• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การจัดองค์กรและการบริหารศูนย์อำนวยการเลือกตั้งภายใต้แนวคิด 3 เขตยุทธศาสตร์ : กรณีวิจัยปฏิบัติการเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา

by อนุสรณ์ ไชยพาน

Title:

การจัดองค์กรและการบริหารศูนย์อำนวยการเลือกตั้งภายใต้แนวคิด 3 เขตยุทธศาสตร์ : กรณีวิจัยปฏิบัติการเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา

Other title(s):

Organization and administration of election campaign center under the concept of three strategic areas : a case of action research in constituency C Nakornrachasima Province

Author(s):

อนุสรณ์ ไชยพาน

Advisor:

แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การปฏิบัติการทางสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1993

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยเรื่อง การจัดองค์กรและการบริหารศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง ภายใต้แนวคิด 3 เขตยุทธศาสตร์นี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ผู้วิจัยได้เข้าไปร่วมปฏิบัติการทางการเมืองในศูนย์อำนวยการเลือกตั้งพรรคพลังธรรม จังหวัดนครราชสีมา ในช่วงระหว่างวันที่ 13 สิงหาคม - 13 กันยายน 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ
1. เพื่อนำเสนอตัวแบบการจัดองค์กรและการบริหารศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง ภายใต้แนวคิด 3 เขตยุทธศาสตร์ ในการนำไปปฏิบัติการในเขตเลือกตั้งที่ทำการวิจัย.
2. เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างขององค์กร อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ การแบ่งงานกันทำของแต่ละฝ่ายและสายงานในโครงสร้างของศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง.
3. เพื่อเสนอแนวทางการจัดองค์กรและการบริหารศูนย์อำนวยการเลือกตั้งของพรรคการเมืองไทยในอนาคต
แนวคิดที่นำมาศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่แนวคิดในการศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาองค์กรและการบริหารโครงการ การจัดองค์กร โครงสร้างองค์กร แนวคิดเกี่ยวกับสายงานหลักและสายงานสนับสนุน การจัดทำแผนภูมิองค์กรและแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในแนวคิด 3 เขตยุทธศาสตร์ซึ่งได้นำมาเป็นกรอบคิดในการศึกษาวิจัย.
ผลการวิจัยพบว่า การนำเอาตัวแบบในการจัดโครงสร้างองค์กรและการบริหารศูนย์อำนวยการเลือกตั้งภายใต้แนวคิด 3 เขตยุทธศาสตร์ลงไปปฏิบัติการในพื้นที่นั้น เป็นการจัดองค์กรที่มีลักษณะการแบ่งหน้าที่การทำงานออกเป็นฝ่าย ๆ ตามลักษณะของงานโดยแยกฝ่ายปฏิบัติการและฝ่ายที่ปรึกษาหรือฝ่ายสนับสนุนออกจากกัน ได้แก่ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ ฝ่ายสนับสนุนบริหาร และฝ่ายปฏิบัติการรณรงค์
ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ ตามโครงสร้างการจัดองค์กรในศูนย์อำนวยการเลือกตั้งงานในฝ่ายนี้มี 4 งาน คืองานวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ งานสำรวจฐานคะแนน งานค้นหาผู้นำสังคม-หัวคะแนน และงานติดตามประเมินหัวคะแนน ซึ่งต้องมีอัตรากำลังในฝ่ายนี้ 5 ตำแหน่ง แต่ในการปฏิบัติการแล้วมีงานวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ งานสำรวจฐานคะแนน ที่มีกิจกรรมสามารถเคลื่อนไหวงานได้ มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง โดยเฉพาะงานสำรวจฐานคะแนนได้จัดให้มีการสำรวจคะแนนนิยม 2 ครั้ง ในช่วงต้นฤดูการรณรงค์ และช่วงปลายกลางฤดูรณรงค์ส่วนงานค้นหาผู้นำสังคม-หัวคะแนน และงานติดตามประเมินหัวคะแนน ไม่สามารถปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติการได้ เนื่องจากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง.
ฝ่ายสนับสนุนบริหาร ฝ่ายนี้มีงานธุรการ งานบุคลากร งานการเงิน งานวัสดุอุปกรณ์และเสบียง ซึ่งเป็นงานที่มีความสำคัญมากในการที่จะช่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่ฝ่ายงานอื่น ๆ แต่ในเชิงการปฏิบัติแล้วในศูนย์ฯ นี้ ไม่มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ทางคณะผู้วิจัยจึงเข้ามาช่วยงานทางด้านการเงินและเสบียง การดำเนินงานในฝ่ายนี้ค่อนข้างมีข้อจำกัดเนื่องจากขาดความพร้อมทางด้านคน เงิน วัสดุอุปกรณ์ ในการบริหารโดยเฉพาะขาดงบประมาณที่จะดำเนินการจึงทำให้งานต่าง ๆ ในศูนย์อำนวยการเลือกตั้งไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามแผนปฏิบัติการ.
ฝ่ายปฏิบัติการรณรงค์ ฝ่ายปฏิบัติการรณรงค์นี้เป็นสายงานหลักขององค์กรศูนย์อำนวยการเลือกตั้งประกอบด้วยงานศูนย์ปฏิบัติการ งานยุทธศาสตร์เขตเรา งานยุทธศาสตร์เขตเขา และงานยุทธศาสตร์เขตเป็นกลาง ตามตัวแบบการจัดโครงสร้างองค์กรจะต้องมีเจ้าหน้าที่ในฝ่ายงานนี้ 5 ตำแหน่ง แต่ในเชิงการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติงานในสายงานนี้ประกอบด้วยคณะผู้วิจัย 3 คน และอาสาสมัครช่วยงานปราศรัย 3 คน การดำเนินการของฝ่ายปฏิบัติการรณรงค์นั้นได้ปรับยุทธวิธีในการดำเนินเคลื่อนไหว เนื่องจากการสำรวจฐานคะแนนนิยมพบว่า เขตเลือกตั้งนี้เป็นเขตเขา จึงได้จัดให้มีการเคลื่อนไหวรณรงค์โดยแบ่งออกเป็น 3 สาย แบ่งผู้สมัครรับผิดชอบคนละ 2 อำเภอ โดยประสานกับหัวคะแนนในแต่ละอำเภอที่ทางศูนย์ฯ เดิมได้จัดตั้งไว้ อีกทั้งขาดบุคลากรอาสาสมัครและหัวคะแนนที่จะช่วยในการปฏิบัติการเคลื่อนไหวในแต่ละเขต ทำให้งานฝ่ายปฏิบัติการรณรงค์นี้ไม่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการของงาน 3 เขตยุทธศาสตร์
จากการวิจัยปฏิบัติการในการนำเอาตัวแบบการจัดองค์กรและการบริหารศูนย์อำนวยการเลือกตั้งลงไปปฏิบัติการครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า การจัดองค์กรศูนย์อำนวยการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรเนื่องจากขาดปัจจัยความพร้อมทางด้านทรัพยากรการบริหาร คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ ซึ่งมีข้อจำกัดมากโดยเฉพาะทางด้านงบประมาณในการดำเนินการขาดแคลนมาก จึงส่งผลต่อการจัดองค์กรศูนย์อำนวยการเลือกตั้งภายใต้แนวคิด 3 เขตยุทธศาสตร์ ไม่สามารถที่จะดำเนินการได้ตามตัวแบบที่วางไว้
อีกทั้งสถานการณ์การแข่งขันในเขตเลือกตั้งนี้ อยู่ในเขตเขาหรือพรรคคู่แข่ง ฉะนั้นการต่อสู้แข่งขันในการเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่มีความพร้อมทางด้านทรัพยากรการบริหารก็พบกับความพ่ายแพ้ ถึงแม้นว่าจะนำเอาตัวแบบการจัดองค์กรลงไปปฏิบัติการก็ตาม อีกทั้งพบว่าวัฒนธรรมทางการเมืองของคนชนบท เงินสามารถซื้อชัยชนะในการเลือกตั้งได้ ผู้สมัครที่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งมักจะมีความพร้อมทางด้านทรัพยากรทางการเมือง ได้รับความช่วยเหลือจากพรรคการเมืองที่สังกัด มีอิทธิพลบารมี และมีงบประมาณจำนวนมากในการรณรงค์หาเสียง.
อย่างไรก็ตามการจัดองค์กรและการบริหารศูนย์อำนวยการเลือกตั้งภายใต้แนวคิด 3 เขตยุทธศาสตร์ เป็นการนำเอาหลักวิชาการการจัดการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งแบบสมัยใหม่มาใช้ในการจัดองค์กรศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรคการเมือง ควรจะนำมาใช้เพื่อช่วยให้มีทิศทางและแนวทางในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นระบบ.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.

Subject(s):

การจัดองค์การ

Keyword(s):

ศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง -- การบริหาร

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

ก-ฎ, 129 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1720
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b4845.pdf ( 3,252.65 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×