• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

สำนักงานจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดองค์การและหน้าที่ความรับผิดชอบ

by ประจักษ์จิตต์ อภิวาท

Title:

สำนักงานจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดองค์การและหน้าที่ความรับผิดชอบ

Author(s):

ประจักษ์จิตต์ อภิวาท

Advisor:

ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1981

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

ปัญหาสำคัญในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ก็คือปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพและเอกภาพในการบริหาร ผู้ว่าราชการจังหวัดยังไม่สามารถทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมอำนาจของการบริหารราชการได้อย่างแท้จริง การบริหารงานยังขาดการประสานงาน ทั้งนี้เป็นด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดยังไม่มีอำนาจในการควบคุมบังคับบัญชาหน่วยราชการต่าง ๆ ในจังหวัดได้อย่างเต็มที่ ก็มีผลทำให้ไม่สามารถประสานนโยบายและคำสั่งจากส่วนกลางกับการปฏิบัติงานของหน่วยราชการในจังหวัดอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เป็นไปตามแผนและโครงการต่าง ๆ ได้อย่างสอดคล้องต้องกัน ลักษณะดังกล่าวนี้เป็นปัญหาสำคัญของการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามแม้จะได้มีการปรับปรุงอำนาจในการบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่บ้างก็ตาม แต่ก็ยังมิได้เป็นการแก้ปัญหาในการบริหารตามที่ได้กล่าวข้างต้นได้มากนัก จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติงานของหน่วยราชการต่าง ๆ แต่เดิมมายังขาดความสอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกันอยู่เนือง ๆ เป็นเหตุให้ประชาชนยังมิได้รับบริการจากรัฐในลักษณะของความพึงพอใจอย่างแท้จริง การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐบาลยังขาดแผนและโครงการ ตลอดจนการควบคุมและการประสานงานที่ดี จึงเป็นสิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุงการบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ความพยายามที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นปรากฏออกมาในรูปการจัดตั้งสำนักงานจังหวัด โดยเป็นหน่วยงานหนึ่งสังกัดขึ้นตรงต่อสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานวางแผนของจังหวัด เป็นผู้ประสานแผนและโครงการ ตลอดจนการปฏิบัติงานของหน่วยราชการในส่วนภูมิภาค นอกจากนั้นการจัดตั้งสำนักงานจังหวัดยังมุ่งหมายให้เป็นหน่วยงานในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการต่าง ๆ รวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ เพื่อประโชน์ในการปรับแผนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ตลอดจนการกำหนดแผนในช่วงระยะเวลาต่อไป และยิ่งกว่านั้นยังต้องการให้เป็นหน่วยงานในการช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดตัดสินใจ ด้วยการเสนอข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งทางเลือกให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อประกอบการวินิจฉัยสั่งการอีกด้วย.
เมื่อจัดตั้งสำนักงานจังหวัดขึ้นมาแล้ว ปรากฏว่าสำนักงานจังหวัดไม่สามารถปฏิบัติงานให้บรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เนื่องจากพฤติกรรมทางการบริหารในลักษณะต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการสร้างปัญหาให้แก่ราชการบริหารส่วนภูมิภาคอีกหลายด้าน ซึ่งก็มีสาเหตุมาจากปัญหาต่าง ๆ เช่น การกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานจังหวัดอย่างไม่ชัดเจน การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ที่จัดตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมา ระบบการบริหารงานบุคคลของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยที่จะทำให้การดำเนินงานของสำนักงานจังหวัดมีประสิทธิภาพยังไม่เหมาะสม เป็นต้น ซึ่งในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาและสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้น รวมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาในการบริหารงานของสำนักงานจังหวัดให้มีสัมฤทธิผลในการบริหารราชการโดยสรุป ดังนี้
1. ให้มีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานจังหวัดให้เหมาะสมที่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานของจังหวัดและเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาช่วยเหลือการตัดสินใจของผู้ว่าราชการจังหวัดอย่างแท้จริง.
2. ให้มีการปรับปรุงการจัดองค์การภายในสำนักงานจังหวัดเสียให้เหมาะสมเกื้อกูลกับภาระหน้าที่ในความรับผิดชอบเฉพาะอย่าง โครงสร้างขององค์การที่จะรับกับหน้าที่ความรับผิดชอบตามข้อ 1.
3. ให้มีการปรับปรุงการบริหารงานบุคคลของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยในส่วนที่เกี่ยวกับสำนักงานจังหวัด ให้ข้าราชการในสำนักงานจังหวัดมีโอกาสก้าวหน้าหรือมีเกียรติภูมิพอที่จะให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถสูงมาปฏิบัติงานมากขึ้น รวมทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ให้มีความรู้ความสามารถโดยตรงในหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านการวางแผนหรือปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับแผนตรงตามหน้าที่ความรับผิดชอบและก่อให้เกิดความเชื่อถือแก่หน่วยราชการต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคอย่างแท้จริง.
4. ให้มีการสนับสนุนด้านปัจจัยในการบริหาร เช่น คน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ให้สำนักงานจังหวัดมีความคล่องตัวเพียงพอที่จะปฏิบัติงานในด้านการวางแผน ควบคุม ตลอดจนการประสานงานตามแผนหรือโครงการของจังหวัดได้อย่างแท้จริง.
แนวทางแก้ไขดังกล่าวจะช่วยให้สำนักงานจังหวัดปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่การบริหารราชการของผู้ว่าราชการจังหวัดได้ดียิ่ง และจะทำให้ราชการบริหารส่วนภูมิภาคสามารถปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเป็นผลให้เกิดความสุขสมบูรณ์และความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติในส่วนรวมสืบไป.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2524.

Subject(s):

สำนักงานจังหวัด
การบริหารรัฐกิจ ส่วนภูมิภาค

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

273 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1183
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9974ab.pdf ( 134.68 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9974.pdf ( 7,733.25 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [291]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×