• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัญหาการปฏิบัติตามโครงการทำบัตรประจำตัวประชาชน

by ประกิต เทพชนะ

Title:

ปัญหาการปฏิบัติตามโครงการทำบัตรประจำตัวประชาชน

Author(s):

ประกิต เทพชนะ

Advisor:

ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1966

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การออกพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อให้ราษฎรได้มีหลักฐานไว้แสดงตนเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและผลประโยชน์ของราษฎร และเพื่อสะดวกแก่การตรวจตราควบคุมการแทรกซึมของลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่การที่ประชาชนไปติดต่อขอทำบัตรกับเจ้าหน้าที่มักจะปรากฏว่าไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร เช่น เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานล่าช้า ระเบียบการปฏิบัติงานยุ่งยาก มีระเบียบและพิธีการมากเกินไป และผลงานที่ออกมาก็มีประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร เครื่องมือเครื่องใช้ของเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ปริมาณงานไม่สัมพันธ์กับเวลาเป็นต้น ผู้เขียนจึงสนใจที่จะศึกษาเรื่องนี้ เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการวางโครงการดำเนินการเตรียมงาน การจัดองค์การบริหารงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ระเบียบการปฏิบัติงาน และอุปสรรคต่าง ๆ ในการบริหาร เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนดำเนินไปด้วยดี มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จากการศึกษาผู้เขียนมีความเห็นว่า การออกบัตรประจำตัวประชาชนไม่อาจป้องกันและปราบปรามการแทรกซึมคอมมิวนิสต์ได้ เพราะสาเหตุที่คนจะเป็นคอมมิวนิสต์หรือนิยมคอมมิวนิสต์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีบัตรหรือไม่มี แต่ขึ้นอยู่กับปัญหาและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ความยากจน ความอยุติธรรม การขาดการศึกษา และการปล่อยปละละเลยของรัฐบาลในการส่งเสริมฐานะความเป็นอยู่ อย่างไรก็ดีเมื่อรัฐบาลดำเนินการออกบัตรประชาชนแล้วปรากฏว่าไม่ได้มีการเตรียมแผนปฏิบัติงานไว้อย่างละเอียดในเรื่องเงิน คน วัสดุ ตลอดจนไม่ได้ศึกษาถึงวิธีการออกบัตร รูปลักษณะของบัตรที่ดี ข้อความในบัตรขาดสาระสำคัญและขาดลายพิมพ์นิ้วมือ นอกจากนั้นการรวมอำนาจไว้ในส่วนกลางมากไป โดยให้ส่วนกลางออกบัตรแต่แห่งเดียว ไม่มอบอำนาจให้ส่วนภูมิภาค ทำให้การบริหารงานล่าช้า สิ้นเปลืองเงิน เวลา และวัตถุ ผู้เขียนได้เสนอแนะข้อแก้ไขไว้ 7 ประการ คือ.-
1. นโยบายการออกบัตรประชาชนไม่ควรเป็นนโยบายบังคับ.
2. ควรให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเจ้าพนักงานออกบัตรและดำเนินกิจการเกี่ยวกับการออกบัตรภายในจังหวัด ส่วนกลางควรทำหน้าที่วางนโยบายประสานงาน ตรวจตราให้คำปรึกษาแนะนำ ช่วยฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ เป็นต้น
3. ควรยกเลิกข้อกำหนดที่ว่า ให้เจ้าหน้าที่ตรวจบัตรประชาชนได้ทุกเวลา.
4. ค่าธรรมเนียมการขอมีบัตรควรลดลงอีก และควรยกเว้นบุคคลที่ยากจน
5. กล้องถ่ายรูปขอมีบัตรควรใช้กล้องที่มีคุณภาพสูง อัตโนมัติ
6. โครงการออกบัตรใหม่ปี 2512 - 2514 ควรมีการเขียนคำร้องไว้ล่วงหน้า.
7. ควรเพิ่มข้อความในบัตรประชาชน อันเป็นสาระสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิสูจน์ให้มากขึ้น เช่น สถานที่เกิด อาชีพ ชื่อบิดามารดา ตำหนิ ลายพิมพ์นิ้วมือทั้งสองข้าง.

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509.

Subject(s):

บัตรประชาชน -- ไทย

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

145 หน้า.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1161
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b6505ab.pdf ( 74.42 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b6505.pdf ( 3,315.09 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×