• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

สถาบันผู้นำและการปกครองตัวเองของชาวเขาเผ่าแม้ว : บทศึกษาเฉพาะกรณีแม้วที่บ้านขุนสถาน อำเภอน้อย จังหวัดน่าน

by ภักดี ชมภูมิ่ง

Title:

สถาบันผู้นำและการปกครองตัวเองของชาวเขาเผ่าแม้ว : บทศึกษาเฉพาะกรณีแม้วที่บ้านขุนสถาน อำเภอน้อย จังหวัดน่าน

Author(s):

ภักดี ชมภูมิ่ง

Advisor:

ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1967

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

ผู้เขียนวิทยานิพนธ์มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงรูปลักษณะของการปกครองตนเองของชาวเขาเผ่าแม้ว ที่มาของอำนาจในการปกครอง ผู้ที่ใช้อำนาจในการปกครอง สถานะของหัวหน้าเผ่า ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ ในการปกครองและฐานะทางการปกครองของประชาชนชาวแม้ว รวมทั้งพิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนและเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองของพวกชาวเขา โดยมุ่งพิจารณาในด้านสภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ ศาสนา ลัทธิความเชื่อ และความสัมพันธ์ระหว่างแม้วกับบุคคลภายนอก ตลอดจนความสัมพันธ์ในระหว่างแม้วในหมู่บ้านเดียวกันควบคู่กันไป การที่ผู้เขียนเลือกศึกษาชาวเขาเผ่าแม้ว เพราะชาวเขาเผ่าแม้วมีความสำคัญทางการเมืองมากที่สุดและเป็นชาวเขาที่มีจำนวนมากเป็นที่ 2 ในประเทศไทย ประมาณถึงห้าหมื่นคน
จากการศึกษาปรากฏว่าสังคมแม้วเป็นอิสระในการปกครองตนเองบ้าง และมีสถาบันผู้นำที่เข้มแข็ง ทั้งนี้ผู้เขียนเห็นว่าเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมทางสังคม ภูมิศาสตร์ และเศรษฐกิจเป็นสำคัญ อำนาจในการปกครองตนเองในระดับชุมชนหรือท้องถิ่นของแม้วมีลักษณะคล้ายอำนาจบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ รวมอยู่ทั้ง 3 ลักษณะ ผู้เขียนได้วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ อันอาจเกิดขึ้นจากพวกแม้ว คือ ปัญหาเรื่องเชิ้อชาติ คนเหล่านี้มีหน้าตาและวัฒนธรรมหลายอย่างคล้ายจีน ซึ่งเปิดช่องให้คอมมิวนิสต์เข้ามาแทรกซึมได้ง่าย ผู้เขียนได้เสนอข้อแก้ไขทั้งระยะยาว และระยะสั้นไว้ตอนท้ายบท อีกปัญหาหนึ่ง คือ เรื่องฝิ่น ควรจะได้ปราบปรามโดยสิ้นเชิงแล้วส่งเสริมให้มีการปลูกพืชเมืองหนาวแทน ซึ่งก็จะมีปัญหาอื่นตามมา เช่น ปัญหาเรื่องตลาด ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนทัศนคติ นอกจากปัญหาเหล่านี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องศาสนาและความเชื่อถือ ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างคนในแสนเดียวกัน ปัญหาเรื่องฐานะของสตรี และปัญหาเกี่ยวกับกลุ่มอาวุโสของแสน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ผู้เขียนได้เสนอแนะข้อแก้ไขต่าง ๆ ไว้แล้วทั้งสิ้น

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2510.

Subject(s):

ชาวเขา -- ไทย -- น่าน
ม้ง -- ไทย -- น่าน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

xii, 81, 43 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1177
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b6642ab.pdf ( 205.24 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b6642.pdf ( 2,812.35 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×