แบบกระบวนการเสริมสร้างและการปรับใช้ความเป็นธรรมทางสังคม : กรณีศึกษาชุมชนภาคกลาง
Publisher
Issued Date
2012
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
311 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุจินตนา ภาวสิทธิ์ (2012). แบบกระบวนการเสริมสร้างและการปรับใช้ความเป็นธรรมทางสังคม : กรณีศึกษาชุมชนภาคกลาง. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1194.
Title
แบบกระบวนการเสริมสร้างและการปรับใช้ความเป็นธรรมทางสังคม : กรณีศึกษาชุมชนภาคกลาง
Alternative Title(s)
Styles, promotion process and adjustment of social justice communities : a case study of Communities in Central Provinces
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบ กระบวนการเสริมสร้างและการปรับใช้ ความเป็นธรรมทางสังคม รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการเสริมสร้างความเป็นธรรมทางสังคม และการปรับใช้ความเป็นธรรมทางสังคม โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างชุมชั้นภาคกลาง 2 ชุมชนที่ มีวิถีชีวิตแตกต่างกันมีวิธีการศึกษาแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือหลัก โดยใช้การวิจัยแบบ การสร้างทฤษฎีจากข้อมูล ซึ่งมีวิธีการศึกษา 6 แนวทาง คือ 1) ศึกษาจากข้อมูลปฐมภูมิ 2) ศึกษาโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม 3) ศึกษาโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 4) ศึกษาโดยวิธีการแบบประเมินสภาวะอย่างเร่งด่วน 5) สัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม และ 6)ศึกษาโดยใช้วิธีกรณีศึกษา ในการศึกษานี้เลือกพื้นที่ชุมชนมาเป็นเลิศอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม และชุมชนพอเพียง กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ตัวอยาง เนื่องจากทั้งสองชุมชนตั้งอยูบนพื้นที่ที่มีการพัฒนาจากภาครัฐ อย่างต่อเนื่องและชัดเจน มีการปรับตัวที่เด่นชัด แต่ยังคงเอกลักษณ์ของชุมชนไว้ได้อย่างดี กลุ่มเป้าหมายมีจำนวน 30คน โดยผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ ประธานชุมชน คณะกรรมการชุมชน ประธานกลุ่มอาชีพต่างๆ/สมาชิกกลุ่มอาชีพ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/เจ้าหน้าที่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐที่ทำงานเกี่ยวข้องกับชุมชนและประชาชน สำหรับการตรวจสอบข้อมูลใช้แบบสามเส้าด้านข้อมูล (Data Triangulation) และด้านวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (Methodological Triangulation) การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยรวบรวม ข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังนำข้อมูลที่ได้มาจัดหมวดหมู่ แยกประเภท และทำการวิเคราะห์เชิงตรรกะควบคู่กับบริบทผลการศึกษา พบว่า ในบริบททางสังคมของสองชุมชน มีลักษณะเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่ง ชนบทเช่นเดียวกัน ทำให้ทัศนะเกี่ยวกับแบบของความเป็นธรรมทางสังคมไม่แตกต่างกันมากนัก นันคือ ชุมชนมีความเอื้ออาทร รู้จักแบ่งปันกัน ให้เกียรติผู้อื่น ทุกคนในสังคมต้องได้รับการแบ่งปัน ที่เท่ากัน เป็นสังคมที่ไม่เป็นบริโภคนิยม ไม่ใช้เงินเป็นหลักในการพิจารณา ชุมชนมาเป็นเลิศ และชุมชนพอเพียงเริ่มมีการมองลักษณะความเป็นธรรมทางสังคมแบบ สังคมสมัยใหม่ คือ เริ่มนำกรอบของกฎหมายเข้ามาจัดการความเป็นธรรมในชุมชนมากขึ้น มีการเน้นเรื่องสิทธิ ความเสมอภาค เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม กรอบ แนวคิดของชุมชนพอเพียงยังมีแนวปฏิบัติทางศาสนามารองรับและเสริมสร้างความเป็นธรรมตาม หลักของศาสนา กระบวนการเสริมสร้างความเป็นธรรมในส่วนที่แตกต่างนั้น คือ ชุมชนพอเพียงใช้ศาสนา เข้ามาเป็นสถาบันหลักอีกสถาบันหนึ่งที่ในการส่งเสริมความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น เช่นเดียวกับการปรับใช้ความเป็นธรรมที่ชุมชนพอเพียงยึดหลักของศาสนาเป็นแนวทางที่กำกับการแสดงพฤติกรรมของสมาชิกในชุมชน นอกจากนี้ ในการปรับใช้ความเป็นธรรม ชุมชนพอเพียงเน้นใช้หลักทาง ศาสนาเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำให้เกิดความเป็นธรรมในชุมชน ทั้งสองชุมชน เห็นว่า ครอบครัวเป็ นสถาบันทางสังคมที่มีความสำคัญในการปลูกฝังนิสัยที่รักความเป็นธรรมให้แก่ สมาชิกของครอบครัว นอกจากนี้ยังเห็นว่า สถาบันการเมืองหรือผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการต้องเป็นแบบอยางในเรื่องความเป็นธรรม คือต้องวางตัวเป็ นกลาง สนใจผลประโยชน์ส่วนรวมมากกวาผลประโยชน์ส่วนตนหรือญาติมิตร ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเสริมสร้างความเป็นธรรม พบว่าทั้งสองชุมชนเห็น สอดคล้องกันว่า เรื่องของผลประโยชน์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม เพราะผู้นำ หรือกลุ่มผลประโยชน์ไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม กลับให้ความสนใจแต่กลุ่ม ผลประโยชน์หรือญาติพี่น้องของตนเองเท่านั้น ในการปรับใช้ความเป็นธรรม ทั้งสองชุมชนเห็นว่า ผู้นำมีส่วนในการส่งเสริมความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม โดยต้องเป็นแบบอย่างและส่งเสริมให้ เกิดความเป็นธรรม มีการใช้กฎระเบียบทางสังคมและกฎหมายเพิ่มมากขึ้น เป็นที่สังเกตว่า นโยบาย การพัฒนาและการสนับสนุนต่างๆ เป็ นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมใน ชุมชน ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าประชาชนที่อยู่ในสังคมที่มีความเป็นธรรม จะก่อให้เกิด “พลัง ทางสังคม” (Social Forces) ที่รัฐหรือหน่วยงานที่ต้องดูแลรับผิดชอบสามารถนำไปใช้พัฒนาสังคม เศรษฐกิจในแง่อื่นๆ ได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ความไม่เป็นธรรมทางสังคม จะทำให้เกิดความ ขัดแย้ง พลังทางสังคมถูกแบ่งแยก อ่อนแอและยากที่จะนำไปใช้พัฒนา ดังนั้น การทราบถึงความเป็นธรรมในระดับชุมชนจากการวิจัยนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สามารถส่งผลต่อระดับความเป็นธรรมที่ เกิดขึ้นในสังคมที่ใหญ่ขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้เพื่อการพัฒนาประเทศได้ต่อไป
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012