dc.contributor.advisor | ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา | th |
dc.contributor.author | ประยูร ศรีประสาธน์ | th |
dc.date.accessioned | 2014-05-05T09:17:35Z | |
dc.date.available | 2014-05-05T09:17:35Z | |
dc.date.issued | 1966 | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1160 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509. | th |
dc.description.abstract | การปฏิบัติงานในหน้าที่ของสภาการศึกษาส่วนใหญ่มุ่งเน้นหนักไปทางด้านการปฏิบัติงานให้แก่มหาวิทยาลัย แต่ผลปรากฏว่าสภาการศึกษาแห่งชาติหาได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่กฎหมายบัญญัติกำหนดอำนาจหน้าที่ไม่ ผู้เขียนจึงได้นำเรื่องนี้มาศึกษาค้นคว้า และก็ปรากฏว่ามีปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ คือ.- | th |
dc.description.abstract | 1. ปัญหาที่เกี่ยวกับเสรีภาพทางด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย กล่าวคือ แต่เดิมสภาการศึกษาควบคุมมหาวิทยาลัยโดยพิจารณารายละเอียดมากเกินไปทำให้ก้าวก่ายเสรีภาพด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย ทางมหาวิทยาลัยจึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือ ต่อมาสภาการศึกษาเปลี่ยนแนวทางใหม่จึงให้ได้รับความร่วมมือมากขึ้นกว่าเดิม | th |
dc.description.abstract | 2. ปัญหาเกี่ยวกับข้อกฎหมาย ทั้งนี้เนื่องจาก พ.ร.บ. สภาการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งกำหนดหน้าที่บางประการให้แก่สภาการศึกษาแห่งชาติ ยังมีข้อบกพร่องอยู่ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งสภาการศึกษาแห่งชาติ เพื่อควบคุมมาตรฐานการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย. | th |
dc.description.abstract | 3. ปัญหาที่เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษาแห่งชาติ กล่าวคือ แม้สภาการศึกษาจะมีหน้าที่ในการพิจารณาจัดตั้ง ยุบ รวม และเลิกล้มมหาวิทยาลัย หรือพิจารณาอนุมัติการจัดตั้ง ยุบ รวม และเลิกล้มคณะหรือแผนกวิชาในมหาวิทยาลัย แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บางกรณีมหาวิทยาลัยเจ้าของเรื่องจะส่งเรื่องไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อให้ ค.ร.ม. พิจารณาโดยตรง ซึ่งเป็นการทำงานก้าวก่ายกัน | th |
dc.description.abstract | 4. ปัญหาเกี่ยวกับนโยบายการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ปัจจุบันยังมิได้มีการกำหนดนโยบาย และความมุ่งหมายในการจัดการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของชาติให้เป็นที่แน่นอน ทำให้แต่ละมหาวิทยาลัยจัดดำเนินการศึกษาหรือขยายการศึกษากันเองโดยไม่มีการติดต่อประสานงานซึ่งกันและกัน ควรจะได้มีการวางแผนอุดมศึกษาระดับชาติขึ้นเพื่อกำหนดเป้าหมายของการศึกษาระดับนี้ให้ชัดแจ้งแน่นอน | th |
dc.description.abstract | 5. ปัญหาเกี่ยวกับการประสานงาน ซึ่งสภาการศึกษาควรจะริเริ่มขอความร่วมมือประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยราชการอื่น เช่น สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ สำนักงบประมาณ กรมวิเทศสหการ กับมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง. | th |
dc.description.abstract | 6. ปัญหาเกี่ยวกับข้อมูล สภาการศึกษาควรจะได้รวบรวมข้อมูลอย่างสมบูรณ์เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานมหาวิทยาลัยต่าง ๆ. | th |
dc.description.abstract | 7. ปัญหาเกี่ยวกับอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของสภาการศึกษาไม่ได้ส่วนกับปริมาณงาน ควรจะได้มีการพิจารณาเพิ่มอัตรากำลังโดยให้คณะที่ปรึกษาระเบียบบริหารของนายกรัฐมนตรีพิจารณาแบ่งส่วนราชการและจัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่สำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติ. | th |
dc.format.extent | 155 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.subject | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ | th |
dc.subject.lcc | LB 2341 ป17 | th |
dc.subject.other | สถาบันอุดมศึกษา -- ไทย | th |
dc.title | ปัญหาการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษาแห่งชาติ : ศึกษาเฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย | th |
dc.type | Text | th |
dcterms.accessRights | สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น | th |
dc.rights.holder | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
mods.genre | Thesis | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | en |
thesis.degree.name | พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต | en |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | th |
thesis.degree.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ | th |