Now showing items 1-20 of 21

  • Thumbnail

    การตอบสนองของแรงงานต่อภาวะโลกาภิวัตน์ : กรณีศึกษาแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ จังหวัดฉะเชิงเทรา 

    ปนัดดา สินอาภา; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1995)
  • Thumbnail

    การประยุกต์วิชาการของผู้สำเร็จการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ 

    เสรี เจริญศิริ; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1971)

    ผู้เขียนวิทยานิพนธ์มุ่งศึกษาผู้สำเร็จการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498-2509 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบว่า ผู้สำเร็จการศึกษาในด้านนี้มีความซาบซึ้งต่อวิชาการเพียงใด มีความขัดข้องใจ หรือมีโอกาสได้ประยุกต์วิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการปฏิบัติงานในชีวิตจริงเพียงใด มีอะไรที่เป็นปัญหาและข้อจำกัดในการประยุกต์วิชาการ และถ้าผู้ที่สำเร็จการศึกษาอยู่ในสภาพที่ไม่อาจประยุกต์วิชาการได้นั้น เขามีความยุ่งยากเพียงไร.
  • Thumbnail

    การประเมินประสิทธิภาพการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการปกครองท้องที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 

    สุมิตรา อำนวยศิริสุข; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1992)

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการปกครองท้องที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยการเปรียบเทียบกำนันผู้ใหญ่บ้านที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการปกครองท้องที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชกับกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ไม่รับการศึกษาตามหลักสูตรฯ ในเรื่องความรู้ความเข้าใจในบทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ความรู้ความเข้าใจในการวางแผนและการบริหารงานพัฒนา ความรู้ความเข้าใจในบทบาทของตำแหน่งกรรมการสภาตำบลต่อโครงการสร้างงานในชนบท และความรู้ความเข้าใจในภา ...
  • Thumbnail

    การมีภาวะเป็นสถาบันของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 

    ชาตรี วงศ์มาสา; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1994)

    การมีภาวะเป็นสถาบัน เป็นแนวความคิดทางสังคมวิทยาที่พยายามและอธิบายการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม โดยเห็นว่าสังคมจะเกิดความเป็นปึกแผ่นและอยู่รอดต่อไปได้นั้น ขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มคนในสังคมได้ให้การยอมรับในระเบียบแบบแผนของสังคมหรือไม่ และมีการถือปฏิบัติตามในระเบียบแบบแผนของสังคมเพียงใด
  • Thumbnail

    การยอมรับวัสดุอุปกรณ์การเกษตรของเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร\ 

    วิทยา เจียรพันธุ์; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1991)

    การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภูมิหลังและลักษณะโครงสร้างทางสังคมเศรษฐกิจในระดับครัวเรือนของเกษตรกร (2) ศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการยอมรับวัสดุอุปกรณ์การเกษตร (ว.ก.) ของเกษตรกร (3) ศึกษาคุณลักษณะเฉพาะของเกษตรกรที่ไม่ยอมรับ ว.ก. และเกษตรกรที่ยอมรับ ว.ก.
  • Thumbnail
  • Thumbnail

    การศึกษาเปรียบเทียบการยอมรับภาวะโลกาภิวัตน์ของชุมชนชนบท 

    ส้มป่อย จันทร์แสง; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1995)
  • Thumbnail

    ความไม่สอดคล้องในความคาดหวังบริการระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการของสถานบริการการแพทย์และการสาธารณสุขของรัฐ 

    พีระพล เลาหเสรีกุล; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1994)
  • Thumbnail

    ทัศนคติของนักศึกษาแพทย์ต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุขในชนบท 

    จำรูญ มีขนอน; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967)

    การศึกษาเรื่องนี้เป็นการวิจัยสนาม โดยมุ่งศึกษาถึงทัศนคติของนักศึกษาแพทย์ทุกคนในโรงเรียนแพทย์ทั้ง 3 แห่ง คือ คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ จากผลการศึกษาปรากฏว่าการสาธารณสุขของไทยเราได้เจริญก้าวหน้าตามแบบอารยประเทศ แต่ในการให้บริการแก่ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ที่อยู่ในชนบทยังไม่ทั่วถึง เพราะขาดแคลนแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้พยายามหาทางแก้ไขตลอดมา แต่ไม่บังเกิดผลดีเท่าที่ควร.
  • Thumbnail

    ทัศนคติของนักเรียนเตรียมทหารในการเลือกเหล่าทัพ 

    เจือ จันทร์เพ็ญ; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968)

    ปัญหาเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคคลเข้าเหล่าทัพต่าง ๆ ณ โรงเรียนเตรียมทหารสืบเนื่องมาจากผลของการรวมโรงเรียนเตรียมในราชการกองทัพบก เรือ อากาศ และปัจจุบันรวมการศึกษาของนักเรียนเพื่อเตรียมเข้าศึกษาในชั้นสูงของทหารและตำรวจถึง 6 เหล่า อาชีพทั้ง 6 นี้ มีลักษณะของงาน วิถีทางในการดำเนินชีวิต เกียรติภูมิ สถานะในทางสังคม เศรษฐกิจ และอำนาจต่างกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อมีการคัดเลือกเข้าเหล่าทัพต่าง ๆ แล้ว มักมีการสับเปลี่ยนเหล่าระหว่างนักเรียนอยู่เสมอ การคัดเลือกก็ไม่อาจปฏิบัติไปตามหลักการความสามารถ และหลักการบรรจุอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะความต้องการของ ...
  • Thumbnail

    ทัศนคติต่อภาวะโลกาภิวัตน์ของผู้นำชุมชนชนบท : กรณีศึกษา : อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา 

    รุจิรา ทวีรัตน์; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1995)
  • Thumbnail

    บทบาทของศึกษานิเทศก์ในทัศนะของครูที่ได้รับการนิเทศ 

    ศักดิ์สุบรรณ ลังกาพินธุ์; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1969)

    การนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนหรือบุคคลที่ดำรงตำแหน่งสองตำแหน่งโดยฝ่ายหนึ่งเป็นตัวการที่จะเข้าไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสภาพการทำงาน ฝ่ายที่มีหน้าที่เข้าไปเป็นตัวการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้คือศึกษานิเทศก์ วัตถุประสงค์ในการศึกษาเรื่องนี้เพื่อพิจารณาพฤติกรรมของศึกษานิเทศก์ในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานช่วยเหลือครู ทั้งนี้เพื่อทราบว่า ศึกษานิเทศก์ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของครูในเรื่องการสอนได้ดีเพียงไร นอกจากนี้ การศึกษายังมุ่งเพื่อตอบปัญหาว่ามีวิธีใดบ้างที่จะมีประสิทธิภาพกว่า หรือที่จะสามารถช่วยส่งเสริมประสิทธิ ...
  • Thumbnail

    ประสิทธิผลของการเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นตามสิทธิ ภายใต้การคุ้มครองของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของโรงพยาบาลตำรวจ 

    จิรวัส ฉัตรไชยสิทธิกูล; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1996)

    การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สองประการ คือ ประการแรก เพื่อค้นหาประสิทธิผลของการเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นตามสิทธิ ภายใต้การคุ้มครองของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของโรงพพยาบาลตำรวจ ในกรณีที่ผู้ประสบภัยมอบอำนาจให้โรงพยาบาลตำรวจ เป็นผู้จัดเก็บค่าเสียหายเบื้องต้นแทนตน ประการที่สอง เพื่อค้นหาแนวทางในการปรับปุรง และพัฒนาระบบการเรียกค่าเสียหายเบื้องต้น ภายใต้การคุ้มครองของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น /ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตการศึกษาไว้ 2 ด้าน คือ ศึกษาจากเอกสาร (Document) เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของระบบย่อย ...
  • Thumbnail

    ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยความจำเป็นพื้นฐาน 

    นวลจันทร์ ศักดิ์ธนากูล; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1991)

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยความจำเป็นพื้นฐาน ได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวคณะกรรมการหมู่บ้าน ประชาชนในหมู่บ้าน และคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล (คปต.) โดยศึกษา 2 กลุ่มหมู่บ้าน คือ กลุ่มหมู่บ้านที่ไม่สามารถแก้ปัญหาที่ตกเกณฑ์ จปฐ. และกลุ่มหมู่บ้านที่สามารถแก้ปัญหาที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ได้ จากผลการสำรวจ จปฐ. ปี พ.ศ. 2529 กับปี พ.ศ. 2530 ของตำบลวังน้ำเย็น อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ตามปัญหาที่ตกเกณฑ์ จปฐ. คือ เรื่องการขาดสารอาหารในเด็ก และการปลูกพ ...
  • Thumbnail

    ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ : ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการบำนาญกระทรวงมหาดไทย 

    อุทัยวรรณ กสานติ์สกุล; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)

    การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุกับสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ความพอใจในสถานภาพการเงิน การรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์กับเพื่อน และการใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรม3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ
  • Thumbnail

    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในโครงการสาธารณสุขมูลฐาน : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดนครนายก 

    สุวารี สุขุมาลวรรณ์; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1991)

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในโครงการสาธารณสุขมูลฐาน โดยศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดนครนายก ซึ่งศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มด้วยกัน คือ อสม. 31 คน ผสส. 89 คน และมีผู้ที่ร่วมให้ข้อมูลในการประเมินผลการปฏิบัติงานรวมทั้งสิ้น 333 คน โดยใช้แบบสอบถาม แนวคำถามสัมภาษณ์ และการสัมภาษณ์เจาะลึก (Dept Interview) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson product moment correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อน ...
  • Thumbnail

    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมโนภาพแห่งตนของคนพิการ 

    จิตรา ศิริสมบูรณ์ลาภ; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1994)
  • Thumbnail

    ปัญหาการประสานงานของผู้ว่าราชการจังหวัด 

    สันติ เกรียงไกรสุข; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1969)

    ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการประสานงานในส่วนภูมิภาค ในแง่การร่วมมือกันปฏิบัติจัดทำโครงการจังหวัดระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดกับหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดแผนกต่าง ๆ ศึกษาสาเหตุของปัญหา โดยศึกษาถึงการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคปัจจุบันว่า มีศูนย์กลางการปกครองบริหารและเอกภาพในการปกครองบังคับบัญชาหรือไม่ ตลอดจนลักษณะการเหลื่อมล้ำและขัดแย้งไม่เป็นแบบเดียวกันของบทบัญญัติบางมาตรา แล้วเสนอวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากความคิดเห็นของผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดที่มีต่อการติดต่อราชการ การควบคุมและเอกภาพในการบริหารราชการในส่วนภูมิภาค ...
  • Thumbnail

    สถาบันผู้นำและการปกครองตัวเองของชาวเขาเผ่าแม้ว : บทศึกษาเฉพาะกรณีแม้วที่บ้านขุนสถาน อำเภอน้อย จังหวัดน่าน 

    ภักดี ชมภูมิ่ง; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967)

    ผู้เขียนวิทยานิพนธ์มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงรูปลักษณะของการปกครองตนเองของชาวเขาเผ่าแม้ว ที่มาของอำนาจในการปกครอง ผู้ที่ใช้อำนาจในการปกครอง สถานะของหัวหน้าเผ่า ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ ในการปกครองและฐานะทางการปกครองของประชาชนชาวแม้ว รวมทั้งพิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนและเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองของพวกชาวเขา โดยมุ่งพิจารณาในด้านสภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ ศาสนา ลัทธิความเชื่อ และความสัมพันธ์ระหว่างแม้วกับบุคคลภายนอก ตลอดจนความสัมพันธ์ในระหว่างแม้วในหมู่บ้านเดียวกันควบคู่กันไป การที่ผู้เขียนเลือกศึกษาชาวเขาเผ่าแม้ว เพราะชาวเขาเผ่ ...
  • Thumbnail