สภาพและปัญหาการวิจัยจากเอกสารราชการ
Publisher
Issued Date
1967
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
155 หน้า.
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ (1967). สภาพและปัญหาการวิจัยจากเอกสารราชการ. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1181.
Title
สภาพและปัญหาการวิจัยจากเอกสารราชการ
Alternative Title(s)
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
เอกสารของทางราชการเป็นที่มาสำคัญยิ่งของข้อมูลในการวิจัย โดยเฉพาะที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทางราชการ แต่มีอุปสรรคหลายประการที่ทำให้นักวิจัยไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเอกสารราชการได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เพราะหน่วยราชการต่าง ๆ ยังมีระบบวิธีเก็บรักษาเอกสารที่ไม่เป็นระเบียบ สถานที่เก็บรักษาแคบไม่ปลอดภัย เอกสารชำรุดสูญหายเสมอ นอกจากนั้นประเทศไทยยังขาดหอบรรณสารเพื่อเก็บรักษาเอกสารที่มีค่าอย่างถาวร แม้จะมีกองจดหมายเหตุแห่งชาติก็ไม่สามารถทำหน้าที่ได้เต็มที่เพราะขาดคน ขาดเงิน และสถานที่คับแคบ ผู้เขียนเห็นว่าควรจะได้มีวิธีการจัดเก็บเอกสารโดยวิธีต่างกันแล้วแต่ชนิดของเอกสารและการใช้เอกสาร ปัญหาเรื่องสถานที่ทำงานนั้นรัฐควรสร้างหอบรรณสารแห่งชาติขึ้นใหม่ให้กว้างพอ ให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถเพียงพอ ปัญหาอื่นเช่นนักวิจัยไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายเอกสาร ผู้เขียนเสนอให้ทางราชการอลุ่มอล่วยให้ความร่วมมือกับนักวิจัยให้มากที่สุดที่จะทำได้ ในกรณีที่เกี่ยวกับเอกสารอันเป็นความลับของทางราชการนั้น ควรจะมีการเลิกฐานะเอกสารลับเมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ นอกจากปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าว ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการคัดเลือกเอกสารสำหรับใช้ในการค้นคว้าเพื่อให้ผลวิจัยไม่ผิดพลาดจากความเป็นจริง ผู้วิจัยต้องใช้ความระวังพิจารณาให้รอบคอบว่าเอกสารใดถูกต้อง น่าเชื่อถือ อีกประการหนึ่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 ควรจะได้แก้ไขบังคับให้ครอบคลุมถึงสิ่งพิมพ์ของทางราชการโดยกำหนดให้ต้องส่งหอสมุดแห่งชาติทุกครั้งที่มีการพิมพ์ หอสมุดแห่งชาติควรจัดทำบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ของทางราชการให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ในด้านคุณภาพของเอกสารทางด้านการพิมพ์นั้นควรส่งเสริมมาตรฐานการพิมพ์ให้สูงขึ้นเพื่อให้คงทนต่อการรักษา การเผยแพร่ก็ควรจะได้กำหนดเวลาให้แน่นอน ไม่ใช่ว่าแต่ละหน่วยงานต่างก็จัดทำออกเผยแพร่เป็นรายสะดวก และเอกสารที่โรงพิมพ์ทางราชการพิมพ์ควรจะส่งไปขายให้เป็นหลักแหล่งแน่นอนในที่เดียว ราคาเดียวกัน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2510.