ปัจจัยทางครอบครัวและโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพุทธศาสนาของนักเรียนในชุมชนที่มีระดับการพัฒนาต่างกัน
Publisher
Issued Date
1994
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
18, 255 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
พูนฤดี สุวรรณพันธุ์ (1994). ปัจจัยทางครอบครัวและโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพุทธศาสนาของนักเรียนในชุมชนที่มีระดับการพัฒนาต่างกัน. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1712.
Title
ปัจจัยทางครอบครัวและโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพุทธศาสนาของนักเรียนในชุมชนที่มีระดับการพัฒนาต่างกัน
Alternative Title(s)
Family and school factors as correlates of Buddhist characteristics of primary school children in communities with different levels of development
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ ได้ศึกษาว่าอิทธิพลของครอบครัว โรงเรียน และชุมชนที่แตกต่างกันจะมีผลต่อจิตใจและพฤติกรรมของนักเรียนหรือไม่ โดยมีจุดมุ่งหมายในการวิจัยนี้ 3 ประการคือ ประการแรกเพื่อศึกษาอิทธิพลทางพุทธศาสนาของครอบครัวและโรงเรียนที่มีจิตใจและพฤติกรรมของเด็กประถมศึกษา ประการที่สองเพื่อศึกษาอิทธิพลของชุมชนที่มีระดับการพัฒนาต่างกันที่มีต่อจิตใจและพฤติกรรมของเด็ก ประการที่สามเพื่อศึกษาอิทธิพลร่วมระหว่างครอบครัว โรงเรียนและชุมชนต่อจิตใจและพฤติกรรมของเด็ก
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 จากโรงเรียนจังหวัดสุพรรณบุรี 8 โรงเรียน รวมทั้งหมด 418 คน ซึ่ง 4 โรงเรียนอยู่ในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาน้อย และอีก 4 โรงเรียนอยู่ในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนามาก แล้วแยกประเภทเป็นโรงเรียนที่ส่งเสริมพุทธศาสนาน้อย และมากอย่างละ 2 โรงเรียน ตามเกณฑ์ 3 ด้านคือ สถานที่ตั้งอยู่ในหรือใกล้เขตวัด ด้านกิจกรรมพิเศษทางพุทธศาสนา และด้านความเกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ในการเรียนการสอน โดยโรงเรียนที่มีลักษณะทั้ง 3 ด้านมาก จัดเป็นโรงเรียนที่ส่งเสริมพุทธศาสนามาก ส่วนโรงเรียนที่มีลักษณะทั้ง 3 ด้านน้อย จัดเป็นโรงเรียนที่ส่งเสริมพุทธศาสนาน้อย.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยภาคสนาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดและแบบสอบถาม ตัวแปรที่ศึกษาแบ่งเป็น 7 ประเภทคือ 1) ระดับการพัฒนาของชุมชน ใช้เกณฑ์ของคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ (กชช 2 ค.ผนวก จบฐ) 2) ความเคร่งพุทธศาสนาของครอบครัว วัดโดยแบบสอบถามมี 10 ข้อ 3) การส่งเสริมพุทธศาสนาในโรงเรียน วัดโดยการสังเกตและสัมภาษณ์หัวหน้าสถานศึกษามีจำนวน 10 ข้อ 4) ลักษณะพื้นฐานของเด็กนักเรียน ได้แก่ ตัวแปรทางด้านชีวสังคมภูมิหลังของนักเรียนผู้ตอบ และรวมทั้งการได้รับประสบการณ์ทางพุทธศาสนาจากโรงเรียน วัดโดยแบบวัด จำนวน 10 ข้อ 5) จิตลักษณะของนักเรียนมี 2 ด้าน ได้แก่ สุขภาพจิต และลักษณะมุ่งอนาคต วัดโดยแบบวัดเรื่องละ 20 ข้อ มีมาตร 6 หน่วยประกอบทุกข้อ 6) พฤติกรรมของนักเรียนมี 2 ด้าน ได้แก่ พฤติกรรมก้าวร้าว และการคบเพื่อนอย่างเหมาะสม วัดโดยแบบวัดเรื่องละ 15, 20 ข้อ มีมาตร 6 หน่วยประกอบทุกข้อ 7) คุณลักษณะทางพุทธศาสนา ในที่นี้คือ ศีล 5 วัดโดยใช้แบบวัด 25 ข้อ ๆ ละ 4 ตัวเลือก
การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 3 ทาง (Threeway Analysis of Variance) การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ และศึกษาความสัมพันธ์ (Pearson's Correlation Coefficient) ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ในกลุ่มที่แบ่งย่อยตามลักษณะชุมชนและโรงเรียนของผู้ตอบ.
ผลการวิจัยที่สำคัญมี 5 ประการ ประการแรกพบว่านักเรียนที่อยู่ในครอบครัวที่เคร่งพุทธศาสนามากและเรียนในโรงเรียนที่ส่งเสริมพุทธศาสนามาก เป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตดีกว่า มีพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมมากกว่าและมีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยกว่ากลุ่มอื่น โดยเฉพาะนักเรียนที่อยู่ในครอบครัวที่เคร่งพุทธศาสนามากแต่โรงเรียนส่งเสริมพุทธศาสนาน้อย ซึ่งแสดงว่าถ้าครอบครัวและโรงเรียนมีการเน้นพุทธศาสนามากทั้งสองแห่งพร้อมกัน จะมีผลต่อเด็กมากทั้งทางจิตใจและพฤติกรรม นอกจากนั้นในการวิจัยครั้งนี้ ยังพบว่าโรงเรียนมีอิทธิพลต่อจิตใจและพฤติกรรมของนักเรียนมากกว่าครอบครัว.
ประการที่สอง นักเรียนในชุมชนที่พัฒนาน้อย มีการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมมากกว่า แต่กลับมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากกว่านักเรียนในชุมชนที่พัฒนามาก การวิจัยครั้งนี้จึงพบทั้งผลดี และผลเสียของชุมชนที่พัฒนามากต่อเด็ก
ประการที่สาม เมื่อพิจารณาชุมชน โรงเรียนและครอบครัวไปพร้อมกัน พบว่าในชุมชนที่พัฒนามาก ถ้าโรงเรียนกับครอบครัวของเด็กเน้นพุทธศาสนามากทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว เด็กมีศีล 5 สูงกว่าและมีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยกว่า และมีการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมมากกว่าเด็กในโรงเรียนและครอบครัวที่เน้นพุทธศาสนาน้อยทั้งสองฝ่ายพร้อมกัน ผลวิจัยส่วนนี้แสดงว่าการพัฒนาของชุมชนจะไม่ส่งผลเสียต่อเด็ก ถ้าทางโรงเรียนและ/หรือครอบครัวของเด็กมีการปลูกฝังอบรมเด็กทางพุทธศาสนามาก
ประการที่สี่ การมีศีล 5 สูงของนักเรียนขั้นอยู่กับการที่นักเรียนได้เรียนในโรงเรียนที่ส่งเสริมพุทธศาสนามาก นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง นักเรียนได้รับประสบการณ์ทางพุทธศาสนาจากโรงเรียนมาก เป็นนักเรียนที่มีสุขภาพจิต และการมุ่งอนาคตสูงด้วย นอกจากนั้นการวิจัยครั้งนี้ยังพบว่านักเรียนที่มีศีล 5 สูงนั้นเป็นผู้มีการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมมากด้วย แต่กลับพบว่าศีล 5 ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน
ประการที่ห้า จิตลักษณะ 3 ด้านคือ สุขภาพ ลักษณะมุ่งอนาคต และศีล 5 ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมได้มากที่สุด ในนักเรียนที่อยู่ในชุมชนที่พัฒนามากแต่ครอบครัวและโรงเรียนเน้นพุทธศาสนาน้อย (ทำนายพฤติกรรมการคบเพื่อนได้ร้อยละ 47) และพบว่าจิตใจกับพฤติกรรมของเด็กสอดคล้องกันมากในสภาพที่ครอบครัวและโรงเรียนเน้นพุทธศาสนามากและชุมชนพัฒนามาก (ทำนายพฤติกรรมก้าวร้าวได้ร้อยละ 31 และทำนายการคบเพื่อนได้ร้อยละ 27) มากกว่าสภาพที่ครอบครัวและโรงเรียนเน้นพุทธศาสนาน้อยและชุมชนพัฒนาน้อยด้วย (ทำนายพฤติกรรมก้าวร้าวได้ร้อยละ 25 และทำนายพฤติกรรมการคบเพื่อนได้ร้อยละ 15)
จากผลการวิจัยนี้ จึงมีข้อเสนอแนะ 2 ประการคือ หนึ่งโรงเรียนประถมศึกษาต้องตระหนักถึงบทบาทสำคัญของการถ่ายทอดทางพุทธศาสนาให้กับนักเรียน ควรจัดประสบการณ์ทางพุทธศาสนาเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และรับรู้มากที่สุด พัฒนาให้เด็กนักเรียนมีศีล 5 สูง มีลักษณะมุ่งอนาคตสูงและมีสุขภาพจิตที่ดีมากขึ้น เพื่อให้เด็กมีการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมและช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวลงได้ และประการที่สองการพัฒนาชุมชนให้เกิดผลดีต่อเยาวชนควรต้องพัฒนาครอบครัวและโรงเรียนให้มีความสอดคล้องกันทางด้านพุทธศาสนา โดยต้องมีการเน้นพุทธศาสนาทั้งครอบครัวและโรงเรียนควบคู่กันไป จึงจะเกิดผลดีต่อตัวเด็กมากที่สุด
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 จากโรงเรียนจังหวัดสุพรรณบุรี 8 โรงเรียน รวมทั้งหมด 418 คน ซึ่ง 4 โรงเรียนอยู่ในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาน้อย และอีก 4 โรงเรียนอยู่ในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนามาก แล้วแยกประเภทเป็นโรงเรียนที่ส่งเสริมพุทธศาสนาน้อย และมากอย่างละ 2 โรงเรียน ตามเกณฑ์ 3 ด้านคือ สถานที่ตั้งอยู่ในหรือใกล้เขตวัด ด้านกิจกรรมพิเศษทางพุทธศาสนา และด้านความเกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ในการเรียนการสอน โดยโรงเรียนที่มีลักษณะทั้ง 3 ด้านมาก จัดเป็นโรงเรียนที่ส่งเสริมพุทธศาสนามาก ส่วนโรงเรียนที่มีลักษณะทั้ง 3 ด้านน้อย จัดเป็นโรงเรียนที่ส่งเสริมพุทธศาสนาน้อย.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยภาคสนาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดและแบบสอบถาม ตัวแปรที่ศึกษาแบ่งเป็น 7 ประเภทคือ 1) ระดับการพัฒนาของชุมชน ใช้เกณฑ์ของคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ (กชช 2 ค.ผนวก จบฐ) 2) ความเคร่งพุทธศาสนาของครอบครัว วัดโดยแบบสอบถามมี 10 ข้อ 3) การส่งเสริมพุทธศาสนาในโรงเรียน วัดโดยการสังเกตและสัมภาษณ์หัวหน้าสถานศึกษามีจำนวน 10 ข้อ 4) ลักษณะพื้นฐานของเด็กนักเรียน ได้แก่ ตัวแปรทางด้านชีวสังคมภูมิหลังของนักเรียนผู้ตอบ และรวมทั้งการได้รับประสบการณ์ทางพุทธศาสนาจากโรงเรียน วัดโดยแบบวัด จำนวน 10 ข้อ 5) จิตลักษณะของนักเรียนมี 2 ด้าน ได้แก่ สุขภาพจิต และลักษณะมุ่งอนาคต วัดโดยแบบวัดเรื่องละ 20 ข้อ มีมาตร 6 หน่วยประกอบทุกข้อ 6) พฤติกรรมของนักเรียนมี 2 ด้าน ได้แก่ พฤติกรรมก้าวร้าว และการคบเพื่อนอย่างเหมาะสม วัดโดยแบบวัดเรื่องละ 15, 20 ข้อ มีมาตร 6 หน่วยประกอบทุกข้อ 7) คุณลักษณะทางพุทธศาสนา ในที่นี้คือ ศีล 5 วัดโดยใช้แบบวัด 25 ข้อ ๆ ละ 4 ตัวเลือก
การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 3 ทาง (Threeway Analysis of Variance) การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ และศึกษาความสัมพันธ์ (Pearson's Correlation Coefficient) ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ในกลุ่มที่แบ่งย่อยตามลักษณะชุมชนและโรงเรียนของผู้ตอบ.
ผลการวิจัยที่สำคัญมี 5 ประการ ประการแรกพบว่านักเรียนที่อยู่ในครอบครัวที่เคร่งพุทธศาสนามากและเรียนในโรงเรียนที่ส่งเสริมพุทธศาสนามาก เป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตดีกว่า มีพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมมากกว่าและมีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยกว่ากลุ่มอื่น โดยเฉพาะนักเรียนที่อยู่ในครอบครัวที่เคร่งพุทธศาสนามากแต่โรงเรียนส่งเสริมพุทธศาสนาน้อย ซึ่งแสดงว่าถ้าครอบครัวและโรงเรียนมีการเน้นพุทธศาสนามากทั้งสองแห่งพร้อมกัน จะมีผลต่อเด็กมากทั้งทางจิตใจและพฤติกรรม นอกจากนั้นในการวิจัยครั้งนี้ ยังพบว่าโรงเรียนมีอิทธิพลต่อจิตใจและพฤติกรรมของนักเรียนมากกว่าครอบครัว.
ประการที่สอง นักเรียนในชุมชนที่พัฒนาน้อย มีการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมมากกว่า แต่กลับมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากกว่านักเรียนในชุมชนที่พัฒนามาก การวิจัยครั้งนี้จึงพบทั้งผลดี และผลเสียของชุมชนที่พัฒนามากต่อเด็ก
ประการที่สาม เมื่อพิจารณาชุมชน โรงเรียนและครอบครัวไปพร้อมกัน พบว่าในชุมชนที่พัฒนามาก ถ้าโรงเรียนกับครอบครัวของเด็กเน้นพุทธศาสนามากทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว เด็กมีศีล 5 สูงกว่าและมีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยกว่า และมีการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมมากกว่าเด็กในโรงเรียนและครอบครัวที่เน้นพุทธศาสนาน้อยทั้งสองฝ่ายพร้อมกัน ผลวิจัยส่วนนี้แสดงว่าการพัฒนาของชุมชนจะไม่ส่งผลเสียต่อเด็ก ถ้าทางโรงเรียนและ/หรือครอบครัวของเด็กมีการปลูกฝังอบรมเด็กทางพุทธศาสนามาก
ประการที่สี่ การมีศีล 5 สูงของนักเรียนขั้นอยู่กับการที่นักเรียนได้เรียนในโรงเรียนที่ส่งเสริมพุทธศาสนามาก นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง นักเรียนได้รับประสบการณ์ทางพุทธศาสนาจากโรงเรียนมาก เป็นนักเรียนที่มีสุขภาพจิต และการมุ่งอนาคตสูงด้วย นอกจากนั้นการวิจัยครั้งนี้ยังพบว่านักเรียนที่มีศีล 5 สูงนั้นเป็นผู้มีการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมมากด้วย แต่กลับพบว่าศีล 5 ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน
ประการที่ห้า จิตลักษณะ 3 ด้านคือ สุขภาพ ลักษณะมุ่งอนาคต และศีล 5 ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมได้มากที่สุด ในนักเรียนที่อยู่ในชุมชนที่พัฒนามากแต่ครอบครัวและโรงเรียนเน้นพุทธศาสนาน้อย (ทำนายพฤติกรรมการคบเพื่อนได้ร้อยละ 47) และพบว่าจิตใจกับพฤติกรรมของเด็กสอดคล้องกันมากในสภาพที่ครอบครัวและโรงเรียนเน้นพุทธศาสนามากและชุมชนพัฒนามาก (ทำนายพฤติกรรมก้าวร้าวได้ร้อยละ 31 และทำนายการคบเพื่อนได้ร้อยละ 27) มากกว่าสภาพที่ครอบครัวและโรงเรียนเน้นพุทธศาสนาน้อยและชุมชนพัฒนาน้อยด้วย (ทำนายพฤติกรรมก้าวร้าวได้ร้อยละ 25 และทำนายพฤติกรรมการคบเพื่อนได้ร้อยละ 15)
จากผลการวิจัยนี้ จึงมีข้อเสนอแนะ 2 ประการคือ หนึ่งโรงเรียนประถมศึกษาต้องตระหนักถึงบทบาทสำคัญของการถ่ายทอดทางพุทธศาสนาให้กับนักเรียน ควรจัดประสบการณ์ทางพุทธศาสนาเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และรับรู้มากที่สุด พัฒนาให้เด็กนักเรียนมีศีล 5 สูง มีลักษณะมุ่งอนาคตสูงและมีสุขภาพจิตที่ดีมากขึ้น เพื่อให้เด็กมีการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมและช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวลงได้ และประการที่สองการพัฒนาชุมชนให้เกิดผลดีต่อเยาวชนควรต้องพัฒนาครอบครัวและโรงเรียนให้มีความสอดคล้องกันทางด้านพุทธศาสนา โดยต้องมีการเน้นพุทธศาสนาทั้งครอบครัวและโรงเรียนควบคู่กันไป จึงจะเกิดผลดีต่อตัวเด็กมากที่สุด
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.