วิวัฒนาการของการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการฝ่ายพลเรือนของจีน
Publisher
Issued Date
1967
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
76 หน้า.
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
จิรศักดิ์ มุทิตาภรณ์ (1967). วิวัฒนาการของการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการฝ่ายพลเรือนของจีน. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1176.
Title
วิวัฒนาการของการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการฝ่ายพลเรือนของจีน
Alternative Title(s)
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
จากการศึกษาปรากฏว่า จีนได้นำระบบการสอบแข่งขันมาเป็นวิธีหนึ่งในการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการก่อนประเทศทั้งหลาย เพราะในเวลาที่จีนเริ่มใช้ระบบสอบนั้นยุโรปกำลังอยู่ในสมัยมืดมัว.
ระบบการสอบไล่เพื่อเข้ารับราชการฝ่ายพลเรือนของจีน ได้วิวัฒนาการไปตามระบบบ้านเมืองของตนเอง ระบบการสอบนับแต่เริ่มมาจนถึงปี ค.ศ. 1905 ใช้ปรัชญาหรือคำสอนของขงจื้อเป็นหลัก ต่อมาเมื่อจีนได้เปลี่ยนการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐแล้ว ดร. ซุนยัดเซ็น ได้กำหนดให้สภาการสอบไล่เป็นอำนาจสูงสุดอำนาจหนึ่งตามรัฐธรรมนูญของจีน เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลฝ่ายพลเรือนของจีน แต่การดำเนินการ การจัดส่วนราชการ การกำหนดหลักสูตร อาศัยระบบต่างประเทศโดยเฉพาะอังกฤษ
อย่างไรก็ตาม งานการสอบข้าราชการพลเรือนภายใต้ระบบใหม่ที่ส่งเสริมมาแต่ปี ค.ศ. 1911 ได้ดำเนินไปด้วยอุปสรรคนานาประการ เพราะเหตุการณ์ต่าง ๆ ของบ้านเมือง ทำให้ระบบการสอบไม่สามารถหยั่งรากลงในประเทศจีนได้ ถ้าจะเปรียบเทียบแนวความคิดในระบบการสอบแบบใหม่กับแบบเก่า จะเห็นได้ว่าระบบการสอบแบบเก่ามุ่งไปทางปรัชญาของขงจื้อ ศีลธรรม จรรยา วรรณคดี ส่วนแนวความคิดใหม่หนักไปทางวิทยาการสมัยใหม่ ละทิ้งปรัชญาของขงจื้อ ศีลธรรม จรรยา และวรรณคดีเสียสิ้น นับว่าได้ทำลายเครื่องเหนี่ยวรั้งจิตใจลงอย่างมาก และเป็นภัยต่อสังคมอย่างใหญ่หลวง ตลอดจนเป็นการทำลายความดีเด่นอย่างหนึ่งทางวัฒนธรรม มีข้อที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า โครงสร้างของสภาการสอบไล่ที่จัดไว้ใหญ่โตนี้ มิได้มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดสอบเพื่อรับทุนค่าเล่าเรียนของทางราชการไปศึกษา ณ ต่างประเทศแต่อย่างใด หน้าที่นี้กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จัดสอบ โดยสอบคัดเลือกทั้งทุนรัฐบาลและทุนส่วนตัว.
ระบบการสอบไล่เพื่อเข้ารับราชการฝ่ายพลเรือนของจีน ได้วิวัฒนาการไปตามระบบบ้านเมืองของตนเอง ระบบการสอบนับแต่เริ่มมาจนถึงปี ค.ศ. 1905 ใช้ปรัชญาหรือคำสอนของขงจื้อเป็นหลัก ต่อมาเมื่อจีนได้เปลี่ยนการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐแล้ว ดร. ซุนยัดเซ็น ได้กำหนดให้สภาการสอบไล่เป็นอำนาจสูงสุดอำนาจหนึ่งตามรัฐธรรมนูญของจีน เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลฝ่ายพลเรือนของจีน แต่การดำเนินการ การจัดส่วนราชการ การกำหนดหลักสูตร อาศัยระบบต่างประเทศโดยเฉพาะอังกฤษ
อย่างไรก็ตาม งานการสอบข้าราชการพลเรือนภายใต้ระบบใหม่ที่ส่งเสริมมาแต่ปี ค.ศ. 1911 ได้ดำเนินไปด้วยอุปสรรคนานาประการ เพราะเหตุการณ์ต่าง ๆ ของบ้านเมือง ทำให้ระบบการสอบไม่สามารถหยั่งรากลงในประเทศจีนได้ ถ้าจะเปรียบเทียบแนวความคิดในระบบการสอบแบบใหม่กับแบบเก่า จะเห็นได้ว่าระบบการสอบแบบเก่ามุ่งไปทางปรัชญาของขงจื้อ ศีลธรรม จรรยา วรรณคดี ส่วนแนวความคิดใหม่หนักไปทางวิทยาการสมัยใหม่ ละทิ้งปรัชญาของขงจื้อ ศีลธรรม จรรยา และวรรณคดีเสียสิ้น นับว่าได้ทำลายเครื่องเหนี่ยวรั้งจิตใจลงอย่างมาก และเป็นภัยต่อสังคมอย่างใหญ่หลวง ตลอดจนเป็นการทำลายความดีเด่นอย่างหนึ่งทางวัฒนธรรม มีข้อที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า โครงสร้างของสภาการสอบไล่ที่จัดไว้ใหญ่โตนี้ มิได้มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดสอบเพื่อรับทุนค่าเล่าเรียนของทางราชการไปศึกษา ณ ต่างประเทศแต่อย่างใด หน้าที่นี้กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จัดสอบ โดยสอบคัดเลือกทั้งทุนรัฐบาลและทุนส่วนตัว.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2510.