Now showing items 1-20 of 44

  • Thumbnail

    การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น : ศึกษากรณีการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในระดับจังหวัด 

    ภิรมย์พร ไชยยนต์; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการกระจายอานาจการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบการปกครองตนเอง ปัญหาและอุปสรรคของการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย และเพื่อวิเคราะห์แนวทางในการกระจายอานาจการปกครองส่วนท้องถิ่นและรูปแบบการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในระดับจังหวัด โดยมีขอบเขตการศึกษา คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เรื่อง การปกครองส่วนท้องถิ่นและร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องโดยวิเคราะห์โครงสร้าง อานาจหน้าที่ การกำกับดูแล การคลังและงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น ...
  • Thumbnail

    การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยจากการดักฟังทางโทรศัพท์และการได้มาซึ่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 14 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 

    นิทธันต์ ขันธรูจี; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013)

    ในการก่ออาชญากรรมในคดียาเสพติดล้วนแล้วแต่มีผลประโยชน์มหาศาลมาเกี่ยวข้องทำให้การวางแผนการในการกระทำความผิดมีความซับซ้อนมีกิจกรรมในองค์กรหลายลักษณะ ฉะนั้นองค์กรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาจึงจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบในการแสวงหาข้อเท็จจริงตลอดจนพยานหลักฐานในการที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษให้ได้ มิเช่นนั้นสังคมก็จะดำรงอยู่ไม่ได้ เพราะเหตุนี้เองในพฤติการณ์พิเศษในบางกรณีเจ้าพนักงานของรัฐจำเป็นต้องนำมาตรการสืบสวนวิธีพิเศษสมัยใหม่ให้มีความทันสมัยต่อเทคโนโลยีและการพัฒนารูปแบบของการกระทำความผิด วิธีการสืบสวนสอบสสวนที่เคยใช้อยู่เดิมจึงไม่อาจนำตัวผู้กระทำควา ...
  • Thumbnail

    การจัดตั้งหน่วยธุรกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย 

    ภัชณภา จันทร์อาภาส; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    หน่วยธุรกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรทางธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อันได้แก่ พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทําบริการสาธารณะ ในทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมและอยู่ภายใต้การกํากับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้หน่วยธุรกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระในทางการเงินการจัดการบุคลากรและ การดําเนินงานในลักษณะทํานองเดียวกับรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นหน่วยธุรกิจของรัฐ ปัจจุบันหน่วยธุรกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเท ...
  • Thumbnail

    การนำโทษปรับทางปกครองมาใช้กับกฎหมายภาษีโรงเรือนเเละที่ดิน 

    ทวีสรรพ์ พัดทอง; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    โดยที่ภาษีโรงเรือนเเละที่ดินจัดเป็นรายได้ที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นภาษีที่ประเมินโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งกฎหมายได้กำหนดหน้าที่ให้ผู้รับประเมิน ผู้เช่า ผู้ครองทรัพย์สินมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เเละการให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบเเละประเมินภาษี โดยมีบทลงโทษทางอาญาไว้ลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือไม่ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก โดยมีอัตราโทษต่ำมาก คือ โทษปรับสูงสุดกำหนดให้ปรับได้ไม่เกิน 200 บาท หรือ 500 บาท จึงไม่ก่อให้เกิดความเกรงกลัวเเละเป็นเ ...
  • Thumbnail

    การบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในพระพุทธศาสนา : ศึกษาเฉพาะกรณีเงินบริจาค 

    กฤติน จันทร์สนธิมา; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    วัดในพระพุทธศาสนาเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่แสวงหาผลกาไร มีเงินหมุนเวียนอยู่ในระบบจำนวนมาก โดยมีเงินหมุนเวียนในรูปแบบของรายได้และรายจ่ายของระบบวัดอยู่ประมาณ100,000-120,000 ล้านบาทต่อปี จากวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์รวมทั้งสิ้น 37,075 วัด (ข้อมูล ณ วันที่31 ธันวาคม 2553) รายรับรวมโดยเฉลี่ยของวัดเท่ากับ 3,235,692 บาทต่อปี ส่วนมากจะมาจากเงินบริจาคเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะด้าน เช่น งานซ่อมแซม โบสถ์หรือศาสนสถานอื่นๆ อีกทั้งวัดทั้งในกรุงเทพมหานครและวัดในภูมิภาคจะมีแหล่งรายรับสาคัญที่มาจากการบริจาคทาบุญมากที่สุดดังนั้น เงินบริจาคจึงเป็นรายรับสาคัญของพระศาสนา ...
  • Thumbnail

    การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษของกรุงเทพมหานคร : ศึกษากรณีการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน 

    จักรกฤษณ์ คันธานนท์; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013)

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพความเป็นมาของกรุงเทพมหานครตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ศึกษาโครงสร้างและอำนาจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษของ กรุงเทพมหานครและศึกษาโครงสร้างและอำนาจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของต่างประเทศ ศึกษาถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษของ กรุงเทพมหานคร วิเคราะห์หาแนวทางการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษของ กรุงเทพมหานคร โดยมุ่งเน้นศึกษาการปฏิรูปด้านโครงสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ...
  • Thumbnail

    การมีส่วนร่วมของชุมชนสงฆ์ตามบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิชุมชน มาตรา 66 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ศึกษาเฉพาะกรณีโครงการพุทธอุทยาน 

    อัษฎาวุธ วสนาท; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งหมายเพื่อทำการศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายในการจัดตั้งพุทธอุทยาน ผ่านกรณีศึกษาโครงการพุทธอุทยานในพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาถึงความ สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการจัดตั้งพุทธอุทยานในพระพุทธศาสนานับแต่ครั้งพุทธกาลที่มีปรากฏ ในพระไตรปิฎกซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการจัดตั้งพุทธอุทยานในพระพุทธศาสนา รวมถึงได้ ทำการศึกษาว่าการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของพุทธอุทยานของชุมชน สงฆ์ในปัจจุบันนั้นเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในส่วนที่ว่าด้วยสิทธิชุมชนหรือไม่
  • Thumbnail

    การระงับข้อพิพาทในสัญญาทางปกครองโดยอนุญาโตตุลาการ 

    เยี่ยม อรุโณทัยวิวัฒน์; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    การศึกษาเรื่องนี้เป็นการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการนําวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือก โดยอนุญาโตตุลาการมาใช้ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากสัญญาทางปกครอง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงหลักการระงับข้อพิพาทในสัญญาทางปกครองโดยวิธีการอนุญาโตตุลาการ รวมทั้ง ปัญหาการใช้บังคับพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 กับการระงับข้อพิพาทในสัญญา ทางปกครอง เนื่องจากสัญญาทางปกครองเป็นสัญญาที่มีลักษณะพิเศษ โดยมุ่งเน้นให้ภารกิจในการจัดทํา บริการสาธารณะของรัฐบรรลุผล และมุ่งคุ้มครองประโยชน์มหาชนหรือประโยชน์สาธารณะมากกว่า ประโยชน์ของเอกชนเสมอ ดังนั้น สัญญาทางปกครองจึงต้องมีผ ...
  • Thumbnail

    การลงโทษประหารชีวิตในประเทศไทยกับหลักความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 

    พัชรินทร์ วิทยาเอนกนันท์; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    วิทยานิพนธ์นี้ศึกษา การลงโทษประหารชีวิตในประเทศไทยกับหลักความคุ้มครองศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวความคิดการลงโทษประหารชีวิตและหลักการ คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ว่าแท้จริงแล้วการที่รัฐให้ความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จะทํา ให้แนวความคิดการลงโทษประหารชีวิตที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่สอดคล้องกับศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์มากน้อยเพียงใด
  • Thumbnail

    การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองของประชาชน : ศึกษากรณีปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากระบบศาลและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 

    บัญชา แสงจันทร์; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคในการเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมทางปกครองของประชาชนที่เกิดจากระบบศาลและวิธีจารณาคดีปกครอง ตลอดจนปัญหาที่ ศาลปกครองและรัฐขาดมาตรการช่วยเหลือประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง ผลจากการวิจัยพบว่า 1. ความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในบางกรณีทำให้เกิดความ เห็นไม่ลงรอยกันในเรื่องเขตอำนาจศาลที่จะให้ศาลใดเป็นผู้พิจารณาคดีระหว่างศาลปกครองกับศาล ยุติธรรม 2. เงื่อนไขการฟ้องคดีที่ต้องมีการอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองก่อน หากไม่ดำเนินการศาลก็ จะไม่รับคำฟ้อง 3. การกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองช ...
  • Thumbnail

    การโอนอำนาจสอบสวนที่มิใช่ภารกิจหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปให้หน่วยงานราชการอื่น 

    สิริมา นองมณี; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงภารกิจอำนาจหน้าที่ของตำรวจตามหลักสากล 2) เพื่อศึกษาถึงการจัดองค์การในการบริหารงานและการจัดภารกิจสอบสวนของตำรวจใน ต่างประเทศ 3) เพื่อศึกษาถึงการจัดองค์การในการบริหารงานและการจัดภารกิจสอบสวนของตำรวจ ในประเทศไทย และ 4) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการโอนอำนาจสอบสวนที่มิใช่ภารกิจ หลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปให้หน่วยงานราชการอื่น วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ด้วยการศึกษาค้นคว้าจาก ตำรา เอกสารทางวิชาการ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติพ.ศ.2547 พระราช กฤษฎีกาแบ่ ...
  • Thumbnail

    การได้มาซึ่งตุลาการหรือผู้พิพากษากับความชอบธรรมในทางประชาธิปไตย 

    ศันสนีย์ ช้างเปี่ยม; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    จากประเด็นปัญหาที่ได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ออกมาเสนอให้มีการยุบศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญให้กลายเป็นแผนกหนึ่งของศาลฎีกาแล้วให้กลับไปใช้รูปแบบคณะตุลาการศาล รัฐธรรมนูญ รวมทั้งให้มีการปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งตุลาการหรือผู้พิพากษา โดยกล่าวอ้าง ถึงการได้มาซึ่งตุลาการหรือผู้พิพากษาปราศจากซึ่งความชอบธรรมในทางประชาธิปไตย ผู้วิจัยได้ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหากรณีองค์กรตุลาการต้องเผชิญกับข้อกล่าวอ้างถึงความขอบธรรม ในทางประชาธิปไตยกับการไต้มาซึ่งตุลาการหรือผู้พิพากษาตังกล่าว และหากมีการยุบศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญโดยกลับไปใช้ระบบศาลเตี่ ...
  • Thumbnail

    ขอบเขตของการเป็น"ผู้ใช้": ศึกษากรณีผู้ถูกใช้ตัดสินใจกระทำความผิดเเล้วต่อมาเปลี่ยนใจไปกระทำความผิดอันใหม่ที่เป็นผลมาจากการก่อให้กระทำความผิด 

    พงศ์พิงค์ มูลพงศ์อนุพันธุ์; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    ในเรื่องผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคนในคดีอาญา ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึง เฉพาะ ผู้ร่วมกระทำความผิดที่เป็นผู้ใช้ ผู้สนับสนุนเท่านั้น ในกรณีที่มีผู้กระทำความผิดหลายคน เนื่องจากในระบบกฎหมายอาญาของไทย เป็นระบบที่ยอมรับหลักการลดหย่อนโทษผุู้ร่วมกระทำความผิด ดังนั้นหากเกิดกรณีที่ต้องวิเคราะห์ว่าผู้ใดเป็นผู้ใช้ เเละผู้ใดเป็นผู้สนับสนุน ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ เราจะใช้หลักเกณฑ์อะไรมาเป็๋นจุดแบ่งแยกของการาใช้เเละการสนับสนุน นอกจากนี้ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะต้องรับผิดในฐานอะไรบ้าง โดยเฉพาะเมื่อปี 2553 เนติบัญฑิตยสภาได้ออกข้อสอบกลุ่มวิชาอาญา เพื่อทดสอบน ...
  • Thumbnail

    ความเหมาะสมของการนำวิธีการไกล่เกลี่ยมาใช้ในการระงับข้อพิพาททางปกครองในศาลปกครอง 

    อมรรัตน์ อำมาตเสนา; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองในศาลปกครอง และศึกษาว่าการนำวิธีการไกล่เกลี่ยมาใช้ระงับข้อพิพาทในคดีปกครองนั้นเหมาะสมหรือไม่หากนำมาใช้ควรจะมีขอบเขต หลักเกณฑ์และกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาทในคดีปกครองในศาลปกครองอย่างไร ทั้งนี้การกำหนดหลักเกณฑ์หรือกระบวนการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองนั้นดำเนินไปโดยถูกต้อง เหมาะสม รักษาไว้ซึ่งหลักการในทางกฎหมายมหาชน อีกทั้งยังจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมในคดีปกครองและคุ้มครองประโยชน์สาธารณะของประชาชนแ ...
  • Thumbnail

    บทบาท อำนาจหน้าที่ และที่มาของวุฒิสภาที่เหมาะสมกับประเทศไทย 

    ศักดา ศรีทิพย์; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    ประเทศไทยมีวุฒิสภาเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2489 เรียกว่า “พฤฒสภา” มาจากการ เลือกตั้งโดยทางอ้อม โดยกําหนดให้วุฒิสภามีบทบาทในการยับยั้งร่างกฎหมาย เมื่อรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489 ถูกยกเลิก รัฐธรรมนูญฉบับต่อมาจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ.2534 ได้กําหนดบทบาทให้วุฒิสภาเป็นผู้ค้ําจุนอํานาจและเสถียรภาพให้แก่รัฐบาล สมาชิก วุฒิสภาจึงมาจากการแต่งตั้งโดยตลอด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมวิทยาการเมืองในขณะนั้น เนื่องจากรัฐบาลไร้เสถียรภาพ การให้นายกรัฐมนตรีเสนอรายชื่อสมาชิกวุฒิสภา เป็นการผ่อนคลาย ความตึงเครียดทางการเมือง ทําให้รัฐบาลได้ร ...
  • Thumbnail

    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิ กรณีที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล 

    ปิ่นวดี เกสรินทร์; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    เจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับการบริการสาธารณสุข คือ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอ ภาคกันในการรับบริการด้านสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน โดยผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการ รักษาพยาบาลจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขจากรัฐต้องเป็นไปอย่าง ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 มี เจตนารมณ์ให้ทุกคนได้รับสิทธิบริการด้านสาธารณสุขที่มีมาตรฐานเดียวกันอย่างทั่วถึงและครอบคลุม ทุกคน พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้ได้รับความเสียหายจากการรั ...
  • Thumbnail

    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการฟื้นฟูเมืองแบบพัฒนาขึ้นใหม่ 

    จักรี อดุลนิรัตน์; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    การศึกษาเรื่องนี้เป็นการศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการฟื้นฟูเมืองแบบพัฒนาขึ้นใหม่ โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงรูปแบบของการฟื้นฟูเมืองแบบพัฒนาขึ้นใหม่ (Urban Redevelopment) รวมทั้งศึกษาถึงปัญหาการปรับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูเมืองในปัจจุบันกับการฟื้นฟูเมือง แบบพัฒนาขึ้นใหม่ การฟื้นฟูเมืองแบบพัฒนาขึ้นใหม่ (Urban Redevelopment) คือ การฟื้นฟูเมืองบริเวณใด บริเวณหนึ่งที่มีสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม หรือไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพ โดยการรื้อถอน อาคารและโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิมแล้วก่อสร้างขึ้นมาใหม่แตกต่างจากเดิมเพื่อให้มีลักษณะทาง ...
  • Thumbnail

    ปัญหาการจำกัดสิทธิของบุคคลหรือคณะบุคคลที่กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 

    สิริกร สายสิน; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาถึงความหมาย ขอบเขตและข้อจำกัดบางประการ ของการจำกัดสิทธิของบุคคลหรือคณะบุคคลที่กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ 2. ศึกษา เปรียบเทียบการจำกัดสิทธิของบุคคลหรือคณะบุคคลที่กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญตาม กฎหมายต่างประเทศ 3. วิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาของบุคคลหรือคณะ บุคคลที่กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
  • Thumbnail

    ปัญหาการตรวจสอบการใช้อำนาจชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติโดยศาลปกครอง 

    กฤษณี มหาวิรุฬห์; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อให้ทราบอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในการชี้มูลความผิดทางวินัยของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทราบการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตและการดําเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริตในต่างประเทศ และ เพื่อให้ทราบปัญหาการตรวจสอบการใช้อํานาจในการชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติโดยศาลปกครองพร้อมข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา โดยมี สมมติฐานในการศึกษาคือ ปัญหาเกี่ยวกับขอบเขตการใช้อํานาจในการชี้มู ...
  • Thumbnail

    ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 

    พระคทาวุธ คเวสกธมโม (เพ็งที); บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021)

    ดุษฎีนิพนธ์นี้ เพื่อศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ใน 3 ประเด็น คือ สถานะและผู้แทนของวัด ที่ดินวัด และข้อพิพาททางปกครองคณะสงฆ์ ผลที่ได้จากการศึกษามีดังต่อไปนี้ ประเด็นที่หนึ่ง สถานะของวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมากับสำนักสงฆ์ ตามมาตรา 31 วรรคแรก  ถือเป็นนิติบุคคลทางกฎหมายมหาชน ตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของการบัญญัติกฎหมายตามที่ได้ปรากฏในรายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ทั้งยังเป็นไปตามแนวคิดทฤษฎีที่สมมติว่านิติบุคคลเป็นบุคคล  ...