• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

พัฒนาการและบทบาททางการเมืองของกลุ่มธุรกิจการเมืองในประเทศไทย

by สิทธิโชค ลางคุลานนท์

Title:

พัฒนาการและบทบาททางการเมืองของกลุ่มธุรกิจการเมืองในประเทศไทย

Other title(s):

The development and political role of political business group in Thailand

Author(s):

สิทธิโชค ลางคุลานนท์

Advisor:

อัญชนา ณ ระนอง

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2009

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2009.5

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์และขอบเขตเพื่อศึกษาถึงพัฒนาการ บทบาททางการเมือง และผลกระทบ ทางการเมืองจากกลุ่มธุรกิจการเมือง ที่มีต่อ พรรคการเมือง รัฐสภา นโยบาย สาธารณะ และโครงการต่างๆ ของรัฐ โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีทางด้านสังคมและการเมือง รวมทั้งด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองเป็นแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์ การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูล จาก เอกสาร วิชาการ บทความ ตำรา หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจการเมือง และนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบจากแต่ละแหล่งข้อมูล จากนั้นจึงทำการศึกษาตามประเด็นที่ได้ กำหนดไว้ และนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบในประเด็นเหล่านั้นเพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการ บทบาท ทางการเมืองของกลุ่มธุรกิจการเมือง ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่เป็น ภาพรวมของกลุ่มธุรกิจการเมืองภายในประเทศ ผลการศึกษากลุ่มธุรกิจการเมืองในประเทศไทย พบว่า กลุ่มธุรกิจการเมืองเกิด ขึ้นใน ประเทศไทย ด้วยเหตุผลทางโครงสร้าง และความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างอำนาจทางการเมือง และอำนาจทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วยชนชั้นนำทางการเมือง และชนชั้นนำทางเศรษฐกิจ ซึ่งทั้ง สองกลุ่มมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ดี ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นปัจจัยหรือช่องทางที่สำคัญที่เปิดโอกาสให้กลุ่มธุรกิจ เข้ามาเป็นมีบทบาททางการเมืองด้วยตนเอง มากยิ่งขึ้น ผ่านระบบพรรคการเมือง กลุ่มนักธุรกิจกลายมาเป็นนักการเมือง สามารถใช้อำนาจทาง การเมือง ผลักดันนโยบายสาธารณะต่างๆ โดยเฉพาะนโยบายด้านเศรษฐกิจ ส่งผลทำให้ เศรษฐกิจ ของประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่อีกด้านหนึ่งทำให้ยิ่งมีการแสวงหาประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจ การเมืองด้วยเช่นกัน ทำให้นโยบายหลายนโยบายตอบสนองหรือให้ประโยชน์แก่กลุ่มธุรกิจ วิกฤตเศรษฐกิจในปี พ. 2540 และรัฐธรรมนูญ 2540 ยิ่งเป็นการเปิดโอกาสการเข้ามามี ส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มธุรกิจการเมืองที่นำโดยกลุ่มทุนสื่อสารโทรคมนาคม นั่นคือ การ เกิดขึ้นของพรรคไทยรักไทย พรรคไทยรักไทยได้นำเสนอแนวคิดนโยบายที่ทันสมัย นำแนวคิด ทางธุรกิจมาประยุกต์ใช้ส่งผลให้เกิดการปฏิรูประบบราชการให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล มากขึ้น อันเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันนโยบายสาธารณะให้ประสบผลส าเร็จ แต่ปรากฏว่า นโยบายหลายนโยบายมีการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มธุรกิจของพวกพ้อง มีการออกกฎหมาย และ ระเบียบต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจของกลุ่มได้รับผลประโยชน์ และเป็นไปในลักษณะผูกขาด สะท้อนให้ เห็นถึงการมีการทับซ้อนกันระหว่างผลประโยชน์ของตนกับผลประโยชน์ของส่วนรวม(Conflict of Interest) อีกทั้งยังพบว่า มีการเข้าแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบทั้งในสภาผู้แทนราษฎร องค์กรอิสระ และจากสื่อสารมวลชนอีกด้วย การมีบทบาทของกลุ่มธุรกิจการเมือง ได้ก่อให้เกิดผลกระทบทางการเมืองทั้งในด้านบวก และลบ หากกลุ่มธุรกิจการเมืองเข้ามามีบทบาททางการเมืองโดยสำนึกในสถานะของตนว่า เข้ามา เพื่อจะนำความรู้ความสามารถ หรือนำเสนอแนวคิด นโยบายที่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนา ประเทศ ย่อมเป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ แต่หากใช้บทบาท หรืออำนาจเพื่อแสวงหาความมั่ง คั่งทางเศรษฐกิจให้กับตนและพวกพ้อง โดยมิได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก ย่อมจะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อประเทศชาติอย่างมหาศาล การป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบ ทั้งในด้านผลประโยชน์ทับซ้อน และการ แทรกแซงกระบวนการตรวจสอบ จำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องให้ความร่วมมือ ซึ่งในที่นี้ได้เสนอแนะ แนวทางทั้งมาตรการด้านการตรวจสอบ การบังคับใช้กฎหมาย และบทบาทภาครัฐ อาทิ การใช้ อำนาจในกรอบของกฎหมาย นิติรัฐ และนิติธรรม การสนับสนุนมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ใน สังคม การปรับปรุงและการบังคับใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน การจัดตั้ง และการสนับสนุนงบประมาณให้กับองค์กรอิสระต่างๆ รวมทั้งมาตรการทางสังคม และจิตส านึก อาทิ รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของประชาธิปไตย และสิทธิหน้าที่ที่แท้จริง ร่วมกันทำหน้าที่ตรวจสอบดูแลสิทธิประโยชน์ของพวกเขาได้ดีขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ ต่อเมื่อประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และตื่นตัวทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น สร้าง ค่านิยมของประชาชน และสังคมในความเสมอภาค ประชาชน นักวิชาการ สื่อสารมวลชน ต้อง ร่วมกันศึกษาทำความเข้าใจ และเผยแพร่ความรู้ระบบเศรษฐกิจ ธุรกิจสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อน เพื่อให้รู้เท่าทันนักธุรกิจการเมือง และร่วมกันทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทุจริตอย่างมี ประสิทธิภาพ และมีความเป็นกลาง

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009

Subject(s):

ธุรกิจกับการเมือง -- ไทย
ไทย -- การเมืองและการปกครอง

Keyword(s):

ธุรกิจการเมือง
การพัฒนาทางการเมือง

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

312 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1169
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b166703.pdf ( 4.85 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×