แก่ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจ ภาวะผู้นำ และการประสานงาน เรียงตามลำดับความสำคัญ ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม และการสนับสนุนจากหน่วยงาน ภาครัฐไม่สัมพันธ์และไม่ในการอธิบายความสำเร็จในการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตัวแปรอิสระทั้งหมดอธิบายความสำเร็จในการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประมาณร้อยละ 72.5 ( =.725) ข้อเสนอแนะของเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน เขตปฏิรูปที่ดิน คือ 1) จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ที่สนใจหรือกลุ่มเป้าหมายอย่างจริงจัง 2) ภาครัฐควรมีความต่อเนื่องในการให้ความสนับสนุน และตอบสนองความต้องการและภูมิปัญญา ของชุมชน 3) จะต้องมีการวางแผนรวมกนของหน่วยงานต่างๆ และมีการทำงานรวมกนเชิงบูรณาการ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยครังนีคือ 1) ควรสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแกผู้ที่สนใจหรือ กลุมเป้าหมายอื่นดำเนินงาน2)ภาครัฐควรมีความต่อเนื่องในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน อย่างจริงจัง3)การสนับสนุนและการทำงานของภาครัฐจะต้องยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010