ประสิทธิผลของการบริหารศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ : กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Publisher
Issued Date
1998
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
16, 154 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนที่ ; 30 ซม
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ดุสิต ทองสาย (1998). ประสิทธิผลของการบริหารศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ : กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1697.
Title
ประสิทธิผลของการบริหารศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ : กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Alternative Title(s)
Theeffectiveness of the Non-formal Education Service District Centers : a case study of Pranakhorn Sri-Ayutthaya province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพการดำเนินงานของการบริหารศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ประสิทธิผลของกิจกรรมการศึกษา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลผลของการดำเนินกิจกรรมการศึกษาของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สรุปผลที่ได้จากการศึกษาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน โดยนำผลที่ได้จากการศึกษาเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขในโอกาสต่อไป / การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานประจำศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ เป็นหน่วยวิเคราะห์ จำนวนตัวอย่างที่ใช้ทั้งหมด 203 ตัวอย่าง โดยกระจายตามหน่วยงานที่ให้บริการการศึกษาและศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทั้ง 16 อำเภอ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสำรวจประสิทธิผลของการบริหารศูนย์ ฯ ส่วนแรกประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ส่วนที่สอง เป็นแบบวัดความสำเร็จในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน 3 ประเภท คือ 1) ผลิตภัณฑ์การศึกษานอกโรงเรียน 2) ผลิตภัณฑ์การศึกษาตามอัธยาศัย 3) ผลิตภัณฑ์เสริมในระบบโรงเรียน และกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ได้แก่ 1) การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) การศึกษาต่อเนื่องสายสามัญ 3) การศึกษาต่อเนื่องสายอาชีพ 4) การศึกษาตามอัธยาศัย 5) ศูนย์การเรียน และเครือข่ายการเรียนรู้ที่เป็นวิถีชีวิต 6) การจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน ซึ่งมีกิจกรรมย่อย รวมกันได้ 32 กิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาในรูปของร้อยละ / ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ / ในภาพรวมพบว่า ผู้ปฏิบัติงานประจำศูนย์มีความเห็นต่อความสำเร็จของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนทั้ง 6 ด้าน 32 กิจกรรมย่อย มีความสำเร็จอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 52.5 โดยอธิบายความสำเร็จในแต่ละด้านดังนี้คือ / 1) ความสำเร็จของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 กิจกรรมย่อย มีความสำเร็จอยู่ในระดับค่อนข้างสูงคิดเป็นร้อยละ 65.0 2) ความสำเร็จของการศึกษาต่อเนื่องสายสามัญ (7 กิจกรรมย่อย) มีความสำเร็จอยู่ในระดับค่อนข้างสูง คิดเป็นร้อยละ 64.9 3) ความสำเร็จของการศึกษาต่อเนื่องสายอาชีพ (5 กิจกรรมย่อย) มีความสำเร็จอยู่ในระดับค่อนข้างสูงคิดเป็นร้อยละ 63.2 4) ความสำเร็จของการศึกษาตามอัธยาศัย (6 กิจกรรมย่อย) มีความสำเร็จอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 42.7 5) ความสำเร็จของการจัดศูนย์การเรียน และเครือข่ายการเรียนรู้ที่เป็นวิถีชีวิต (5 กิจกรรมย่อย) มีความสำเร็จอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 49.5.
6) ความสำเร็จของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน (6 กิจกรรมย่อย) มีความสำเร็จอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ คิดเป็นร้อยละ 34.9 / สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนพบปัจจัยที่มีความสำคัญค่อนข้างมาก ตามลำดับดังนี้คือ / 1) การขาดความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง / 2) การขาดภาวะผู้นำ / 3) การขาดบุคลากร / จากผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาใคร่ขอเสนอแนะให้ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ควรดำเนินการปรับปรุงแก้ไขดังนี้ / ข้อเสนอแนะ / เพื่อให้เกิดประสิทธิผลของการบริการศูนย์บริการทางการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ศึกษาในฐานะที่ปฏิบัติหน้าที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ จึงมีความคิดเห็นที่จะเสนอแนวทาง ในแต่ละประเด็น ตามลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จดังนี้ / 1. ความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีการวางแผนนโยบายการประสานแผนและการประสานการปฏิบัติการมองปัญหาร่วมกัน และการตั้งคณะทำงานติดตามแผนงานโครงการ การประเมินผลงานเพื่อหาแนวทางการแก้ไขร่วมกัน / 2. ภาวะผู้นำ ผู้บริหารจะต้องสามารถอธิบายแผนงานกิจกรรมทุกด้านโดยละเอียดชัดเจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเห็นประโยชน์และเป้าหมายของงานเพื่อถือปฏิบัติต่อไป รวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติได้เสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานมีอิสระทางความคิดและการให้ขวัญและกำลังใจต่อผู้ปฏิบัติพร้อมที่จะเข้าแก้ปัญหาในทุกเรื่องและทุกพื้นที่ตั้งแต่ระดับล่างถึงระดับบน / 3. บุคลากรควรจัดบุคลากรให้ตรงกับลักษณะงาน หรือการจัดทีมงานในลักษณะคณะกรรมการโครงการมีผู้จัดการโครงการทำหน้าที่บริหาร เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงานควรใช้และเสาะหาทรัพยากรในท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นกำลังสนับสนุนที่สำคัญ
6) ความสำเร็จของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน (6 กิจกรรมย่อย) มีความสำเร็จอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ คิดเป็นร้อยละ 34.9 / สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนพบปัจจัยที่มีความสำคัญค่อนข้างมาก ตามลำดับดังนี้คือ / 1) การขาดความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง / 2) การขาดภาวะผู้นำ / 3) การขาดบุคลากร / จากผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาใคร่ขอเสนอแนะให้ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ควรดำเนินการปรับปรุงแก้ไขดังนี้ / ข้อเสนอแนะ / เพื่อให้เกิดประสิทธิผลของการบริการศูนย์บริการทางการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ศึกษาในฐานะที่ปฏิบัติหน้าที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ จึงมีความคิดเห็นที่จะเสนอแนวทาง ในแต่ละประเด็น ตามลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จดังนี้ / 1. ความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีการวางแผนนโยบายการประสานแผนและการประสานการปฏิบัติการมองปัญหาร่วมกัน และการตั้งคณะทำงานติดตามแผนงานโครงการ การประเมินผลงานเพื่อหาแนวทางการแก้ไขร่วมกัน / 2. ภาวะผู้นำ ผู้บริหารจะต้องสามารถอธิบายแผนงานกิจกรรมทุกด้านโดยละเอียดชัดเจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเห็นประโยชน์และเป้าหมายของงานเพื่อถือปฏิบัติต่อไป รวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติได้เสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานมีอิสระทางความคิดและการให้ขวัญและกำลังใจต่อผู้ปฏิบัติพร้อมที่จะเข้าแก้ปัญหาในทุกเรื่องและทุกพื้นที่ตั้งแต่ระดับล่างถึงระดับบน / 3. บุคลากรควรจัดบุคลากรให้ตรงกับลักษณะงาน หรือการจัดทีมงานในลักษณะคณะกรรมการโครงการมีผู้จัดการโครงการทำหน้าที่บริหาร เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงานควรใช้และเสาะหาทรัพยากรในท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นกำลังสนับสนุนที่สำคัญ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1998.