ปัญหาการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษาแห่งชาติ : ศึกษาเฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย
Publisher
Issued Date
1966
Issued Date (B.E.)
2509
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
155 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ประยูร ศรีประสาธน์ (1966). ปัญหาการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษาแห่งชาติ : ศึกษาเฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1160.
Title
ปัญหาการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษาแห่งชาติ : ศึกษาเฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย
Alternative Title(s)
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การปฏิบัติงานในหน้าที่ของสภาการศึกษาส่วนใหญ่มุ่งเน้นหนักไปทางด้านการปฏิบัติงานให้แก่มหาวิทยาลัย แต่ผลปรากฏว่าสภาการศึกษาแห่งชาติหาได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่กฎหมายบัญญัติกำหนดอำนาจหน้าที่ไม่ ผู้เขียนจึงได้นำเรื่องนี้มาศึกษาค้นคว้า และก็ปรากฏว่ามีปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ คือ.-
1. ปัญหาที่เกี่ยวกับเสรีภาพทางด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย กล่าวคือ แต่เดิมสภาการศึกษาควบคุมมหาวิทยาลัยโดยพิจารณารายละเอียดมากเกินไปทำให้ก้าวก่ายเสรีภาพด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย ทางมหาวิทยาลัยจึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือ ต่อมาสภาการศึกษาเปลี่ยนแนวทางใหม่จึงให้ได้รับความร่วมมือมากขึ้นกว่าเดิม
2. ปัญหาเกี่ยวกับข้อกฎหมาย ทั้งนี้เนื่องจาก พ.ร.บ. สภาการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งกำหนดหน้าที่บางประการให้แก่สภาการศึกษาแห่งชาติ ยังมีข้อบกพร่องอยู่ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งสภาการศึกษาแห่งชาติ เพื่อควบคุมมาตรฐานการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย.
3. ปัญหาที่เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษาแห่งชาติ กล่าวคือ แม้สภาการศึกษาจะมีหน้าที่ในการพิจารณาจัดตั้ง ยุบ รวม และเลิกล้มมหาวิทยาลัย หรือพิจารณาอนุมัติการจัดตั้ง ยุบ รวม และเลิกล้มคณะหรือแผนกวิชาในมหาวิทยาลัย แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บางกรณีมหาวิทยาลัยเจ้าของเรื่องจะส่งเรื่องไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อให้ ค.ร.ม. พิจารณาโดยตรง ซึ่งเป็นการทำงานก้าวก่ายกัน
4. ปัญหาเกี่ยวกับนโยบายการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ปัจจุบันยังมิได้มีการกำหนดนโยบาย และความมุ่งหมายในการจัดการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของชาติให้เป็นที่แน่นอน ทำให้แต่ละมหาวิทยาลัยจัดดำเนินการศึกษาหรือขยายการศึกษากันเองโดยไม่มีการติดต่อประสานงานซึ่งกันและกัน ควรจะได้มีการวางแผนอุดมศึกษาระดับชาติขึ้นเพื่อกำหนดเป้าหมายของการศึกษาระดับนี้ให้ชัดแจ้งแน่นอน
5. ปัญหาเกี่ยวกับการประสานงาน ซึ่งสภาการศึกษาควรจะริเริ่มขอความร่วมมือประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยราชการอื่น เช่น สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ สำนักงบประมาณ กรมวิเทศสหการ กับมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง.
6. ปัญหาเกี่ยวกับข้อมูล สภาการศึกษาควรจะได้รวบรวมข้อมูลอย่างสมบูรณ์เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานมหาวิทยาลัยต่าง ๆ.
7. ปัญหาเกี่ยวกับอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของสภาการศึกษาไม่ได้ส่วนกับปริมาณงาน ควรจะได้มีการพิจารณาเพิ่มอัตรากำลังโดยให้คณะที่ปรึกษาระเบียบบริหารของนายกรัฐมนตรีพิจารณาแบ่งส่วนราชการและจัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่สำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติ.
1. ปัญหาที่เกี่ยวกับเสรีภาพทางด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย กล่าวคือ แต่เดิมสภาการศึกษาควบคุมมหาวิทยาลัยโดยพิจารณารายละเอียดมากเกินไปทำให้ก้าวก่ายเสรีภาพด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย ทางมหาวิทยาลัยจึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือ ต่อมาสภาการศึกษาเปลี่ยนแนวทางใหม่จึงให้ได้รับความร่วมมือมากขึ้นกว่าเดิม
2. ปัญหาเกี่ยวกับข้อกฎหมาย ทั้งนี้เนื่องจาก พ.ร.บ. สภาการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งกำหนดหน้าที่บางประการให้แก่สภาการศึกษาแห่งชาติ ยังมีข้อบกพร่องอยู่ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งสภาการศึกษาแห่งชาติ เพื่อควบคุมมาตรฐานการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย.
3. ปัญหาที่เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษาแห่งชาติ กล่าวคือ แม้สภาการศึกษาจะมีหน้าที่ในการพิจารณาจัดตั้ง ยุบ รวม และเลิกล้มมหาวิทยาลัย หรือพิจารณาอนุมัติการจัดตั้ง ยุบ รวม และเลิกล้มคณะหรือแผนกวิชาในมหาวิทยาลัย แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บางกรณีมหาวิทยาลัยเจ้าของเรื่องจะส่งเรื่องไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อให้ ค.ร.ม. พิจารณาโดยตรง ซึ่งเป็นการทำงานก้าวก่ายกัน
4. ปัญหาเกี่ยวกับนโยบายการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ปัจจุบันยังมิได้มีการกำหนดนโยบาย และความมุ่งหมายในการจัดการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของชาติให้เป็นที่แน่นอน ทำให้แต่ละมหาวิทยาลัยจัดดำเนินการศึกษาหรือขยายการศึกษากันเองโดยไม่มีการติดต่อประสานงานซึ่งกันและกัน ควรจะได้มีการวางแผนอุดมศึกษาระดับชาติขึ้นเพื่อกำหนดเป้าหมายของการศึกษาระดับนี้ให้ชัดแจ้งแน่นอน
5. ปัญหาเกี่ยวกับการประสานงาน ซึ่งสภาการศึกษาควรจะริเริ่มขอความร่วมมือประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยราชการอื่น เช่น สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ สำนักงบประมาณ กรมวิเทศสหการ กับมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง.
6. ปัญหาเกี่ยวกับข้อมูล สภาการศึกษาควรจะได้รวบรวมข้อมูลอย่างสมบูรณ์เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานมหาวิทยาลัยต่าง ๆ.
7. ปัญหาเกี่ยวกับอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของสภาการศึกษาไม่ได้ส่วนกับปริมาณงาน ควรจะได้มีการพิจารณาเพิ่มอัตรากำลังโดยให้คณะที่ปรึกษาระเบียบบริหารของนายกรัฐมนตรีพิจารณาแบ่งส่วนราชการและจัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่สำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติ.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509.