ปัญหาการปฏิบัติตามโครงการทำบัตรประจำตัวประชาชน
Publisher
Issued Date
1966
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
145 หน้า.
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ประกิต เทพชนะ (1966). ปัญหาการปฏิบัติตามโครงการทำบัตรประจำตัวประชาชน. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1161.
Title
ปัญหาการปฏิบัติตามโครงการทำบัตรประจำตัวประชาชน
Alternative Title(s)
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การออกพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อให้ราษฎรได้มีหลักฐานไว้แสดงตนเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและผลประโยชน์ของราษฎร และเพื่อสะดวกแก่การตรวจตราควบคุมการแทรกซึมของลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่การที่ประชาชนไปติดต่อขอทำบัตรกับเจ้าหน้าที่มักจะปรากฏว่าไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร เช่น เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานล่าช้า ระเบียบการปฏิบัติงานยุ่งยาก มีระเบียบและพิธีการมากเกินไป และผลงานที่ออกมาก็มีประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร เครื่องมือเครื่องใช้ของเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ปริมาณงานไม่สัมพันธ์กับเวลาเป็นต้น ผู้เขียนจึงสนใจที่จะศึกษาเรื่องนี้ เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการวางโครงการดำเนินการเตรียมงาน การจัดองค์การบริหารงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ระเบียบการปฏิบัติงาน และอุปสรรคต่าง ๆ ในการบริหาร เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนดำเนินไปด้วยดี มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จากการศึกษาผู้เขียนมีความเห็นว่า การออกบัตรประจำตัวประชาชนไม่อาจป้องกันและปราบปรามการแทรกซึมคอมมิวนิสต์ได้ เพราะสาเหตุที่คนจะเป็นคอมมิวนิสต์หรือนิยมคอมมิวนิสต์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีบัตรหรือไม่มี แต่ขึ้นอยู่กับปัญหาและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ความยากจน ความอยุติธรรม การขาดการศึกษา และการปล่อยปละละเลยของรัฐบาลในการส่งเสริมฐานะความเป็นอยู่ อย่างไรก็ดีเมื่อรัฐบาลดำเนินการออกบัตรประชาชนแล้วปรากฏว่าไม่ได้มีการเตรียมแผนปฏิบัติงานไว้อย่างละเอียดในเรื่องเงิน คน วัสดุ ตลอดจนไม่ได้ศึกษาถึงวิธีการออกบัตร รูปลักษณะของบัตรที่ดี ข้อความในบัตรขาดสาระสำคัญและขาดลายพิมพ์นิ้วมือ นอกจากนั้นการรวมอำนาจไว้ในส่วนกลางมากไป โดยให้ส่วนกลางออกบัตรแต่แห่งเดียว ไม่มอบอำนาจให้ส่วนภูมิภาค ทำให้การบริหารงานล่าช้า สิ้นเปลืองเงิน เวลา และวัตถุ ผู้เขียนได้เสนอแนะข้อแก้ไขไว้ 7 ประการ คือ.-
1. นโยบายการออกบัตรประชาชนไม่ควรเป็นนโยบายบังคับ.
2. ควรให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเจ้าพนักงานออกบัตรและดำเนินกิจการเกี่ยวกับการออกบัตรภายในจังหวัด ส่วนกลางควรทำหน้าที่วางนโยบายประสานงาน ตรวจตราให้คำปรึกษาแนะนำ ช่วยฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ เป็นต้น
3. ควรยกเลิกข้อกำหนดที่ว่า ให้เจ้าหน้าที่ตรวจบัตรประชาชนได้ทุกเวลา.
4. ค่าธรรมเนียมการขอมีบัตรควรลดลงอีก และควรยกเว้นบุคคลที่ยากจน
5. กล้องถ่ายรูปขอมีบัตรควรใช้กล้องที่มีคุณภาพสูง อัตโนมัติ
6. โครงการออกบัตรใหม่ปี 2512 - 2514 ควรมีการเขียนคำร้องไว้ล่วงหน้า.
7. ควรเพิ่มข้อความในบัตรประชาชน อันเป็นสาระสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิสูจน์ให้มากขึ้น เช่น สถานที่เกิด อาชีพ ชื่อบิดามารดา ตำหนิ ลายพิมพ์นิ้วมือทั้งสองข้าง.
จากการศึกษาผู้เขียนมีความเห็นว่า การออกบัตรประจำตัวประชาชนไม่อาจป้องกันและปราบปรามการแทรกซึมคอมมิวนิสต์ได้ เพราะสาเหตุที่คนจะเป็นคอมมิวนิสต์หรือนิยมคอมมิวนิสต์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีบัตรหรือไม่มี แต่ขึ้นอยู่กับปัญหาและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ความยากจน ความอยุติธรรม การขาดการศึกษา และการปล่อยปละละเลยของรัฐบาลในการส่งเสริมฐานะความเป็นอยู่ อย่างไรก็ดีเมื่อรัฐบาลดำเนินการออกบัตรประชาชนแล้วปรากฏว่าไม่ได้มีการเตรียมแผนปฏิบัติงานไว้อย่างละเอียดในเรื่องเงิน คน วัสดุ ตลอดจนไม่ได้ศึกษาถึงวิธีการออกบัตร รูปลักษณะของบัตรที่ดี ข้อความในบัตรขาดสาระสำคัญและขาดลายพิมพ์นิ้วมือ นอกจากนั้นการรวมอำนาจไว้ในส่วนกลางมากไป โดยให้ส่วนกลางออกบัตรแต่แห่งเดียว ไม่มอบอำนาจให้ส่วนภูมิภาค ทำให้การบริหารงานล่าช้า สิ้นเปลืองเงิน เวลา และวัตถุ ผู้เขียนได้เสนอแนะข้อแก้ไขไว้ 7 ประการ คือ.-
1. นโยบายการออกบัตรประชาชนไม่ควรเป็นนโยบายบังคับ.
2. ควรให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเจ้าพนักงานออกบัตรและดำเนินกิจการเกี่ยวกับการออกบัตรภายในจังหวัด ส่วนกลางควรทำหน้าที่วางนโยบายประสานงาน ตรวจตราให้คำปรึกษาแนะนำ ช่วยฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ เป็นต้น
3. ควรยกเลิกข้อกำหนดที่ว่า ให้เจ้าหน้าที่ตรวจบัตรประชาชนได้ทุกเวลา.
4. ค่าธรรมเนียมการขอมีบัตรควรลดลงอีก และควรยกเว้นบุคคลที่ยากจน
5. กล้องถ่ายรูปขอมีบัตรควรใช้กล้องที่มีคุณภาพสูง อัตโนมัติ
6. โครงการออกบัตรใหม่ปี 2512 - 2514 ควรมีการเขียนคำร้องไว้ล่วงหน้า.
7. ควรเพิ่มข้อความในบัตรประชาชน อันเป็นสาระสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิสูจน์ให้มากขึ้น เช่น สถานที่เกิด อาชีพ ชื่อบิดามารดา ตำหนิ ลายพิมพ์นิ้วมือทั้งสองข้าง.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509.