Browsing คณะและวิทยาลัย by Author "ภัคพงศ์ พจนารถ"
Now showing items 1-7 of 7
-
การวิเคราะห์ลักษณะระยะยาวของมลพิษอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ศุภนันท์ จิรโสภณ; ภัคพงศ์ พจนารถ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)
การศึกษาลักษณะมลพิษทางอากาศในพื้นที่ชุมชน (Residential Area) ภายในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซโอโซน (O3) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมโครเมตร (PM10) และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมโครเมตร (PM2.5) อาศัยข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบกึ่งถาวรของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 10 สถานี ระหว่างปี พ.ศ. 2549 – 2559 โดยศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงระยะยาว และลักษณะของมลพิษในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนอัตราส่วนความสัมพันธ์ของฝุ่น ... -
การศึกษาทัศนวิสัยระยะยาวในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา
ลัดดา ทะสะโส; ภัคพงศ์ พจนารถ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
ทัศนวิสัยในการมองเห็นนับเป็นปัจจัยที่สำคัญในชีวิตประจำวัน และถือเป็นพารามิเตอร์มาตรฐานทางอุตุนิยมวิทยา ดังนั้นในการศึกษานี้เป็นการศึกษาทัศนวิสัยระยะยาวในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา ได้แก่ ปริมาณเมฆ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณฝน ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทัศนวิสัยรวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาที่มีผลต่อทัศนวิสัยในประเทศไทย โดยศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิประกอบด้วยข้อมูลทัศนวิสัย ข้อมูลเมฆ ข้อมูลความชื้นสัมพัทธ์ และข้อมูลปริมาณน้ำฝน ราย 3 ชั่วโมง ระยะเวลา 10 ปี ... -
การศึกษาเชิงเปรียบเทียบความยั่งยืนทางธุรกิจในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก : กรณีศึกษาองค์การธุรกิจในประเทศไทย
วรรณฉัตร กิจเกษมสิน; ภัคพงศ์ พจนารถ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021)
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพรวมของระดับความสามารถในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการศึกษาเชิงเปรียบเทียบของกระบวนการในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ โดยใช้กรณีศึกษาองค์การธุรกิจ 2 กลุ่ม อันได้แก่ กลุ่มองค์การธุรกิจที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 7 กลุ่มธุรกิจ (SET) และกลุ่มองค์การธุรกิจภาคอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง (MAPTAPHUT) เป็นการศึกษาปัจจัยด้านองค์การ จำนวน 7 ปัจจัย และปัจจัยด้านกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อม จำนวน 13 ปัจจัย และ 88 ประเด็นย่อย ที่มีผลต่อระดับความสามารถใน ... -
คุณลักษณะและปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโทรโพสเฟียริกโอโซนในทวีปเอเชีย
อรพรรณ แพกุล; ภัคพงศ์ พจนารถ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
การศึกษาสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของโอโซนในทวีปเอเชีย โดยใช้ข้อมูลของโอโซนจาก สถานีตรวจวัด 15 แห่งในทวปีเอเชีย ปีค.ศ. 2004 โดยเปรียบเทียบกับการเคลื่อนตัวของมวลอากาศ แบบย้อนกลับเป็นระยะเวลา 10 วัน ด้วยแบบจำลอง HYSPLIT และจำแนกทิศทางการเคลื่อนตัว มวลอากาศเป็น 8 ทิศทางพบว่า มวลอากาศส่วนใหญ่มาจากทิศตะวันตก (W) รองลงมาคือ ทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ (NW) โดยโอโซนในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกมีค่าความเข้มข้นสูงเมื่อมวล อากาศเคลื่อนตัวมาจากทิศ W และผ่านแหล่งกำเนิดมลพิษภายในทวีป เช่น สถานีMt.Tai มีค่าเฉลี่ย รายปีโอโซนเท่ากบั 57.3 ppb รองลงมา สถานี Happo (55.9 ppb) สถานี ... -
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศในประเทศจีน กรณีศึกษา : โอโซน (O3)
สายันต์ บุญพิทักษ์; ภัคพงศ์ พจนารถ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
ประเทศจีนมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดปัญหาการเพิ่มขึ้นของโอโซน (O3 ) จึงได้ทำการศึกษาความเข้มข้นของโอโซนจาก 3 สถานีในประเทศจีน ได้แก่ ภูเขาไท้ (Mountain Tai) ภูเขาหัว (Mountain Hua) และภูเขาหวง (Mountain Huang) ในระหว่างปี ค.ศ.2004-ค.ศ.2007 เพื่อศึกษาปัจจยัที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ โอโซนโดยใช้แบบจำลอง HYSPLIT เพื่อศึกษาลักษณะการเคลื่อนตัวของมวลอากาศในรูปแบบ ของการประมวลผลย้อนกลับย้อนหลัง10วันก่อนเข้าสู่พื้นที่ศึกษาในระหว่าง ปีค.ศ.2004-ค.ศ.2007 ร่วมกับค่าความเข้มข้นของโอโซนจาก3 สถานี ได้แก่ ... -
ผลกระทบจากปรากฏการณ์ El Nino-Southern Oscillation (ENSO) ต่อปริมาณผลผลิตพืชอาหารในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
กมนทัต มูลศรี; ภัคพงศ์ พจนารถ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุดในประเทศไทย และมักประสบปัญหาภัยแล้งทำให้เกิดความเสียหายต่อปริมาณผลผลิตเมื่อทำการเก็บเกี่ยว โดยการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ENSO กับผลผลิตพืชอาหารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อผลผลิตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยวิธีการศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ข้อมูลดัชนีการเกิดปรากฏการณ์ ENSO (Oceanic Nino Index) ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลผลผลิตอ้อยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงระยะเวลา 20 ปี ตั้งแต่ปี ... -
ผลของแหล่งคาร์บอนอนินทรีย์ต่อการผลิตไบโอไฮโดรเจนจากไซยาโนแบคทีเรีย
วิชญบูลย์ พินิจกิจจาพร; ภัคพงศ์ พจนารถ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการเพาะเลี้ยง Arthronema africanum strain BKP-Sansab ซึ่งคัดเลือกจากคลองแสนแสบ กรุงเทพมหานคร ฯ เพื่อศึกษาการผลิตไฮโดรเจน ผลการทดลองพบว่า A. africanum strain BKP-Sansab มีความต้องการปัจจัยในการผลิตไฮโดรเจนที่หลากหลาย โดยเซลล์สามารถปรับตัวได้ในอาหาร BG-1101 (Blue - Green Medium สูตรดัดแปลง) ประกอบด้วยเหล็ก 46 ไมโครโมลาร์ โซเดียมคาร์บอเนต 0.8 กรัม และค่า pH 7.5 ภายใต้สภาวะที่มีแสงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นทาการเก็บเกี่ยวเซลล์แล้วนาไปเขย่าที่ความเร็วรอบ 160 รอบต่อนาที ที่อุณหภูมิห้อง และความเข้มแสง 2,500 ลักซ์ ...