• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การประเมินผลการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด (สกต) สาขาพระนครศรีอยุธยา

by พงษ์ศักดิ์ เฉลิมชุติเดช

Title:

การประเมินผลการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด (สกต) สาขาพระนครศรีอยุธยา

Other title(s):

An evaluation of the implementation of the Agricultural Marketing Cooperatives (AMC) in Ayuthaya Province

Author(s):

พงษ์ศักดิ์ เฉลิมชุติเดช

Advisor:

แตงอ่อน มั่นใจตน, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การจัดการทางการพัฒนาสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1994

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยประเมินผลการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด (สกต.) สาขาพระนครศรีอยุธยามีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของสกต. (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของสกต. และ (3) ศึกษาแนวทางการดำเนินงานและปรับปรุงงานของสกต.
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้แนวความคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการวิจัยประเมินผล แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการนำนโยบาย หรือโครงการไปปฏิบัติ และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน
การประเมินได้ประเมินกระบวนการดำเนินงานของสกต. จากความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของสกต. ความเหมาะสมด้านโครงการ ความเหมาะสมด้านบุคคลากร และการจัดการของสกต. สำหรับการประเมินผลการดำเนินงานของสกต. ประเมินผลจากจำนวนสมาชิก การใช้บริการทางธุรกิจของสมาชิก การมีส่วนร่วมในกิจกรรมอื่น ๆ ของสมาชิก และการประเมินความพอใจของสมาชิก
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ได้มาจากสมาชิกสกต. ในอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยาและอำเภออุทัย โดยให้กลุ่มตัวอย่างกระจายจากสมาชิกสกต. ทุกกลุ่มจำนวนสมาชิกที่ทำการศึกษาครั้งนี้มี 272 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 10.0 ของสมาชิกในกลุ่ม นอกจากนี้ได้สัมภาษณ์ กรรมการสกต. จำนวน 15 ราย และสัมภาษณ์พนักงานธ.ก.ส. จำนวน 15 ราย และสัมภาษณ์พนักงานธ.ก.ส. จำนวน 55 ราย.
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. กระบวนการดำเนินงานของสกต.
1.1 ความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของสกต. วัตถุประสงค์ของสกต. ที่ระบุในเอกสารจัดตั้งสกต. มีความชัดเจน กรรมการสกต. ร้อยละ 93.3 เข้าใจถูกต้องว่าสกต. เป็นของใคร และกรรมการทุกคนเห็นว่าสกต.จะมีประโยชน์ต่อเกษตรกร.
1.2 ความเหมาะสมด้านโครงสร้างสกต. ได้วางเครือข่ายทางธุรกิจไว้กระจายทุกพื้นที่ในระดับหมู่บ้าน ตำบล แต่ผลการดำเนินงานขายสินค้าผ่านจุดกระจายสินค้ามีมูลค่าต่ำเพียงร้อยละ 11.9 ของยอดจำหน่ายสินค้า ในด้านการจัดแบ่งส่วนงานภายในสกต. สกต.จัดโครงสร้างไม่สอดคล้องกับงาน คือ ไม่มีหน่วยงานด้านธุรการ.
1.3 ความเหมาะสมด้านบุคคลากร กรรมการสกต. ร้อยละ 80 จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 มีรายได้การเกษตรเฉลี่ย 162,530 บาท ต่อปี มีทรัพย์สินเฉลี่ย 7,660,400 บาท ซัึ่เหมาะสมกับการเป็นกรรมการสกต. ด้านเจ้าหน้าที่สกต.เจ้าหน้าที่สกต. 1 คน ต้องรับผิดชอบสมาชิกสกต. 6,689 คน จำนวนเจ้าหน้าที่สกต. มีน้อยไม่เพียงพอในการปฏิบัติงาน ด้านพนักงาน ร้อยละ 74.5 เห็นว่าตนเองมีบทบาทต้องช่วยเหลืองานของสกต.
1.4 การจัดการของสกต. กสต.มีการวางแผนปฏิบัติงานที่ดี มีการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยปฏิบัติงาน กรรมการสกต. มีการประชุมทุกเดือนเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน และกำหนดนโยบายหรือแก้ไขปัญหาการดำเนินงาน
2. ผลการดำเนินงานของสกต.
2.1 การรับสมาชิก สกต.สาขาพระนครศรีอยุธยา รับสมาชิกได้ร้อยละ 57.2 ของลูกค้า ธ.ก.ส. ทั้งหมด สมาชิกมีทรัพย์สินรวมเฉลี่ย 2,391,850 บาทต่อคนสมาชิกร้อยละ 68.0 เข้าใจถูกต้องว่า สกต.เป็นของใคร ร้อยละ 89.3 เข้าใจถูกต้องว่าจะใช้บริการอะไรจากสกต. ได้บ้าง ร้อยละ 63.2 เข้าเป็นสมาชิกเพราะเห็นว่าจะมีประโยชน์
2.2 การใช้บริการขายสินค้าของสกต. สมาชิกสกต. ที่มาใช้บริการซื้อสินค้าจากสกต. คิดเป็นร้อยละ 76.7 ของสมาชิกทั้งหมด ในแง่มูลค่าสินค้าที่ซื้อสินค้าจากสกต. เทียบกับซื้อจากพ่อค้า สมาชิกสกต. ซื้อสินค้าจากสกต.มูลค่าน้อยเมื่อเทียบกับซื้อจากพ่อค้า.
2.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมอื่นของสกต. สมาชิกยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมอื่นของสกต. เช่น การเสนอความคิดเห็น การชวนเพื่อนบ้านเป็นสมาชิกและการชวนเพื่อนบ้านมาซื้อสินค้าจากสกต.ต่ำ.
2.4 ความพอใจของสมาชิก ความพอใจจากการซื้อสินค้ากับสกต. สมาชิกที่เคยซื้อสินค้ากับสกต. ยังมีความพอใจในการซื้อสินค้ากับสกต. ด้านราคา คุณภาพ และความสะดวกในการจัดหาสินค้า และความพอใจที่คาดหวังประโยชน์ก่อนเข้าเป็นสมาชิกและหลังการเป็นสมาชิกต่ำ.
3. ข้อเสนอแนะ
3.1ด้านการจัดอบรม บริษัทไทยธุรกิจเกษตร จำกัด (TABCO) และธ.ก.ส. ควรจัดสัมนาพนักงาน ธ.ก.ส. เกี่ยวกับหลักการและแนวทางสนับสนุนงานของกสต. รวมทั้งจัดการอบรมความรู้ด้านการตลาดและระบบการจัดการด้านการตลาดแก่พพนักงาน ธ.ก.ส. เจ้าหน้าที่สกต. คณะกรรมการสกต. และผู้ทำหน้าที่เป็นจุดกระจายสินค้าของสกต. นอกจากนี้ควรจัดการอบรมอย่างต่อเนื่องให้สมาชิกสกต. เข้าใจหลักการและอุดมการณ์ของสกต. โดยใช้กระบวนการกลุ่มช่วยให้การอบรมเกิดประสิทธิภาพ.
3.2 ด้านโครงสร้างและบุคคลากร สกต.ควรเพิ่มจุดกระจายสินค้าให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในหมู่บ้าน เพื่อให้สมาชิกใช้บริการได้สะดวก ควรเพิ่มสายงานธุรการเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสมกับปริมาณงาน
3.3 ด้านระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานสกต. บริษัทไทยธุรกิจเกษตร จำกัด (TABCO) ควรจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลการทำงานและข้อมูลราคาสินค้าของสกต. ทั่วประเทศเข้าด้วยกัน โดยใช้ระบบ ONLINE และสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ลดการปฏิบัติงานด้านเอกสารหรือขั้นตอนงานของกสต. ได้
3.4 ด้านการประกอบธุรกิจ สกต.ควรขยายธุรกิจรวบรวมผลผลิตของสมาชิกไปจำหน่าย โดยบริษัทไทยธุรกิจเกษตร จำกัด (TABCO) เป็นผู้จัดหาตลาดจำหน่ายในประเทศหรือต่างประเทศและสกต. เป็นผู้รวบรวมผลผลิตให้ การจัดหาสินค้ามาจำหน่าย สกต.ควรจัดจำหน่ายสินค้าจำเป็นในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด โดยเน้นการขายสินค้าผ่านจุดกระจายสินค้าเป็นหลัก และบริษัทไทยธุรกิจเกษตร จำกัด (TABCO) ควรมีหน่วยงานประเมินผลการดำเนินธุรกิจของสกต. ทุกแห่งทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง.
3.5 ด้านบริการสมาชิกสกต. ควรจ่ายเงินปันผลให้สมาชิกเห็นประโยชน์ในการซื้อสินค้าจากสกต. และควรมีการแจ้งข่าวสาร ชนิดสินค้า และราคาสินค้า ที่สมาชิกสามารถจัดหาจาก สกต. ให้สมาชิกทราบอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
3.6 รัฐบาลควรสนับสนุนการดำเนินงานของสกต. เช่น การช่วยหาแหล่งรับซื้อผลผลิต หรือซื้อปัจจัยการผลิตรูปแบบรัฐต่อรัฐ มีการลดภาษีส่งออก ลดภาษีนำเข้าตลอดจนงดเว้นการเก็บภาษีรายได้จากสหกรณ์การเกษตรทุกประเภท.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.

Subject(s):

สหกรณ์การเกษตร -- การประเมิน

Keyword(s):

สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด. สาขาพระนครศรีอยุธยา -- การประเมิน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

14, 132 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1708
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9856ab.pdf ( 181.56 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9856.pdf ( 2,103.12 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×