dc.contributor.advisor | วิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษา | th |
dc.contributor.author | ดุสิต ทองสาย | th |
dc.date.accessioned | 2014-05-05T09:26:05Z | |
dc.date.available | 2014-05-05T09:26:05Z | |
dc.date.issued | 1998 | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1697 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1998. | th |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพการดำเนินงานของการบริหารศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ประสิทธิผลของกิจกรรมการศึกษา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลผลของการดำเนินกิจกรรมการศึกษาของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สรุปผลที่ได้จากการศึกษาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน โดยนำผลที่ได้จากการศึกษาเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขในโอกาสต่อไป / การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานประจำศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ เป็นหน่วยวิเคราะห์ จำนวนตัวอย่างที่ใช้ทั้งหมด 203 ตัวอย่าง โดยกระจายตามหน่วยงานที่ให้บริการการศึกษาและศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทั้ง 16 อำเภอ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสำรวจประสิทธิผลของการบริหารศูนย์ ฯ ส่วนแรกประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ส่วนที่สอง เป็นแบบวัดความสำเร็จในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน 3 ประเภท คือ 1) ผลิตภัณฑ์การศึกษานอกโรงเรียน 2) ผลิตภัณฑ์การศึกษาตามอัธยาศัย 3) ผลิตภัณฑ์เสริมในระบบโรงเรียน และกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ได้แก่ 1) การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) การศึกษาต่อเนื่องสายสามัญ 3) การศึกษาต่อเนื่องสายอาชีพ 4) การศึกษาตามอัธยาศัย 5) ศูนย์การเรียน และเครือข่ายการเรียนรู้ที่เป็นวิถีชีวิต 6) การจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน ซึ่งมีกิจกรรมย่อย รวมกันได้ 32 กิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาในรูปของร้อยละ / ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ / ในภาพรวมพบว่า ผู้ปฏิบัติงานประจำศูนย์มีความเห็นต่อความสำเร็จของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนทั้ง 6 ด้าน 32 กิจกรรมย่อย มีความสำเร็จอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 52.5 โดยอธิบายความสำเร็จในแต่ละด้านดังนี้คือ / 1) ความสำเร็จของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 กิจกรรมย่อย มีความสำเร็จอยู่ในระดับค่อนข้างสูงคิดเป็นร้อยละ 65.0 2) ความสำเร็จของการศึกษาต่อเนื่องสายสามัญ (7 กิจกรรมย่อย) มีความสำเร็จอยู่ในระดับค่อนข้างสูง คิดเป็นร้อยละ 64.9 3) ความสำเร็จของการศึกษาต่อเนื่องสายอาชีพ (5 กิจกรรมย่อย) มีความสำเร็จอยู่ในระดับค่อนข้างสูงคิดเป็นร้อยละ 63.2 4) ความสำเร็จของการศึกษาตามอัธยาศัย (6 กิจกรรมย่อย) มีความสำเร็จอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 42.7 5) ความสำเร็จของการจัดศูนย์การเรียน และเครือข่ายการเรียนรู้ที่เป็นวิถีชีวิต (5 กิจกรรมย่อย) มีความสำเร็จอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 49.5. | th |
dc.description.abstract | 6) ความสำเร็จของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน (6 กิจกรรมย่อย) มีความสำเร็จอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ คิดเป็นร้อยละ 34.9 / สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนพบปัจจัยที่มีความสำคัญค่อนข้างมาก ตามลำดับดังนี้คือ / 1) การขาดความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง / 2) การขาดภาวะผู้นำ / 3) การขาดบุคลากร / จากผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาใคร่ขอเสนอแนะให้ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ควรดำเนินการปรับปรุงแก้ไขดังนี้ / ข้อเสนอแนะ / เพื่อให้เกิดประสิทธิผลของการบริการศูนย์บริการทางการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ศึกษาในฐานะที่ปฏิบัติหน้าที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ จึงมีความคิดเห็นที่จะเสนอแนวทาง ในแต่ละประเด็น ตามลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จดังนี้ / 1. ความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีการวางแผนนโยบายการประสานแผนและการประสานการปฏิบัติการมองปัญหาร่วมกัน และการตั้งคณะทำงานติดตามแผนงานโครงการ การประเมินผลงานเพื่อหาแนวทางการแก้ไขร่วมกัน / 2. ภาวะผู้นำ ผู้บริหารจะต้องสามารถอธิบายแผนงานกิจกรรมทุกด้านโดยละเอียดชัดเจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเห็นประโยชน์และเป้าหมายของงานเพื่อถือปฏิบัติต่อไป รวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติได้เสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานมีอิสระทางความคิดและการให้ขวัญและกำลังใจต่อผู้ปฏิบัติพร้อมที่จะเข้าแก้ปัญหาในทุกเรื่องและทุกพื้นที่ตั้งแต่ระดับล่างถึงระดับบน / 3. บุคลากรควรจัดบุคลากรให้ตรงกับลักษณะงาน หรือการจัดทีมงานในลักษณะคณะกรรมการโครงการมีผู้จัดการโครงการทำหน้าที่บริหาร เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงานควรใช้และเสาะหาทรัพยากรในท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นกำลังสนับสนุนที่สำคัญ | th |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2014-05-05T09:26:05Z (GMT). No. of bitstreams: 2
nida-ths-b96747.pdf: 3385778 bytes, checksum: c1d94c4099569210d874b712aeb2852f (MD5)
nida-ths-b96747ab.pdf: 160760 bytes, checksum: 6f12d3a7b3fa8ce62f17369b23c4a40d (MD5)
Previous issue date: 1998 | th |
dc.format.extent | 16, 154 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนที่ ; 30 ซม | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject.lcc | LC 45.8 .T52A9 ด48 | th |
dc.subject.other | การศึกษานอกระบบโรงเรียน -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา | th |
dc.subject.other | ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน | th |
dc.subject.other | การศึกษานอกระบบโรงเรียน -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา -- การบริหาร | th |
dc.title | ประสิทธิผลของการบริหารศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ : กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา | th |
dc.title.alternative | Theeffectiveness of the Non-formal Education Service District Centers : a case study of Pranakhorn Sri-Ayutthaya province | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | th |
thesis.degree.discipline | การจัดการการพัฒนาสังคม | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะพัฒนาสังคม | th |