• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ : บทศึกษาเฉพาะกรณีภาวะผู้นำทางการบริหาร

by ชัชสรี บุนนาค

Title:

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ : บทศึกษาเฉพาะกรณีภาวะผู้นำทางการบริหาร

Author(s):

ชัชสรี บุนนาค

Advisor:

มาลัย หุวะนันทน์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1966

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาบทบาททางการบริหารของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เพื่อพิสูจน์ว่าท่านเป็นผู้นำทางการบริหารที่มีความสามารถและสร้างรากฐานความเจริญให้แก่ประเทศไทย ผู้เขียนวิเคราะห์โดยยึดภาวะผู้นำแบบประชานิยมเป็นหลัก และเนื่องจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้นำในระดับชาติ ผู้เขียนจึงศึกษาภาวะผู้นำของท่านในฐานะเป็นพฤติกรรมทางการบริหารของไทยโดยทั่วไปด้วย โดยได้ตั้งสมมติฐานไว้ 3 ประการ คือ.-
1. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ประสบผลสำเร็จทางการบริหาร เพราะมีภาวะผู้นำทางการบริหารเหนือกว่าบุคคลอื่นในเวลาเดียวกัน
2. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีบทบาททางการบริหารในการสร้างเสริมความเจริญให้แก่ประเทศ
3. ภาวะผู้นำของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ แสดงให้เห็นแนวโน้มของภาวะผู้นำทางการบริหารของนักบริหารไทยในปัจจุบัน อันมีผลจากสภาพแวดล้อมทางการเมืองและสังคม การวิจัยมุ่งเฉพาะบทบาทในการดำรงตำแหน่งสมุหกลาโหมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และการดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นระยะเวลาที่ท่านเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และมีบทบาททางการบริหารอย่างเต็มที่
จากการศึกษาประวัติของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ปรากฏว่าท่านได้รับความรู้ ความชำนาญในการบริหารจากบิดาซึ่งดำรงตำแหน่งสำคัญถึงสองตำแหน่ง คือเป็นเจ้าพระยาพระคลัง และสมุหพระกลาโหม จึงได้เปรียบบุคคลอื่น ท่านได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลายประการ เป็นต้นว่าริเริ่มดำเนินการรับอารยธรรมตะวันตก ริเริ่มดำเนินการเกี่ยวกับการค้าโดยเสรี และส่งเสริมความเจริญด้านวัตถุทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้เขียนได้สรุปไว้ท้ายวิทยานิพนธ์ว่า ภาวะผู้นำของสมเด็จพระยาฯ มีลักษณะเป็นอัตนิยม ซึ่งเป็นข้อบกพร่องในการบริหารของท่าน เพราะผู้นำควรพยายามใช้อำนาจแบบประชานิยมให้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็ยังยอมรับว่าภาวะผู้นำแบบอัตนิยมใช่จะไร้ประโยชน์เสียทีเดียว แต่ควรเลือกใช้ในบางโอกาสและบางสถานการณ์เท่านั้น

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509.

Subject(s):

นักบริหาร -- ไทย
ภาวะผู้นำ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

178 หน้า.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1182
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b8418ab.pdf ( 81.47 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b8418.pdf ( 5,924.32 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [291]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×