อำนาจหน้าที่ของปลัดเทศบาลในฐานะหัวหน้างานฝ่ายประจำ โดยเฉพาะในการควบคุมเจ้าหน้าที่และควบคุมงานประจำ
Publisher
Issued Date
1969
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
174 หน้า.
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วิริย์ ทรรทรานนท์ (1969). อำนาจหน้าที่ของปลัดเทศบาลในฐานะหัวหน้างานฝ่ายประจำ โดยเฉพาะในการควบคุมเจ้าหน้าที่และควบคุมงานประจำ. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1188.
Title
อำนาจหน้าที่ของปลัดเทศบาลในฐานะหัวหน้างานฝ่ายประจำ โดยเฉพาะในการควบคุมเจ้าหน้าที่และควบคุมงานประจำ
Alternative Title(s)
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ตำแหน่งปลัดเทศบาล เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อเทศบาล เป็นบุคคลผู้มีหน้าที่รับผิดชอบงานประจำและเป็นหัวหน้างานพนักงาน ลูกจ้างคนงานทั้งหมดของเทศบาลแต่ละแห่ง จึงควรต้องมีอำนาจในการบรรจุ แต่งตั้ง ให้คุณให้โทษแก่พนักงานลูกจ้างได้ตามสมควร นอกจากนี้ควรมีอำนาจในการวางแผนปฏิบัติงาน วินิจฉัยสั่งการ ควบคุมงาน ติดต่อประสานงาน ติดตามผลงาน ปรับปรุงงานในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้คน เงิน วัสดุ และวิธีจัดการทั่วไปของเทศบาล แต่ในทางปฏิบัติงานจริง ๆ แล้ว ตำแหน่งนี้มีภาวะครอบงำ ข้อจำกัดและอุปสรรคหลายประการ ซึ่งมีอยู่ในเทศบาล ผู้เขียนจึงใคร่ศึกษาว่า ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของปลัดเทศบาลจะถูกกระทบกระเทือนจากสาเหตุเหล่านี้เพียงใด ปลัดเทศบาลมีอำนาจเพียงพอที่จะดำรงตนอยู่ในฐานะหัวหน้างานและหัวหน้างานประจำที่พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 42 กำหนดไว้ได้จริงหรือไม่เพียงใด
ผู้เขียนได้จำกัดขอบเขตการศึกษาเรื่องนี้เฉพาะอำนาจหน้าที่ของปลัดเทศบาลในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกสรรบุคคลเข้าบรรจุแต่งตั้ง การเลื่อนวิทยฐานะ การให้คุณให้โทษ การให้ออกจากงาน การวางแผนปฏิบัติงาน การประสานงาน การควบคุมและติดตามผลงาน การปรับปรุงงาน เป็นต้น ส่วนการวิเคราะห์ปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ผู้เขียนกระทำเฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นภายในเทศบาลภายใต้กฎหมายระเบียบแบบแผนที่มีอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น โดยมุ่งพิจารณาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งปลัดเทศบาลเป็นส่วนใหญ่ โดยแบ่งการศึกษาวิจัยออกเป็น 2 ด้าน คือ อำนาจหน้าที่ของปลัดเทศบาลในการควบคุมเจ้าหน้าที่ และในการควบคุมงานประจำ.
ผู้เขียนได้จำกัดขอบเขตการศึกษาเรื่องนี้เฉพาะอำนาจหน้าที่ของปลัดเทศบาลในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกสรรบุคคลเข้าบรรจุแต่งตั้ง การเลื่อนวิทยฐานะ การให้คุณให้โทษ การให้ออกจากงาน การวางแผนปฏิบัติงาน การประสานงาน การควบคุมและติดตามผลงาน การปรับปรุงงาน เป็นต้น ส่วนการวิเคราะห์ปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ผู้เขียนกระทำเฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นภายในเทศบาลภายใต้กฎหมายระเบียบแบบแผนที่มีอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น โดยมุ่งพิจารณาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งปลัดเทศบาลเป็นส่วนใหญ่ โดยแบ่งการศึกษาวิจัยออกเป็น 2 ด้าน คือ อำนาจหน้าที่ของปลัดเทศบาลในการควบคุมเจ้าหน้าที่ และในการควบคุมงานประจำ.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2512.