• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ระบบบริหารงานบุคคลของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น

by สรศักดิ์ สร้อยสนธิ์

Title:

ระบบบริหารงานบุคคลของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น

Author(s):

สรศักดิ์ สร้อยสนธิ์

Advisor:

สุรชัย สุพโปฎก, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1968

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

เป็นการศึกษาถึงระบบการบริหารงานบุคคลท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งเป็นระบบที่มีคณะกรรมการระดับชาติ หรือรัฐบาลกลางเป็นผู้ควบคุมการบริหารงานซึ่งมีอยู่หลายระบบ แต่ละระบบก็มีองค์การกลางบริหารงานบุคคลของตน ได้แก่คณะกรรมการพนักงานเทศบาล คณะกรรมการข้าราชการส่วนจังหวัด นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดให้กระทรวงมหาดไทยควบคุมการบริหารงานบุคคลพนักงานสุขาภิบาล และพนักงานตำรวจอีกด้วย ส่วนการบริหารงานบุคคลในระดับท้องถิ่นนั้น องค์การบริหารงานบุคคลเป็นผู้กระจายอำนาจให้แก่องค์การบริหารบุคคลในระดับท้องถิ่นซึ่งมีอยู่ 3 คณะกรรมการ คือ อ.ก.จ. อ.ก.ท.จังหวัด และ อ.ก.ท.เทศบาล อย่างไรก็ดีแม้จะได้มีการกระจายอำนาจบริหารงานบุคคลให้แก่ท้องถิ่นดังกล่าวก็ยังปรากฏว่าท้องถิ่นยังมีอิสระในการบริหารงานบุคคลน้อย เนื่องจากรัฐบาลกลางยังเป็นผู้ออกระเบียบข้อบังคับ ควบคุมการบริหารงานบุคคลของท้องถิ่น โดยจัดให้มีผู้แทนของท้องถิ่น มีสิทธิ มีเสียงในด้านบริหารงานบุคคล และระบบบริหารงานสุขาภิบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่มีพนักงานตำบลอย่างแท้จริง แต่ได้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนไปปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้เขียนเห็นว่าการบริหารงานบุคคลหลายระบบจะก่อให้เกิดข้อจำกัดในเรื่องการโอน การบรรจุแต่งตั้ง การเลื่อนชั้น เลื่อนเงินเดือน และเลื่อนตำแหน่ง รวมทั้งไม่อาจแก้ไขเรื่องข้าราชการส่วนท้องถิ่นมีเกียรติภูมิต่ำ ทำให้ขาดแคลนผู้มีความรู้ความสามารถเข้าทำงานในราชการบริหารส่วนท้องถิ่นได้ ดังนั้นจึงควรรวมระบบการทำงานบุคคลหลายระบบเข้าเป็นระบบเดียวกัน โดยปรับปรุงแก้ไขการจัดระบบบริหารงานบุคคลเสียใหม่ดังนี้คือ
1. ให้มีการจัดรูปองค์การ คือ ให้มีคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของราชการส่วนท้องถิ่นระดับชาติเพียงองค์การเดียว ประกอบด้วยปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน อธิบดีกรมการปกครองเป็นกรรมการ ผู้อำนวยการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้มีกรรมการอื่น ๆ อีก รวมทั้งหมดไม่ควรเกิน 9 คน สำหรับระดับท้องถิ่นควรให้มีคณะกรรมการเช่นกัน
2. องค์การกลางบริหารงานบุคคลทั้งในระดับชาติและในระดับท้องถิ่น จะต้องมีขอบเขตในการควบคุมพนักงานท้องถิ่นประจำในทุกระดับ.
3. ควรให้องค์การบริหารบุคคลของราชการส่วนท้องถิ่นมีหน่วยงานเป็นอิสระและมีเจ้าหน้าที่บริหารงานของตนเองโดยเฉพาะ
4. ควรมีความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกลางบริหารงานบุคคล และองค์การบริหารงานบุคคลในระดับท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด โดยองค์การกลางเป็นผู้ประสานงานให้ความช่วยเหลือทุกด้าน
5. องค์การบริหารงานบุคคลของราชการส่วนท้องถิ่นควรจะหันนโยบายบริหารงานบุคคลไปในทางส่งเสริมสมรรถภาพ เกียรติศักดิ์ และความมั่นคงยิ่งขึ้น

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.

Subject(s):

การปกครองท้องถิ่น
การบริหารงานบุคคล

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

188 หน้า.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1171
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b10002ab.pdf ( 76.60 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b10002.pdf ( 4,703.72 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×