สตรีชนบทกับการเข้ารับบริการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสตรี
Publisher
Issued Date
1993
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
11, 152 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วาณี ทัพพะปุรณะ (1993). สตรีชนบทกับการเข้ารับบริการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสตรี. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1723.
Title
สตรีชนบทกับการเข้ารับบริการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสตรี
Alternative Title(s)
Factors influencing rural women's access to training
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะปัจจุบัน และการพัฒนากิจกรรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสตรีของหน่วยงานของรัฐ ศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการฝึกอบรมสตรีชนบทในหมู่บ้านที่เลือกศึกษา และปัจจัยที่มีส่วนสนับสนุน หรือเป็นอุปสรรคต่อการเข้ารับการฝึกอบรมของสตรีชนบท.
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ สตรีในหมู่บ้านที่มีการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสตรี ในอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นโดยยึดถือวัตถุประสงค์ของการวิจัยและตัวแปรที่ต้องการศึกษาเป็นหลัก การประมวลผลข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการคำนวณค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square (x2) t-test , Pearson Product Moment Correlation Coefficient , Multiple Regression (Method : Stepwise) ตามลักษณะของข้อมูล
ผลการวิเคราะห์
1. ในช่วงปี พ.ศ. 2530-2534 หน่วยงานของรัฐที่จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสตรีในหมู่บ้านที่ศึกษา ที่สตรีกลุ่มตัวอย่างสามารถระบุได้คือ กรมการพัฒนาชุมชน กรมอนามัย กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมส่งเสริมการเกษตร.
2. สตรีกลุ่มตัวอย่างเคยได้รับการฝึกอบรมโครงการต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ 29.5 และไม่เคยได้รับการฝึกอบรมโครงการใด ๆ เลย คิดเป็นร้อยละ 70.5 ในกลุ่มผู้ที่เคยเข้ารับการฝึกอบรมนั้น ประมาณครึ่งหนึ่งเคยได้รับการฝึกอบรมมากกว่า 1 ครั้ง ส่วนใหญ่จะเคยเข้ารับการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาชีพ หลักสูตรการฝึกอบรมส่วนใหญ่จะจัดเพียง 1 วัน และจัดในตำบล การได้รับข่าวสารการฝึกอบรมส่วนใหญ่จะได้รับข่าวสารจากผู้ใหญ่บ้าน สำหรับเหตุจูงใจที่ทำให้เข้ารับการฝึกอบรมที่สำคัญ คือ ต้องการหาความรู้เพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ได้รับการชักชวนแนะนำจากเพื่อนบ้าน และเกรงใจเจ้าหน้าที่ สำหรับความคิดเห็นด้านการฝึกอบรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เคยเข้ารับการฝึกอบรมส่วนใหญ่ ไม่เคยนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปปรับปรุงอาชีพที่ทำอยู่ ไม่เคยนำความรู้ไปใช้เพื่อเพิ่มรายได้และไม่เคยนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปใช้ในการสมัครงาน สำหรับอุปสรรคที่ทำให้ไม่ได้เข้ารับการฝึกอบรม พบว่าอุปสรรคที่สำคัญคือปัญหาด้านเวลา รองลงมาคือไม่ทราบข่าวว่ามีโครงการฝึกอบรมในหมู่บ้าน โครงการหรือกิจกรรมที่จัดอยู่ไม่น่าสนใจ
3. ปัจจัยที่มีส่วนสนับสนุนในการเข้ารับการฝึกอบรมที่สำคัญเรียงตามลำดับคือ การเป็นสมาชิกกลุ่ม การได้รับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ และการได้รับข่าวสารจากผู้นำในหมู่บ้าน
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ สตรีในหมู่บ้านที่มีการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสตรี ในอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นโดยยึดถือวัตถุประสงค์ของการวิจัยและตัวแปรที่ต้องการศึกษาเป็นหลัก การประมวลผลข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการคำนวณค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square (x2) t-test , Pearson Product Moment Correlation Coefficient , Multiple Regression (Method : Stepwise) ตามลักษณะของข้อมูล
ผลการวิเคราะห์
1. ในช่วงปี พ.ศ. 2530-2534 หน่วยงานของรัฐที่จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสตรีในหมู่บ้านที่ศึกษา ที่สตรีกลุ่มตัวอย่างสามารถระบุได้คือ กรมการพัฒนาชุมชน กรมอนามัย กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมส่งเสริมการเกษตร.
2. สตรีกลุ่มตัวอย่างเคยได้รับการฝึกอบรมโครงการต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ 29.5 และไม่เคยได้รับการฝึกอบรมโครงการใด ๆ เลย คิดเป็นร้อยละ 70.5 ในกลุ่มผู้ที่เคยเข้ารับการฝึกอบรมนั้น ประมาณครึ่งหนึ่งเคยได้รับการฝึกอบรมมากกว่า 1 ครั้ง ส่วนใหญ่จะเคยเข้ารับการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาชีพ หลักสูตรการฝึกอบรมส่วนใหญ่จะจัดเพียง 1 วัน และจัดในตำบล การได้รับข่าวสารการฝึกอบรมส่วนใหญ่จะได้รับข่าวสารจากผู้ใหญ่บ้าน สำหรับเหตุจูงใจที่ทำให้เข้ารับการฝึกอบรมที่สำคัญ คือ ต้องการหาความรู้เพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ได้รับการชักชวนแนะนำจากเพื่อนบ้าน และเกรงใจเจ้าหน้าที่ สำหรับความคิดเห็นด้านการฝึกอบรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เคยเข้ารับการฝึกอบรมส่วนใหญ่ ไม่เคยนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปปรับปรุงอาชีพที่ทำอยู่ ไม่เคยนำความรู้ไปใช้เพื่อเพิ่มรายได้และไม่เคยนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปใช้ในการสมัครงาน สำหรับอุปสรรคที่ทำให้ไม่ได้เข้ารับการฝึกอบรม พบว่าอุปสรรคที่สำคัญคือปัญหาด้านเวลา รองลงมาคือไม่ทราบข่าวว่ามีโครงการฝึกอบรมในหมู่บ้าน โครงการหรือกิจกรรมที่จัดอยู่ไม่น่าสนใจ
3. ปัจจัยที่มีส่วนสนับสนุนในการเข้ารับการฝึกอบรมที่สำคัญเรียงตามลำดับคือ การเป็นสมาชิกกลุ่ม การได้รับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ และการได้รับข่าวสารจากผู้นำในหมู่บ้าน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.