บรรยากาศองค์การกับความพอใจในงานของครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท
Publisher
Issued Date
1990
Issued Date (B.E.)
2533
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 120 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วุฒินนท์ วิมลศิลป์ (1990). บรรยากาศองค์การกับความพอใจในงานของครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1722.
Title
บรรยากาศองค์การกับความพอใจในงานของครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท
Alternative Title(s)
Organizational climate and job satisfaction of community secondary school teachers
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้มี 4 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาระดับความพอใจในงานของครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท (2) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้บรรยากาศองค์การของครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความพอใจในงานของครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท และ (4)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความพอใจในงานของครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบทในระดับอำเภอและตำบล
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท ในเขตการศึกษา 10 ประกอบด้วยจังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ยโสธร อุบลราชธานี และนครพนม จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยข้อคำถาม 3 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภูมิหลังของครู ส่วนที่สองเป็นแบบวัดความพอใจในงาน ส่วนที่สามเป็นแบบวัดบรรยากาศองค์การ โดยแบบวัดความพอใจในงานนั้นผู้วิจัยได้ดัดแปลงจาก Job Description Index ของ Smith & et.al. (1975) ซึ่งประกอบด้วยมิติด้านลักษณะงาน ความก้าวหน้า การบังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และค่าตอบแทน ส่วนแบบวัดบรรยากาศองค์การนั้น ผู้วิจัยได้ดัดแปลงจากแบบวัดบรรยากาศองค์การของ Litwin & Stringer (1968) ในมิติด้านโครงสร้างงาน มาตรฐานงาน ความอบอุ่น ความขัดแย้ง เอกลักษณ์องค์การ และดัดแปลงจากแบบวัด Profile Organizational Characteristics(POC) ของ Likert (1967) ในมิติด้านภาวะผู้นำ การตัดสินใจ การติดต่อสื่อสาร.
ผลการศึกษามีดังต่อไปนี้
1) เกี่ยวกับความพอใจในงานข้าราชการครูโดยทั่วไปมีความพอใจในงานอยู่ในระดับสูง และเมื่อพิจารณาโดยแยกมิติในกลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มมีแนวโน้มเหมือนกันคือ มิติด้านลักษณะงานมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด และมิติด้านค่าตอบแทนมีค่าต่ำสุด
2) เกี่ยวกับการรับรู้บรรยากาศองค์การข้าราชการครูมีการรับรู้บรรยากาศองค์การโดยส่วนรวมอยู่ในเกณฑ์ดี จากการพิจารณาคะแนนเฉลี่ยในแต่ละกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มตัวอย่างในระดับอำเภอ และในระดับตำบล มีค่าเท่ากับ 3.42 และ 3.22 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาโดยแยกมิติในกลุ่มตัวอย่างในระดับอำเภอ คะแนนเฉลี่ยมิติด้านการกำหนดมาตรฐานงานมีค่าสูงสุดเท่ากับ 3.61 มิติด้านความขัดแย้งมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 3.19 ส่วนกลุ่มตัวอย่างในระดับตำบล มิติด้านการกำหนดมาตรฐานงานมีค่าสูงสุดเท่ากับ 3.50 และมิติด้านภาวะผู้นำมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 3.06 ซึ่งทุกมิติของบรรยากาศองค์การในทุกกลุ่มตัวอย่างคะแนนเฉลี่ยจะมีการกระจายอยู่ในช่วง 3.06 - 3.61.
3) ตัวแปรภูมิหลังของครูที่ศึกษา ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อายุราชการ และภูมิลำเนา ไม่มีความสัมพันธ์กับความพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
4) บรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพอใจในอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
5) ความพอใจในงานของครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบทระดับอำเภอและตำบลอยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างกัน
จากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถชี้ให้เห็นว่าบรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์กับความพอใจในงานย่อมเป็นแนวทางในการปรับปรุงบรรยากาศองค์การให้ตอบสนองต่อความพอใจในงานของครูได้ โดยมิติที่ควรให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ๆ คือ มิติด้านโครงสร้างงาน มิติด้านความอบอุ่น มิติด้านภาวะผู้นำ และมิติด้านเอกลักษณ์องค์การ.
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท ในเขตการศึกษา 10 ประกอบด้วยจังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ยโสธร อุบลราชธานี และนครพนม จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยข้อคำถาม 3 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภูมิหลังของครู ส่วนที่สองเป็นแบบวัดความพอใจในงาน ส่วนที่สามเป็นแบบวัดบรรยากาศองค์การ โดยแบบวัดความพอใจในงานนั้นผู้วิจัยได้ดัดแปลงจาก Job Description Index ของ Smith & et.al. (1975) ซึ่งประกอบด้วยมิติด้านลักษณะงาน ความก้าวหน้า การบังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และค่าตอบแทน ส่วนแบบวัดบรรยากาศองค์การนั้น ผู้วิจัยได้ดัดแปลงจากแบบวัดบรรยากาศองค์การของ Litwin & Stringer (1968) ในมิติด้านโครงสร้างงาน มาตรฐานงาน ความอบอุ่น ความขัดแย้ง เอกลักษณ์องค์การ และดัดแปลงจากแบบวัด Profile Organizational Characteristics(POC) ของ Likert (1967) ในมิติด้านภาวะผู้นำ การตัดสินใจ การติดต่อสื่อสาร.
ผลการศึกษามีดังต่อไปนี้
1) เกี่ยวกับความพอใจในงานข้าราชการครูโดยทั่วไปมีความพอใจในงานอยู่ในระดับสูง และเมื่อพิจารณาโดยแยกมิติในกลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มมีแนวโน้มเหมือนกันคือ มิติด้านลักษณะงานมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด และมิติด้านค่าตอบแทนมีค่าต่ำสุด
2) เกี่ยวกับการรับรู้บรรยากาศองค์การข้าราชการครูมีการรับรู้บรรยากาศองค์การโดยส่วนรวมอยู่ในเกณฑ์ดี จากการพิจารณาคะแนนเฉลี่ยในแต่ละกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มตัวอย่างในระดับอำเภอ และในระดับตำบล มีค่าเท่ากับ 3.42 และ 3.22 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาโดยแยกมิติในกลุ่มตัวอย่างในระดับอำเภอ คะแนนเฉลี่ยมิติด้านการกำหนดมาตรฐานงานมีค่าสูงสุดเท่ากับ 3.61 มิติด้านความขัดแย้งมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 3.19 ส่วนกลุ่มตัวอย่างในระดับตำบล มิติด้านการกำหนดมาตรฐานงานมีค่าสูงสุดเท่ากับ 3.50 และมิติด้านภาวะผู้นำมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 3.06 ซึ่งทุกมิติของบรรยากาศองค์การในทุกกลุ่มตัวอย่างคะแนนเฉลี่ยจะมีการกระจายอยู่ในช่วง 3.06 - 3.61.
3) ตัวแปรภูมิหลังของครูที่ศึกษา ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อายุราชการ และภูมิลำเนา ไม่มีความสัมพันธ์กับความพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
4) บรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพอใจในอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
5) ความพอใจในงานของครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบทระดับอำเภอและตำบลอยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างกัน
จากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถชี้ให้เห็นว่าบรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์กับความพอใจในงานย่อมเป็นแนวทางในการปรับปรุงบรรยากาศองค์การให้ตอบสนองต่อความพอใจในงานของครูได้ โดยมิติที่ควรให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ๆ คือ มิติด้านโครงสร้างงาน มิติด้านความอบอุ่น มิติด้านภาวะผู้นำ และมิติด้านเอกลักษณ์องค์การ.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2533.