ปัญหาการบริหารงานโภชนาการของประเทศไทย
Publisher
Issued Date
1968
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
188 หน้า.
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
เบญจวรรณ รัชดานุรักษ์ (1968). ปัญหาการบริหารงานโภชนาการของประเทศไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1158.
Title
ปัญหาการบริหารงานโภชนาการของประเทศไทย
Alternative Title(s)
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
เนื่องจากงานโภชนาการเป็นงานที่มีขอบเขตกว้างขวาง นอกจากเป็นการดำเนินงานของหน่วยราชการฝ่ายต่าง ๆ แล้ว ยังครอบคลุมไปถึงการดำเนินงานของหน่วยงานเอกชน ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศ และองค์การต่างประเทศอีกหลายหน่วย ผู้เขียนวิทยานิพนธ์จะได้จำกัดขอบเขตการศึกษาโดยพิจารณาเป็นพิเศษในเรื่องปัญหาการประสานงานโภชนาการระหว่างกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากผลการศึกษาปรากฏว่าสำหรับประเทศไทย มีการดำเนินงานด้านโภชนาการอยู่ในหน่วยราชการหลายหน่วย โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตร กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย แต่งานนี้ยังไม่เกิดผลเป็นที่พอใจ เพราะยังขาดการประสานงานที่ดีระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทำให้เกิดปัญหาทำงานซ้ำซ้อนและก้าวก่ายกันอยู่หลายแห่ง และปัญหานี้เป็นมูลฐานก่อให้เกิดปัญหาด้านอื่น ๆ ตามมาอีกหลายประการ คือ การขาดนโยบายโภชนาการแห่งชาติที่เหมาะสมและเป็นนโยบายร่วม และการขาดองค์การกลางเพื่อประสานงานโภชนาการที่มีประสิทธิภาพดี
ผู้เขียนได้ให้ข้อสังเกตในการพิจารณาหาลู่ทางแก้ปัญหาไว้สามประการพร้อมกับให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา โดยให้มีการกำหนดนโยบายโภชนาการแห่งชาติ เพื่อให้เกิดการประสานงานในโยบายของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นเครื่องแสดงถึงเจตนาของรัฐบาลในการบริหารงานด้านโภชนาการ ซึ่งจะเป็นแนวทางให้มีการกำหนดแผนงานที่แน่นอน นอกจากนี้ผู้เขียนได้เสนอให้กำหนดแผนงานโภชนาการแห่งชาติอย่างละเอียดรอบคอบ แล้วบรรจุลงไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อเป็นหลักประกันว่าการดำเนินงานจะเป็นไปโดยสะดวกราบรื่นและต่อเนื่องกัน ในด้านการปรับปรุงคณะกรรมการโภชนาการแห่งชาติก็จะดำเนินการทั้งในด้านโครงร่างและกลไกการบริหาร ตลอดจนตัวบุคคลที่ประกอบขึ้นเป็นคณะกรรมการ คณะกรรมการนี้ควรมีอำนาจและถือเป็นหน้าที่อันสำคัญในการจัดตั้งหน่วยประสานงานโภชนาการในทุกท้องถิ่น เพื่อให้งานโภชนาการสามารถบริหารได้โดยมีความเชื่อมโยง เกี่ยวพัน และสอดคล้องกันไปทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับปฏิบัติการด้วย.
ผู้เขียนได้ให้ข้อสังเกตในการพิจารณาหาลู่ทางแก้ปัญหาไว้สามประการพร้อมกับให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา โดยให้มีการกำหนดนโยบายโภชนาการแห่งชาติ เพื่อให้เกิดการประสานงานในโยบายของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นเครื่องแสดงถึงเจตนาของรัฐบาลในการบริหารงานด้านโภชนาการ ซึ่งจะเป็นแนวทางให้มีการกำหนดแผนงานที่แน่นอน นอกจากนี้ผู้เขียนได้เสนอให้กำหนดแผนงานโภชนาการแห่งชาติอย่างละเอียดรอบคอบ แล้วบรรจุลงไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อเป็นหลักประกันว่าการดำเนินงานจะเป็นไปโดยสะดวกราบรื่นและต่อเนื่องกัน ในด้านการปรับปรุงคณะกรรมการโภชนาการแห่งชาติก็จะดำเนินการทั้งในด้านโครงร่างและกลไกการบริหาร ตลอดจนตัวบุคคลที่ประกอบขึ้นเป็นคณะกรรมการ คณะกรรมการนี้ควรมีอำนาจและถือเป็นหน้าที่อันสำคัญในการจัดตั้งหน่วยประสานงานโภชนาการในทุกท้องถิ่น เพื่อให้งานโภชนาการสามารถบริหารได้โดยมีความเชื่อมโยง เกี่ยวพัน และสอดคล้องกันไปทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับปฏิบัติการด้วย.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.