• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การวางแผนปฏิบัติการ การกำกับติดตามและการประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวคะแนนระดับตำบล : กรณีการวิจัยปฏิบัติการในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครศรีธรรมราช

by พนมพร ไตรต้นวงศ์

Title:

การวางแผนปฏิบัติการ การกำกับติดตามและการประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวคะแนนระดับตำบล : กรณีการวิจัยปฏิบัติการในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครศรีธรรมราช

Other title(s):

Operation planning monitoring and evaluation of Tambol Canvasser : a case of action research in Nakornsrithammarat Province constituency C

Author(s):

พนมพร ไตรต้นวงศ์

Advisor:

แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การจัดการการพัฒนา

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1993

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของพรรคการเมือง หรือผู้สมัครรับเลือกตั้งในระดับเขตเลือกตั้ง นอกจากบุคลากร การเงิน และอื่น ๆ การจัดการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง รวมทั้งการวางแผนงาน กำหนดยุทธศาสตร์และยุทธวิธีนับเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะชนะการเลือกตั้งในด้านบุคลากร โดยเฉพาะหัวคะแนนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการรณรงค์หาเสียง ดังนั้น เพื่อจะให้มีการรณรงค์หาเสียงอย่างเป็นระบบและสร้างความชัดเจนในการทำแผนปฏิบัติการของหัวคะแนน ผู้วิจัย จึงได้ศึกษาจากตัวแบบการวางแผนปฏิบัติการการกำกับติดตาม และการประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวคะแนน จากการฝึกอบรมหลักสูตร "ผู้จัดการการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง" โครงการวิชาการเพื่อสร้างสรรค์ประชาธิปไตย โดยคณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีสังคม (เกริก) เมื่อวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2535 โดยทำการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ ด้วยวิธีการปฏิบัติจริงร่วมกับผู้ปฏิบัติงานศูนย์อำนวยการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัดนครศรีธรรมราช ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 13 กันยายน 2535.
จากการศึกษาพบว่า ตัวแบบที่ใช้ในการรณรงค์แบ่งพื้นที่เป้าหมายเป็น 3 เขตยุทธศาสตร์ คือ เขตยุทธศาสตร์-เรา, เขตยุทธศาสตร์-เป็นกลาง, เขตยุทธศาสตร์-เขา และแบ่งห้วงเวลาการรณรงค์เป็น ต้นฤดูการรณรงค์ (ระหว่างวันที่ 2-22 สิงหาคม 2535) กลางฤดูรณรงค์ (ระหว่างวันที่ 23-29 สิงหาคม 2535) และปลายฤดูรณรงค์ (ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม-12 กันยายน 2535)
กิจกรรมในการรณรงค์แบ่งได้ดังนี้
การรณรงค์ด้านกว้าง คือ การใช้สื่อโฆษณา ได้แก่ คัดเอาท์ แผ่นป้าย โปสเตอร์ ใบปลิว การ์ด รถโฆษณา การฉายวีดีโอ และการใช้สื่อปราศรัย ได้แก่ ปราศรัยย่อยกับปราศรัยใหญ่ กิจกรรมเหล่านี้ในแต่ละเขตพื้นที่ยุทธศาสตร์ จะดำเนินการเหมือนกัน ยกเว้นการฉายวีดีโอจะเน้นในเขตยุทธศาสตร์-เรา.
การรณรงค์ด้านลึก คือ การรณรงค์แบบเจาะจงไปยังกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น ในแต่ละเขตยุทธศาสตร์ กิจกรรมจะแตกต่างกัน คือ ในเขตยุทธศาสตร์-เรา กิจกรรมหลักคือ การประชุมกลุ่มย่อย การกระชับองค์กรจัดตั้ง การเยี่ยมเยียน เคาะประตู การร่วมงานสังคมประเพณี และการรักษาฐานคะแนน สำหรับในเขตยุทธศาสตร์-เป็นกลาง กิจกรรมหลักคือ การค้นหาตัวแทนหัวคะแนน จัดตั้งองค์กร การช่วงชิงมวลชน และในเขตยุทธศาสตร์-เขา กิจกรรมหลัก คือ การเฝ้าระวังเกาะติดการเคลื่อนไหวของคู่แข่ง การตัดทอนบทบาทหัวคะแนนและการช่วงชิงแกนหัวคะแนนฝ่ายคู่แข่ง.
ด้านการบริหารแผน คือ การจัดการเรื่องอื่น ๆ เช่น การกำกับติดตามการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร การรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผน และการวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ตำบลที่รับผิดชอบ.
ในส่วนของตัวแบบการกำกับติดตามการปฏิบัติงานของหัวคะแนน จะประกอบไปด้วยสองส่วนคือ ส่วนที่กำกับติดตามเรื่องเป้าเวลา และส่วนของเงื่อนไขสนับสนุน เป็นการจัดระบบแจ้งเตือนและตรวจเช็ค โดยแบ่งเป็น เสร็จก่อนเวลากำหนด ทันเวลา และช้ากว่าเวลากำหนด โดยมีเงื่อนไข จากสถานการณ์หรือเรา (หัวคะแนน) หรือเขา (บุคคลอื่น)
การประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวคะแนน มีการประเมิน 3 ระยะ คือ ประเมินก่อนการปฏิบัติการ โดยใช้การสำรวจฐานคะแนนนิยม ดำเนินในช่วงต้นฤดูการรณรงค์ เมื่อผู้สมัครได้เบอร์ประเมินระหว่างการปฏิบัติการโดยใช้การสำรวจฐานคะแนนนิยม ครั้งที่สองดำเนินการช่วงปลายของฤดูการรณรงค์ และนำผลการประเมินมาปรับยุทธวิธี และชี้นำการปฏิบัติงาน และสุดท้าย คือการประเมินผลหลังการปฏิบัติการ โดยการเปรียบเทียบคะแนนจากผลการเลือกตั้งกับเป้าคะแนนชนะ โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ สูงกว่าเป้า บรรลุเป้า และต่ำกว่าเป้า.
ผลการวิจัย จากการนำเอากระบวนการวางแผนไปใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอย่างครบวงจรและเป็นระบบ โดยเริ่มตั้งแต่การวางแผนปฏิบัติการ การนำแผนไปปฏิบัติ โดยมีการกำกับติดตาม และท้ายสุดมีการประเมินผล ทำให้ผู้สมัครสามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ คือ ชนะการเลือกตั้ง ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งทีม (3 คน)

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.

Subject(s):

หัวคะแนน -- ไทย -- นครศรีธรรมราช -- การประเมิน
การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง -- ไทย -- นครศรีธรรมราช

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

105 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1681
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b5083ab.pdf ( 136.94 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b5083.pdf ( 1,892.07 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×