Show simple item record

dc.contributor.advisorประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorชัยพร สำเภาเงินth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:17:41Z
dc.date.available2014-05-05T09:17:41Z
dc.date.issued1968th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1187th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.th
dc.description.abstractการศึกษาเน้นหนักไปเฉพาะงานในหน้าที่ของปลัดเทศบาลที่พึงมีต่อการบริหารงานของเทศบาล และอุปสรรคในการบริหารงาน จากการศึกษาปรากฎว่าภาระหน้าที่ในการบริหารงานประจำทั่วไปทำความยุ่งยากให้แก่ปลัดเทศบาลมาก เพราะแม้จะมีกฎหมายกำหนดให้ปลัดเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบก็จริง แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยสั่งการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานประจำเหล่านั้นอย่างเพียงพอ เพราะกฎหมายพิเศษกำหนดให้นายกเทศมนตรีเป็นผู้มีอำนาจth
dc.description.abstractเพื่อปรับปรุงให้การบริหารงานเทศบาลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้เขียนได้ให้ข้อเสนอแนะ 4 ประการ คือ.-th
dc.description.abstract1. แบบของเทศบาล ผู้เขียนเห็นว่าควรนำเอาเทศบาลระบบต่าง ๆ เข้ามาทดลองใช้กับเทศบาลของไทย เพื่อให้ทราบว่าระบบใดจะเหมาะสมที่สุดสำหรับนำไปใช้กับเทศบาลอื่นต่อไป ทั้งนี้โดยคำนึงถึงลักษณะการนำทางการเมือง และประสิทธิภาพของงานให้เป็นผลดีทั้งการเมืองและการบ้านth
dc.description.abstract2. การเสนอแนะเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งของปลัดเทศบาลเพื่อให้ได้ผู้มีคุณลักษณะเหมาะสม นอกจากจะบรรจุจากผู้มีคุณวุฒิตามที่ ก.พ. กำหนดไว้แล้ว ต้องเป็นผู้ที่สอบคัดเลือกได้ ออกไปทดลองปฏิบัติงานในหน้าที่ปลัดเทศบาลตามเทศบาลต่าง ๆ เสียก่อนมีการแต่งตั้ง.th
dc.description.abstract3. เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของปลัดเทศบาล เพื่อให้ปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบในการปฏิบัติงานประจำของเทศบาลแล้ว ควรพิจารณาปรับปรุงให้ปลัดเทศบาลมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้สอดคล้องกันด้วย โดยแยกอำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรีออกจากงานประจำของเทศบาลโดยเด็ดขาด เพื่อให้ปลัดเทศบาลมีฐานะเป็นหัวหน้าพนักงานเทศบาลประจำที่แท้จริง และให้นายกเทศมนตรีรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายของเทศบาลเพียงด้านเดียว.th
dc.description.abstract4. เกี่ยวกับสวัสดิการ ควรปรับปรุงให้ปลัดเทศบาลมีความสำคัญเหนือกว่าพนักงานเทศบาลทั้งหลาย เพื่อให้เป็นที่นิยมของประชาชน นอกจากมีอำนาจหน้าที่มากขึ้นแล้ว ต้องให้มีตำแหน่งและอันดับเงินเดือนสูงขึ้นด้วย และต้องให้สูงกว่าพนักงานเทศบาลประจำ โดยถือหลักรายได้ของเทศบาลเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ เช่นเดียวกับการกำหนดเงินค่าป่วยการของนายกเทศมนตรี.th
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2014-05-05T09:17:41Z (GMT). No. of bitstreams: 2 nida-ths-b9982.pdf: 2753707 bytes, checksum: 72ae862633b84c5312ad7299f7842eae (MD5) nida-ths-b9982ab.pdf: 69468 bytes, checksum: a5e0a7a5d8d7a7f976d33ee0639077a5 (MD5) Previous issue date: 1968th
dc.format.extent109 หน้า.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccJS 7404 .A1 ช116th
dc.subject.otherเทศบาลth
dc.subject.otherปลัดเทศบาลth
dc.titleอำนาจหน้าที่ของปลัดเทศบาลth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelปริญญาโทth
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record