• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การกำหนดและการนำแผน 3 เขตยุทธศาสตร์การรณรงค์เลือกตั้งไปปฏิบัติ : กรณีวิจัยปฏิบัติการในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา

by วิวัฒน์ ศัลยกำธร

Title:

การกำหนดและการนำแผน 3 เขตยุทธศาสตร์การรณรงค์เลือกตั้งไปปฏิบัติ : กรณีวิจัยปฏิบัติการในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา

Other title(s):

Formulation and implementation of three strategic areas of election campaign plan : a case of action research in constituency C Nakornratchasima Province

Author(s):

วิวัฒน์ ศัลยกำธร

Advisor:

แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การปฏิบัติการทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1993

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยเรื่อง การกำหนดและการนำแผน 3 เขตยุทธศาสตร์การรณรงค์เลือกตั้งไปปฏิบัตินี้ เป็นการวิจัยปฏิบัติการที่ผู้วิจัยได้เข้าร่วมปฏิบัติการในศูนย์อำนวยการเลือกต้งของพรรคพลังธรรม ในเขตจังหวัดนครราชสีมา ช่วงวันที่ 15 สิงหาคม ถึง 13 กันยายน 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจและทดสอบแนวคิด 3 เขตยุทธศาสตร์ ว่าจะสามารถกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการและนำไปปฏิบัติได้อย่างไร มีปัญหา/อุปสรรค และข้อจำกัดอย่างไรบ้าง ภายใต้บริบทวัฒนธรรมของชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย.
แนวคิดหลักที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แนวคิดสามเขตยุทธศาสตร์ของการรณรงค์ โดยมีแนวคิดทฤษฎีทางด้านสังคม และทางด้านการเมืองเป็นส่วนประกอบในการอธิบายพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของคนไทย จากผลการวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้สามารถสรุปผลได้สองประการคือ
ประการแรก ในเชิงทฤษฎีอาจสรุปได้ดังนี้
1.1 พฤติกรรมทางการเมืองของคนชนบทเขต 3 จังหวัดนครราชสีมา เป็นจริงตามแนวคิดทฤษฎี 3 เขตยุทธศาสตร์ กล่าวคือ ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่สังกัดพรรคการเมืองต่าง ๆ ทั้งฝ่ายคู่แข่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย ส่วนใหญ่เป็นพวกเฉยเมยไร้เดียงสา ซึ่งมักจะถูกหัวคะแนนชักจูงไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งแนวทางสุจริต น้ำดี และแนวทางทุจริตน้ำเน่า ดังนั้น แนวคิดทฤษฎีนี้จึงนับว่ามีประโยชน์ในการจำแนกกลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่เป้าหมายของการรณรงค์ได้อย่างถูกต้องชัดเจน จนถึงหน่วยย่อยระดับตำบล นอกจากนั้นยังสามารถล่วงรู้ถึงพฤติกรรมการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างนั้น อันเป็นผลทำให้ทีมงานรณรงค์สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีเข้าปฏิบัติการต่อกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ได้อย่างสอดคล้องกับเหตุผลการตัดสินใจของประชาชน ผู้มีสิทธิออกเสียงได้อย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาของการรณรงค์
1.2 การดำเนินการรณรงค์ภายใต้แนวคิด 3 เขตยุทธศาสตร์นี้ เหมาะสมสำหรับผู้สมัครที่มีฐานมวลชนและการหนุนช่วยทางด้านการเมืองที่มั่นคง และกว้างขวางพอสมควร และจะต้องมีฐานทางเศรษฐกิจและการหนุนช่วยทางเศรษฐกิจที่มั่นคงและกว้างขวางอย่างเพียงพอแก่ค่าใช้จ่ายในการรณรงค์ตามแผน นอกจากนี้ยังควรมีสถานภาพการแข่งขันอยู่บ้าง อย่างน้อยในระดับที่พอแข่งขันได้ มิเช่นนั้นเมื่อจำแนกเขตยุทธศาสตร์แล้วก็จะพบแต่เขตเขา ซึ่งไม่สามารถจัดองค์กรการรณรงค์เป็น 3 เขตได้ตามแนวคิดนี้
1.3 นอกจากนี้ ยังพบว่าในทัศนะของคนในเขตเลือกตั้ง ค.แล้ว "การเลือกตั้งมิได้ถือเป็นกิจกรรมทางการเมือง" แต่เป็นเพียงกิจกรรมทางสังคมอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับการไปร่วมงานบุญบวชนาค งานแต่ง ฯลฯ เท่านั้น เพราะว่าการไปเลือกตั้งก็เป็นเพียงการตอบแทนผู้ที่ให้การอุปถัมภ์ค้ำชูและให้ประโยชน์แก่ตนเท่านั้น
ประการที่สอง ในเชิงการเคลื่อนไหวทางการเมือง.
งานวิจัยครั้งนี้ ทำให้ยืนยันจุดอ่อนของพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่ทำงานการเมืองอย่างไร้ระบบและไม่ต่อเนื่อง ทุกพรรคการเมืองในเขตการวิจัยไม่สนใจจัดตั้งสาขาพรรคและการสร้างฐานมวลชนของพรรคอย่างต่อเนื่องเลย จะเข้าหาประชาชนเฉพาะฤดูกาลหาเสียงเท่านั้น และในการรณรงค์หาเสียงนั้น ทุกพรรคการเมืองยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการรณรงค์อย่างเป็นระบบ และยังไม่เข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างการรณรงค์ด้านกว้างและด้านลึก การนำวิชาการด้านการรณรงค์ทางการเมืองเข้าไปใช้ในการหาเสียง กระทำเฉพาะเพื่อตรวจสอบฐานคะแนนนิยมเท่านั้น ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการกำหนดยุทธวิธีในการรณรงค์ได้อย่างกว้างขวาง.
ในเรื่องนี้ สถาบันการศึกษาควรได้มีบทบาทให้ความรู้ความเข้าใจ และพัฒนาบุคลากรของพรรคการเมืองต่าง ๆ ให้มีคุณภาพ และสามารถทำงานการเมืองได้อย่างเป็นระบบ ตามแนวทางในระบอบประชาธิปไตยของอารยะประเทศ

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.

Subject(s):

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -- ไทย -- นครราชสีมา -- การเลือกตั้ง

Keyword(s):

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
การนำแผนไปปฏิบัติ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

ก-ฉ, [130] แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1719
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9866ab.pdf ( 139.57 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9866.pdf ( 2,216.69 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×