• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ภาวะผู้นำทางการบริหารของนายกเทศมนตรี

by ถวิล ไพรสณฑ์

Title:

ภาวะผู้นำทางการบริหารของนายกเทศมนตรี

Author(s):

ถวิล ไพรสณฑ์

Advisor:

ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1966

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

ความมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อทราบพฤติกรรมทางการบริหารของนายกเทศมนตรีว่ามีอยู่ในลักษณะเช่นไร โดยผู้เขียนได้กำหนดหัวข้อศึกษาออกเป็น 4 ประการ คือ ภาวะผู้นำที่เกี่ยวกับการปกครองบังคับบัญชาและการควบคุมงานของเทศบาล
ในเรื่องเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางสังคมนั้น เนื่องจากประชาชนยังไม่เห็นความสำคัญของเทศบาล จึงไม่ค่อยให้ความเคารพนับถือและให้เกียรติแก่ตำแหน่งนายกเทศมนตรีเท่าที่ควร ทำให้ไม่ค่อยสนับสนุนช่วยเหลือเทศบาล ผู้เขียนเห็นควรเปลี่ยนกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสรรหาบุคคลเข้ามาบริหารงาน หรือลดการควบคุมจากกระทรวงมหาดไทยลงเสียบ้าง และการใช้วิธีการเลือกตั้งตำแหน่งนายกเทศมนตรีโดยตรงจะทำให้ประชาชนสนใจในกิจการของเทศบาลมากขึ้น นอกจากนี้หน้าที่บางอย่างที่เป็นเรื่องของท้องถิ่น ควรมอบให้นายกเทศมนตรีดำเนินการเพื่อส่งเสริมความสำคัญของนายกเทศมนตรีมากขึ้น การกำหนดนโยบายของท้องถิ่น การริเริ่มงาน และความรับผิดชอบในการบริหารงานเทศบาลควรเป็นหน้าที่ของคณะเทศมนตรี โดยการนำของนายกเทศมนตรีและด้วยความเห็นชอบของสมาชิกสภาเทศบาล แต่ในทางปฏิบัติของไทยนโยบายเกิดจากพนักงานประจำโดยเฉพาะจากปลัดเทศบาลจึงทำให้เกิดขัดแย้งกันเสมอ ข้อควรปรับปรุง รัฐควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 45 ซึ่งมีว่าเมื่อเทศบาลรับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณประจำปี คณะเทศมนตรีต้องออกจากตำแหน่งไปนั้นเสีย จะทำให้นายกเทศมนตรีมีอิสระที่จะกำหนดนโยบายบริหารเทศบาลหรือสนองความต้องการของประชาชนได้กว้างขวางขึ้น ปัญหาอีกประการหนึ่งคือการที่นายกเทศมนตรีไม่มีอิสระพอที่จะเลือกวินิจฉัยตกลงใจในเรื่องหนึ่งเรื่องใดตามความประสงค์ได้ เพราะกระทรวงมหาดไทยควบคุมอย่างเคร่งครัด และเพราะมีอิทธิพลภายนอกอื่น ๆ เช่น อิทธิพลของสมาชิกเทศบาล ส่วนการปกครองบังคับบัญชาและการควบคุมงานก็เป็นปัญหาสำคัญที่สุดของนายกเทศมนตรี เพราะนายกเทศมนตรีไม่มีอำนาจปกครองบังคับบัญชาปลัดเทศบาลและพนักงานอื่น ๆ ได้อย่างแท้จริง ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ผู้เขียนได้เสนอแนะข้อแก้ไข เช่น ให้เปลี่ยนระบบการเลือกตั้งตำแหน่งนายกเทศมนตรีใหม่ ให้มีการมอบอำนาจวินิจฉัยสั่งการให้นายกเทศมนตรีมากขึ้น ให้มอบภาระหน้าที่ให้เทศบาลมากขึ้น และให้มีการพัฒนาบุคคลในตำแหน่งนายกเทศมนตรี.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509.

Subject(s):

เทศบาล
นายกเทศมนตรี

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

154 หน้า.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1170
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9983ab.pdf ( 126.25 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9983.pdf ( 3,563.05 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [291]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×