• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ในจังหวัดสุพรรณบุรี

by กาญจนา ปภาทัสสี

Title:

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ในจังหวัดสุพรรณบุรี

Other title(s):

Factors affecting the effectiveness of Tambol health officer's performance in primary health care in Suphanburi Province

Author(s):

กาญจนา ปภาทัสสี

Advisor:

สุรสิทธิ์ วชิรขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การจัดการการพัฒนาสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1998

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิพลในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิพลในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย กับระดับประสิทธิพลในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐาน ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพล สามารถอธิบายหรือพยากรณ์ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล 4) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล / ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานีอนามัยมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี จำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่า t-test ค่า f-test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน / ผลการศึกษาพบว่า 1. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลส่วนใหญ่ มีคะแนนประสิทธิผลในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐาน รวมทุกด้าน อยู่ในระดับสูง และเมื่อพิจารณาระดับประสิทธิผลในแต่ละด้านพบว่า เจ้าที่สาธารณสุขระดับตำบลมีคะแนนประสิทธิผลในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานอยู่ในระดับสูงในด้านการจัดทำแผน ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านการเตรียมชุมชน ด้านการสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐานและตามเกณฑ์มาตรฐานการสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐานในโครงการ พบส.แต่มีคะแนนประสิทธิผลในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานอยู่ในระดับต่ำ ในด้านการนิเทศงาน ด้านการประเมินผล ด้านการควบคุมกำกับงาน และด้านการปฏิบัติกิจกรรมงานสาธารณสุขมูลฐาน 14 องค์ประกอบ 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงปฏิฐานกับระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยสนับสนุนในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานด้านวิชาการและด้านกำลังขวัญ และ ปัจจัยด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ ความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของนโยบายสาธารณสุขมูลฐาน การกำหนดภารกิจและการมอบหมายงาน มาตรการควบคุมและประเมินผล และการมีส่วนร่วมของ อสม. 3. ปัจจัยที่มีอิทธิพล สามารถอธิบายหรือพยากรณ์ระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลได้ ลำดับแรกคือปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติด้านมาตรการควบคุมและประเมินผล รองลงมา.
คือปัจจัยด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติด้านการมีส่วนร่วมของ อสม. 4. ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ได้แก่ ปัญหาด้านงบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ ปัญหาด้านประชาชนไม่มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนา ปัญหาด้านการบริหารจัดการงานสาธารณสุขมูลฐาน พบว่าข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนไม่น่าเชื่อถือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลขาดความเป็นอิสระในการปรับแผนงานให้เหมาะาสมกับสภาพพื้นที่ ปัญหาด้านการนิเทศงานและการประเมินผลงานสาธารณสุขมูลฐานพบว่ามีการปฏิบัติไม่ต่อเนื่อง หลักเกณฑ์และเนื้อหาในการนิเทศงานและประเมินผลของหน่วยงานแต่ละระดับไม่เป็นแนวทางเดียวกันและผลที่ได้จากการนิเทศงานและประเมินผลบางกิจกรรมแก้ไขได้ยาก / ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้คือ ควรมีการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐาน ด้วยการฝึกอบรมและการนิเทศงานอย่างสม่ำเสมอ ควรเสริมสร้างให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล มีกำลังขวัญที่ดีในการปฏิบัติงาน ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการงานสาธารณสุขมูลฐานให้สามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานในระดับตำบลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านมาตรการควบคุมและประเมินผล

Description:

Methodology: T test, F test, Pearson product moment correlation, Stepwise multiple regression analysis
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1998.

Subject(s):

เจ้าหน้าที่สาธารณสุข -- ไทย -- สุพรรณบุรี
สาธารณสุขมูลฐาน -- ไทย -- สุพรรณบุรี
บุคลากรสาธารณสุข -- ไทย สุพรรณบุรี

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

[12], 176 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซม

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1703
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b93917.pdf ( 3,616.97 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×