รูปแบบและการขับเคลื่อนการบริหารศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนในการป้องกันปัญหายาเสพติด : ศึกษากรณีชุมชนธรณีคำ แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
Publisher
Issued Date
2012
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
12, 233 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
พรชัย กิตติชญาน์ธร (2012). รูปแบบและการขับเคลื่อนการบริหารศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนในการป้องกันปัญหายาเสพติด : ศึกษากรณีชุมชนธรณีคำ แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1198.
Title
รูปแบบและการขับเคลื่อนการบริหารศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนในการป้องกันปัญหายาเสพติด : ศึกษากรณีชุมชนธรณีคำ แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
Styles and steps of community management movement for drug problem prevention learning center : a case of Thorraneekum, Khok Faet, Nong Chok, Bangkok
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาวิจยเรื่องรูปแบบและกระบวนการขับเคลื่อนการบริหารศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน ในการป้องกันยาเสพติดศึกษากรณีชุมชนธรณีคําได้ใช้ ระเบียบวิธีการวิจัยคุณภาพเป็นหลักทั้งนี้จาก การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) การใช้แบบสอบถามและผู้ให้ข้อมูลที่สําคัญ (Key-Informants) ซึ่งเป็นบุคคลที่อาศัย และตั้งถิ่นฐานถาวรในชุมชนนานกว่า 10 ปี หรือเจ้าหน้าที่ดูแลชุมชนโดยตรง บุคคลทั้งหมดมีบทบาทและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนในการป้องกันยาเสพติด รวมทั้งจากการศึกษาเอกสาร ได้แก่วารสาร ตํารา วิจัย วิทยานิพนธ์และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้ง การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบของศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนในการป้องกันยาเสพติดมีรูปแบบ โดยนำแนวคิดที่เป็นรูปแบบทั้งภาครัฐและภาคประชาชนมาผสมผสานและพัฒนาเป็นรูปแบบของศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนในการป้องกันยาเสพติดที่เหมาะสมกับชุมชน ส่วนกระบวนการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนในการป้องกันยาเสพติดได้นําแนวคิดนํา 2 แนวคิดได้แก่แนวคิด เกี่ยวกับการพัฒนาเชิงปฏิบัติการซึ่งประกอบด้วย 1) ขั้นการตระหนักในช่องว่าง (Consciousness Gap) 2) ขั้นมีความต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างมีขอบเขต (Aspiration Frontier) 3) ขั้นให้เกียรติไม่สร้างความรู้สึกแปลกแยก (De-Alienation) 4) ขั้ นการมีส่วนร่วม (Participation) 5) ขั้นสามารถพึ่งตนเอง (Self - Reliance) 6) ขั้นคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน (Collective Personality Society) และ แนวคิดที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยนำแนวคิด เกี่ยวกับยุติธรรมชุมชนซึ่งประกอบด้วย หลัก 3 ประการ คือ 1 ) การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชน โดยชุมชนและเพื่อชุมชน 2) การระงบข้อพิพาทหรือการจัดการกับความขัดแย้งด้วย กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และ 3) การป้องกันปัญหาอาชญากรรมโดยใช้หลักความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์สําหรับความเป็นไปได้ในด้านความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ของชุมชนประกอบด้วย 1) ด้านเศรษฐกิจได้แก่ความพอเพียงของงบประมาณ อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ 2) ด้านสังคมได้แก่ความเป็นเครือญาติการรวมกลุ่มและ เครือข่าย 3) ด้านการเมืองได้แก่ผู้นําชุมชนที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ 4) ด้านเทคนิคได้แก่ การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดสําหรับการเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนการบริหารศูนย์ การเรียนรู้นั้นมีรายละเอียด ดังนี้ 1) อาคารสถานที่ที่เหมาะสมและเป็นศูนยรวมของสมาชิกชุมชน 2) ปัจจยการจัดการ เช่น Plan Do Check Action (PDCA) 3) เนื้อหากรณีศึกษาเช่นการจัดทำสื่อการ เรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพิษภัยและการป้องกันยาเสพติดในชุมชน4) ปราชญ์ผู้รู้ ได้แก่ ผู้ที่มีความรู้ภายในชุมชนหรือวิทยากรจากภายนอกชุมชนตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องข้อเสนอแนะจากการศึกษา 1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานีตํารวจในพื้นที่ที่รับผิดชอบ สํานกงานเขตที่ชุมชนตั้งอยู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันยาเสพติด ควรให้ความร่วมมือและสนับสนุนใน ด้านต่างๆ ในการดำเนินการในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เช่น การให้คำแนะนํา การให้ความรู้ รวมถึงสนับสนุนงบประมาณให้แก่ชุมชน 2) ควรมีสื่อที่ทันสมัยและกิจกรรมที่น่าสนใจในการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดเช่น เกมส์คอมพิวเตอร์ในการตอบปัญหายาเสพติดที่เด็กๆสนใจ 3) ควรทำการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบรูปแบบและกระบวนการขับเคลื่อนการ บริหารศูนย์การเรียนรู้ในการป้องกันยาเสพติดของชุมชนในแต่ละพื้นที่ซึ่งจะทำให้ทราบถึง รูปแบบและกระบวนการขับเคลื่อนการบริหารศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนที่หลากหลาย ภายใต้บริบท ของชุมชนที่แตกต่างกัน เพื่อนำไปปรับใช้ในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012