• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การประเมินผลการดำเนินงานกองทุนยาและเวชภัณฑ์ประจำหมู่บ้าน

by สมจิตร เหลืองสุวรรณ

Title:

การประเมินผลการดำเนินงานกองทุนยาและเวชภัณฑ์ประจำหมู่บ้าน

Other title(s):

An evaluation of village drug funds operation

Author(s):

สมจิตร เหลืองสุวรรณ

Advisor:

วิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การจัดการทางการพัฒนาสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1994

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

กองทุนยาและเวชภัณฑ์ประจำหมู่บ้าน เป็นผลที่เกิดจากกระบวนการในการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการแก้ไขปัญหา ความขาดแคลนยาจำเป็นของหมู่บ้าน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นผู้ให้การสนับสนุน จากการดำเนินงานกองทุนยาฯ ตั้งแต่ปี 2520 จนถึงปัจจุบันการสนับสนุนกองทุนยาฯ โดยภาครัฐครอบคลุมพื้นที่จำนวน 62,986 หมู่บ้าน แต่ประชาชนสามารถจัดตั้งกองทุนยาฯ ได้เพียง 35,819 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 56.87 จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าจำนวนกองทุนยาฯ ที่จัดตั้งไม่ได้ตามเป้าหมายที่จังหวัดได้รับงบประมาณไป การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาสถานภาพของกองทุนยาฯ และปัจจัยที่มีผลต่อสัมฤทธิผลของการดำเนินงานกองทุนยาฯ ตลอดจนเสนอแนวทางปรับปรุงการดำเนินงานกองทุนฯ ที่เหมาะสมโดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์กลุ่มตัวอย่าง จากกรรมการขายยา 158 คน ประชาชน 487 คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล 59 คน ใน 12 จังหวัดของ 12 เขต ราชการส่วนภูมิภาคของกระทรวงสาธารณสุข ผลจากการศึกษาพบว่า มีกองทุนยาฯ ที่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้คิดเป็นร้อยละ 60 สาเหตุสำคัญที่ทำให้กองทุนยาฯ ไม่ผ่านเกณฑ์การคงสภาพ ได้แก่ การที่กรรมการขายยาเบื่อหน่ายเพราะต้องขายยาคนเดียวเป็นเวลานาน และเมื่อมีปัญหา เจ้าหน้าที่ไม่ไปติดตามให้กำลังใจหรือช่วยแก้ไขหรือเมื่อยาในกองทุนยาฯ หมด กรรมการขายยาต้องไปซื้อยาด้วยตนเอง เสียเวลารอนานอีกทั้งยาที่ต้องการซื้อไม่มีจำหน่าย นอกจากนั้นการจัดทำบัญชีเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก กรรมการกองทุนยาฯ ไม่เข้าใจวิธีการทำ มีรายละเอียดมากเกินไป บางกองทุนยาฯ ตั้งอยู่ไกลจากชุมชน บางแห่งขายยาเฉพาะเวลากลางวัน ชาวบ้านจึงไม่นิยมซื้อ จากสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้กองทุนยาฯ บางส่วนต้องหยุดดำเนินการไป.
ในส่วนของการจัดองค์กรและการประสานงานกองทุนยาฯ นั้น กองทุนยาฯ ส่วนใหญ่มีการจัดตั้งกรรมการ โดยมีรายชื่อกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ระหว่าง 5-15 คน แต่มีบทบาทอย่างต่อเนื่องเพียง 2-4 คนหรือบางแห่งมีเพียงผู้ขายยาคนเดียวเท่านั้น การที่กองทุนยาฯ จะดำเนินงานไปได้ดีหรือไม่นั้นส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับความสามารถของกรรมการ และการยอมรับของชาวบ้านและผู้นำชุมชน ส่วนการประสานงานระหว่างกรรมการของกองทุนยาฯ นั้น พบว่ามีการประชุมไม่สม่ำเสมอถึงร้อยละ 58.8 เนื่องจากมีกรรมการเพียง 2-4 คน จึงไม่จำเป็นต้องประชุมอย่างเป็นทางการก็สามารถทราบความเป็นไปของการดำเนินงาน รวมทั้งถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นก็สามารถช่วยกันแก้ไขได้ สำหรับการนิเทศติดตามการดำเนินงานกองทุนยาฯ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขนั้น เนื่องจากมีอุปสรรคหลายประการ ทั้งด้านขาดอัตรากำลังและปริมาณงานที่ต้องทำมีมาก อีกทั้งบางครั้งก็มีงานอื่นที่สั่งการไปจากหน่วยงานระดับสูง ทำให้ต้องเร่งรัดงานเฉพาะหน้าให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายหรือตามนโยบายที่ระดับสูงสั่งการไป ในการศึกษาครั้งนี้ กองทุนยาฯ ขาดการติดตามต่อเนื่องจึงทำให้กองทุนยาฯ ต้องหยุดดำเนินการไป ดังนั้นเมื่อตั้งกองทุนยาฯ ได้ในระยะแรกแล้ว หากเจ้าหน้าที่ไม่ไปกระตุ้นหรือออกติดตามนิเทศให้คำแนะนำหรือให้กำลังใจ อาจทำให้เกิดปัญหาการไม่เข้าใจในการบริหารงานจัดการกองทุน เพราะกรรมการยังขาดประสบการณ์ ดังนั้นการดำเนินงานและการอยู่รอดของกองทุนยาฯ จะต้องมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกติดตามอย่างต่อเนื่อง.
ผลจากการศึกษาครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงการดำเนินงานกองทุนยาฯ ดังต่อไปนี้
2. ระบบบัญชีกองทุนยาฯ ควรจัดทำบัญชีรับ-จ่ายแบบง่าย ๆ สามารถตรวจสอบได้
3. ระบบการสนับสนุนยาและกองทุนยาฯ ควรปรับปรุงเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบและวิธีปฏิบัติในการสนับสนุนยาแก่กองทุนยาฯ โดยให้ถือปฏิบติและรับผิดชอบตั้งแต่จังหวัด อำเภอ ตำบล มีการจัดคลังสำรองยาและเวชภัณฑ์ระดับจังหวัด อำเภอ เพื่อสนับสนุนกองทุนยาฯ และขยายตัวแทนจำหน่ายยาสามัญประจำบ้านระดับอำเภอให้มากขึ้น
4. การอบรมฟื้นฟูความรู้ของกรรมการกองทุนยาฯ ควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ยา การบริหารและการดำเนินงานกองทุนยาฯ ไว้ในหลักสูตรการอบรมต่อเนื่องของอสม. ในศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.)
5. การติดตามของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลจะต้องทำการอบรม อสม.ต่อเนื่องทุกเดือน และทำการนิเทศไปด้วย จะทำให้ทราบถึงการดำเนินงานและสามารถแก้ไขปัญหาได้เป็นระยะ ๆ และยังเป็นการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
6. กระทรวงสาธารณสุขควรมีการทบทวนนโยบายการจัดหายาจำเป็นไว้ในชุมชนให้สามารถปรับแนวทางได้ เพื่อเป็นการเปิดกว้างและให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตที่เป็นจริงของชุมชน

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.

Subject(s):

กองทุนยา

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

13, 99 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1707
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b13201ab.pdf ( 150.73 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b13201.pdf ( 1,594.92 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×