• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

แรงจูงใจในการเลือกเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจของนักเรียนนายร้อยตำรวจ

by ปรุง บุญผดุง

Title:

แรงจูงใจในการเลือกเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจของนักเรียนนายร้อยตำรวจ

Author(s):

ปรุง บุญผดุง

Advisor:

ธวัช วิชัยดิษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1982

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาถึงลำดับความสำคัญของแรงจูงใจในแต่ละด้านต่อการเลือกเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ศึกษาถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเลือกเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และเพื่อให้ได้ผลการศึกษาวิจัยมาเป็นแนวทางเสนอแนะในการกำหนดนโยบายของโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่จะปรับปรุงแนวทางการฝึกอบรมนักเรียนนายร้อยตำรวจให้สอดคล้องกับความต้องการของทุกฝ่าย ผลการศึกษาพบว่านักเรียนนายร้อยตำรวจมีแรงจูงใจในการเลือกเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจในระดับปานกลาง นักเรียนนายร้อยตำรวจมีแรงจูงใจในด้านอิทธิพลทางบุคคล ทางการเงิน และทางผลตอบแทนจากอาชีพตำรวจอยู่ในระดับปานกลาง และมีแรงจูงใจในด้านความจำเป็นและลักษณะงานตำรวจในระดับสูง เมื่อนำมาเรียงลำดับความสำคัญปรากฏว่า ระดับแรงจูงใจสูงสุด ได้แก่ แรงจูงใจซึ่งเกิดจากอิทธิพลจากความจำเป็น อันดับ 2 แรงจูงใจซึ่งเกิดจากอิทธิพล ลักษณะงานตำรวจ อันดับสาม แรงจูงใจซึ่งเกิดจากอิทธิพลผลตอบแทนของอาชีพตำรวจ อันดับสี่ แรงจูงใจซึ่งเกิดจากอิทธิพลทางการเงิน และอันดับสุดท้าย ได้แก่ แรงจูงใจซึ่งเกิดจากอิทธิพลทางด้านบุคคลเป็นระดับต่ำสุด แต่ระดับต่ำสุดนี้ก็ยังอยู่ในระดับปานกลางของหลักเกณฑ์การวัดระดับแรงจูงใจที่ผู้เขียนแบ่งไว้ นักเรียนนายร้อยตำรวจที่มีระยะเวลาการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ จะมีแรงจูงใจในการเลือกเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจต่ำกว่านักเรียนนายร้อยตำรวจที่มีระยะเวลาศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในต่างจังหวัด และนักเรียนนายร้อยตำรวจส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับสภาพสังคมในต่างจังหวัด และอยู่ในต่างจังหวัดมากกว่าในกรุงเทพฯ นักเรียนนายร้อยตำรวจที่เคยเป็นข้าราชการตำรวจมาก่อน จะมีแรงจูงใจในการเลือกเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจสูงกว่านักเรียนนายร้อยตำรวจที่ไม่เคยเป็นข้าราชการตำรวจมาก่อน อาชีพบิดามารดาหรือผู้ปกครอง และฐานะทางเศรษฐกิจของนักเรียนนายร้อยไม่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการเลือกเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2525.

Subject(s):

ตำรวจ -- ไทย

Keyword(s):

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

128 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1173
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b10053.pdf ( 2,219.63 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×